• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

ใครคือผู้ฝึกโยคะ ในประเทศตะวันตก

คนฝึกโยคะเพราะเขารู้สึกไม่สบาย และรู้สึกบางอย่างขาดหายไป มันอาจเป็นสุขภาพ หรืออาจเป็นเพราะกำลังมองหาอะไรบางอย่าง แต่ไม่แน่ใจว่าหาอะไร

ต่อไปนี้เป็นบทสัมภาษณ์ระหว่าง เดสิคชา ครูสอนโยคะแห่งอินเดีย กันคุณหมอโดลแมน แพทย์แผนตะวันตกชาวเยอรมันที่ใช้โยคะบำบัดรักษาคนไข้

- แม้ชาวอินเดียยังรู้สึกว่าฝีกทำเหล่านี้ได้ยาก แล้วคนตะวันตกที่ไม่เคยชินแม้กับการนั่งบนพื้น จะทำอย่างไร
ผมคลี่คลายปัญหาเหล่านี้ด้วยโยคะ ตัวโยคะเองบอกเรา ให้เราหาเครื่องมือที่เหมาะสมกับแต่ละคน นั่งในปทุมอาสนะไม่ใช่อะไรที่สามารถใช้กับทุก ๆ คนในที่นี้ เพราะพวกเขาไม่คุ้น ไม่ยืดหยุ่นขนาดนั้น แต่นี้ไม่ใช่สิ่งสำคัญ ที่สำคัญที่สุดคือหลักการโยคะ ที่ใช้ได้กับยุคทุกสมัย

ถ้าผมเห็นว่าท่านี้จะเหมาะกับคบไข้คนนี้มาก แต่เขาทำไม่ได้เพราะข้อไม่ยืดหยุ่น หรือเพราะเขากำลังมีอาการปวดอยู่ ผมก็จะพยายามหาวิธีที่ทำให้เขาฝึกท่านี้ไห้ได้ เช่น หากทำท่าก้มไปข้างหน้า (ท่าครีม) ไม่ได้ ผมจะให้เขาลองนั่งบนขอบเก้าอี้ ดูซิว่าเขาสามารถโน้มตัวลงเอามือแตะนิ้วเท้าได้ไหม ไม่ใช่เท่านี้จะต้องเป็นอย่างไร แต่เกิดอะไรขึ้นในท่านี้ต่างหาก รวมไปถึงสติและลมหายใจ ที่มีความสำคัญ

- นักจิตวิทยากังวลว่า การฝึกโยคะที่มาจากซีกโลกตะวันออก อาจสร้างความสับสนในจิตใจของผู้ฝึกชาวตะวันตก
โยคะเป็นเรื่องของจิตซึ่งเป็นสากลโยคะไม่ใช่ความเชื่อทางศาสนา เราต้องอธิบายว่าโยคะนั้นใช้ได้กับทุก ๆ คน ไม่ว่าจะนับถือศาสนาอะไร (ในกรณีที่คุณนับถือศาสนา) สำหรับเรา เราสอนโยคะเพื่อการรักษา

- ในฐานะที่คุณเป็นหมอ ไม่คิดหรือว่า คุณจะช่วยคนได้มากกว่า หากคุณกลับไปรักษาแบบแผนปัจจุบัน
หากผมกลับไปรักษาแบบแพทย์แผนปัจจุบัน มันจะไม่มีที่ให้ผมทำอย่างที่ผมกำลังทำอยู่ในขณะนี้ ผมจะไม่มีเวลาที่จะได้พบกับคนอย่างที่ผมได้พบในฐานะที่เป็นครูโยคะ
ถ้าคุณเป็นหมอแผนปัจจุบัน คุณจะต้องคอยตามข้อมูลเกี่ยวกับยาชนิดใหม่ ๆ ที่สำคัญคือการประสานและงานของผมในฐานะครูโยคะ คือการให้ข้อมูลที่เพียงพอกับเพื่อนในวงการ เพื่อพวกเขาเหล่านั้นจะได้เข้าใจว่าเราทำอะไรบ้าง

- พัฒนาการของการสอนโยคะ มีความสำคัญอย่างไรต่อการเป็นครูโยคะ
ครูโยคะต้องตื่นตัว มีสติรู้อยู่กับปัจจุบัน ประสบการณ์ของผมคือ เมื่อสอนรายบุคคล คนไข้จะเชื่อใจผมอย่างมาก ผมจะคอยระวังไม่ให้เกิดความรู้สึกที่ใกล้ชิดกับคนไข้มากจนเกินไป เพราะมันจะทำให้ผมพลอยกังวลไปด้วย อันทำให้ไม่สามารถรักษาเขาได้

หรือหากการรักษาเป็นไปได้ด้วยดี ผมอาจเกิดความคิดว่า เป็นผู้ช่วยเหลือให้เขารอดพ้นจากวิกฤต ซึ่งอาจนำมาซึ่งความรู้สึกเหิมเกริม อาจทำให้ผมรู้สึกว่าตนเองมากกว่าคนไข้ ซึ่งเขาต่างหากที่เป็นผู้ป่วยอยู่และอาจทำให้ผมรักษาผิดได้

 

ข้อมูลสื่อ

275-002
นิตยสารหมอชาวบ้าน 275
มีนาคม 2545
โยคะ
กวี คงภักดีพงษ์