• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

ปฏิสนธิชีวิตใหม่ (ตอนที่ 3)

ปฏิสนธิชีวิตใหม่ (ตอนที่ 3)

  


การเจริญเติบโตของตัวอ่อน

การต่อสู้ของตัวอสุจินับล้านๆ ตัวเพื่อแย่งชิงความเป็นหนึ่งในฐานะผู้พิชิตไข่ได้สิ้นสุดลงไปแล้วเมื่อฉบับที่ผ่านมา ซึ่งนั่นก็เท่ากับว่าหน้าที่ของตัวอสุจิที่แข็งแรงที่สุดได้เสร็จสิ้นลงแล้วเช่นกัน จากนี้ไปไข่ที่ได้รับการผสมก็จะพัฒนาตัวเองไปอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะเติบโตเป็นทารกที่สมบูรณ์และพร้อมที่จะออกมาดูโลกภายนอกต่อไป เราจะมาดูกันสิคะว่าไข่ที่ได้รับการผสมแล้วนั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง เริ่มตั้งแต่...
 

20 ชั่วโมงแรก

เมื่อตัวอสุจิได้แทรกเข้าไปในไข่ก็จะมีโครโมโซมเป็น 2 ชุด (นิวเคลียส) ชุดหนึ่งนั้นมาจากผู้เป็นแม่ (23 ตัว) ส่วนอีกชุดหนึ่งนั้นเล่าแน่นอนย่อมาจากผู้เป็นพ่อ (23 ตัว) นั่นเอง และแล้วในไม่ช้าเจ้าโครโมโซมทั้งสองก็จะรวมตัวแล้วผสมกลมกลืนเข้าด้วยกัน (เป็น 23 คู่) ที่บรรจุข้อมูลทางด้านชีวภาพเพื่อการถ่ายสายพันธุ์ให้แก่ชีวิตใหม่ ข้อมูลเหล่านั้นจะต้องควบคุมตั้งแต่เรื่องขนาดความยาวของจมูกไปจนถึงโรคทางพันธุกรรมทีเดียว เซลล์จะเริ่มแบ่งตัวออกเป็นสองเซลล์ และก็แบ่งตัวทวีคูณครั้งแล้วครั้งเล่า ในขณะเดียวกันก็เริ่มทยอยเคลื่อนตัวอย่างช้าๆ ผ่านท่อนำไข่ (fallopian tube) ไปสู่มดลูก ด้วยการกระตุ้นจากขนเส้นเล็กๆ จำนวนมาก อันเปรียบเสมือนกับผักตบชวาที่ไหวตัวไปมาตามจังหวะการพัดพาของกระแสน้ำนั่นเชียว

หลังจากนั้นเซลล์ก็เริ่มต้นการเดินทางอันยาวนานที่กินเวลาถึง 9 เดือนแห่งการตั้งครรภ์ ด้วยก้าวแรก ณ จุดนี้ ถึงขณะนี้แม้ว่าจะมีเรื่องราวอันน่าทึ่งเกิดขึ้นในส่วนลึกภายในร่างกายของเธอ แต่ก็ไม่มีสัญญาณใดที่ส่งไปให้เธอผู้เป็นเจ้าของร่างกายนั้นได้รับรู้ว่ามีการปฏิสนธิเกิดขึ้นในกายของเธอแล้ว

ข้อมูลสื่อ

167-006
นิตยสารหมอชาวบ้าน 167
มีนาคม 2536
สุกาญจน์ เลิศบุศย์