• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

โรคต้อกระจกและเลนส์แก้วตาเทียม

 

โรคต้อกระจกและเลนส์แก้วตาเทียม
ต้อกระจกเป็นภาวะเลนส์แก้วตาขุ่น ทำให้แสงผ่านเข้าไปยังจอประสาทตาได้น้อยลง ตาจึงมัว พบมากในผู้สูงอายุประมาณ ๖๐ ปีขึ้นไป
 
                                     
การมองเห็นภาพของเลนส์ตาในตาปกติ                                  การมองเห็นภาพของเลนส์ต้อกระจก
 
อาการ
สายตาจะเริ่มมัวลงช้าๆ โดยไม่มีอาการปวดตา ถ้าใช้สายตาในที่มีแสงแดดจัดจะมัวมากขึ้น ที่มีแสงสว่างน้อยหรือสลัวจะเห็นชัดเจนกว่า อาจมีการเห็นภาพเหลื่อมซ้อน เห็นแสงกระจายขณะขับรถในตอนกลางคืนทำให้ขับรถลำบาก 
 
การรักษา
โดยการสลายต้อกระจกออกและใส่เลนส์แก้วตาเทียมเข้าไปแทน ใช้เวลาในการรักษา ๒๐-๓๐ นาที โดยเปิดแผลขนาดเล็กเพียง ๒-๓ มิลลิเมตร
 
แพทย์ใช้เครื่องมือสลายต้อกระจกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Phacoemulsification) 
สลายและดูดต้อกระจกออก
 
เมื่อสลายต้อกระจกแล้วจะใส่เลนส์แก้วตาเทียมในถุงหุ้มเลนส์
 
เลนส์แก้วตาเทียมจะช่วยให้กลับมามองเห็นได้
 
เลนส์แก้วตาเทียม คืออวัยวะเทียมที่ทำให้ผู้ป่วยกลับมามองเห็นได้  มีให้เลือกหลายชนิด    
  • ชนิดโฟกัสระยะเดียว (Monofocal) จะช่วยให้มองเห็นระยะไกลชัดเจน แต่มองใกล้ต้องใช้แว่นอ่านหนังสือ
  • ชนิดโฟกัสหลายระยะ (Multifocal) อาศัยเทคโนโลยีใหม่ที่เรียกว่า Apodized diffractive จะช่วยให้มองเห็นได้ทั้งไกล กลาง และใกล้ โดยไม่ต้องใช้แว่น
  • ชนิดแก้ไขสายตาเอียง (Toric) ออกแบบให้มีความโค้งด้านหลังเลนส์ไม่เท่ากันในแนวตั้งและแนวนอน เพื่อชดเชยความโค้งของกระจกตาที่ไม่เท่ากันของผู้มีภาวะสายตาเอียงที่กระจกตา จะช่วยให้มองเห็นได้ในระยะไกลโดยไม่ต้องใช้แว่น
 
สอบถามปัญหาสุขภาพตากับราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ที่ website : www.rcopt.org
 
 

 

ข้อมูลสื่อ

394-046
นิตยสารหมอชาวบ้าน 394
กุมภาพันธ์ 2555
รักษ์ “ดวงตา”
รศ.นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์