• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

คู่มือจ่ายตลาดอลอดจีเอ็มโอ

ประเทศไทยกับจีเอ็มโอ

* จนถึงวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๗  ประเทศไทยยังไม่อนุญาตให้ปลูกพืชจีเอ็มโอเพื่อการค้า และยังมีมติคณะรัฐมนตรี สั่งระงับการทดลองปลูกพืชจีเอ็มโอระดับไร่นา

* ประเทศไทยนำเข้าวัตถุดิบจำนวนมากเพื่อใช้ผลิตอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งถั่วเหลือง ซึ่งนำเข้าจากสหรัฐอเมริกาและอาร์เจนตินามากที่สุด (ทั้งสองประเทศนี้เป็นผู้ผลิตและส่งออกถั่วเหลืองจีเอ็มโอรายใหญ่ที่สุดในโลก โดยร้อยละ ๙๙ของถั่วเหลืองที่ปลูกในอาร์เจนตินาเป็นถั่วเหลืองจีเอ็มโอ และร้อยละ ๘๐ ของถั่วเหลืองที่ปลูกในสหรัฐอเมริกาเป็นจีเอ็มโอ) จากการตรวจสอบของกรีนพีซพบว่า ผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปในท้องตลาดมีการปนเปื้อนถั่วเหลืองจีเอ็มโอ โดยไม่ติดฉลากให้ประชาชนได้รับทราบ

กฎกระทรวงเรื่องการติดฉลากอาหารดัดแปรงพันธุกรรม (จีเอ็มโอ) ของกระทรวงสาธารณสุขที่บังคับใช้ในวันที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ นั้น เป็นกฎข้อบังคับที่หละหลวมมาก คือ กำหนดเปอร์เซ็นต์การปนเปื้อนจีเอ็มโอไว้สูงถึง ร้อยละ ๕ ถ้าต่ำกว่านั้นก็ไม่ต้องติดฉลากบอก นอกจากนั้นยังกำหนดให้ติดฉลากเฉพาะเมื่อมีถั่วเหลืองหรือข้าวโพดจีเอ็มโอเป็นส่วนประกอบในสามอันดับแรกของผลิตภัณฑ์เท่านั้น หากมีถั่วเหลืองหรือข้าวโพดจีเอ็มโออยู่ในอันดับที่ ๔ ลงไปก็ไม่ต้องติดฉลาก และถ้ามีวัตถุอื่นที่ไม่ใช่     ถั่วเหลืองหรือข้าวโพด แต่เป็นจีเอ็มโอ เช่นมะละกอจีเอ็มโอ หรือข้าวสาลี จีเอ็มโอ ก็ไม่จำเป็นต้องติดฉลาก กฎกระทรวงฉบับนี้จึงไม่ได้ให้ข้อมูลที่แท้จริงกับผู้บริโภค      และไม่ได้คุ้มครองผู้บริโภคหรือให้สิทธิในการรับรู้และปฏิเสธอาหารจีเอ็มโอแก่ผู้บริโภคแต่ประการใด

สนใจขอรับ  “คู่มือจ่ายตลาดสำหรับซื้ออาหารปลอดจีเอ็มโอ”ได้โดยส่งซองเปล่าติดแสตมป์ ๕ บาทจ่าหน้าซองถึงตัวเอง แล้วส่งไปที่ ตู้ปณ.๙ปณฝ.สนามเป้า กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐ หรือที่ สายด่วนจีเอ็มโอ ๐-๒๖๑๖-๘๑๗๐ และเว็บไซต์ www.truefood.org
 

ข้อมูลสื่อ

321-004-5
นิตยสารหมอชาวบ้าน 321
มกราคม 2549
พญ.เพ็ญพรรณ วัฒนไกร
กองบรรณาธิการ