• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

ก้าวใหม่ 7 สมุนไพรไทย

ก้าวใหม่ 7 สมุนไพรไทย
 

สมุนไพรกับมนุษยชาติ : คุณค่าอยู่คู่โลก
สมุนไพรทรงคุณประโยชน์และมีค่าอยู่ในตัว ไม่ว่าจะถูกนำมาใช้หรือถูกละเลยทอดทิ้งตามสภาพธรรมชาติ(เป็นของคู่โลกคู่มนุษย์มาแต่โบราณ) การที่มนุษย์รู้จักนำสมุนไพรมาใช้ประโยชน์เป็นยา หนึ่งในปัจจัยสี่ได้นั้นแสดงถึงความรอบรู้ในธรรมชาติของต้นไม้นานาชนิด ความรอบรู้นี้ได้พัฒนาขึ้นมาเป็นลำดับถึงขั้นเป็นศิลปวิทยาด้านสมุนไพร บ่งบอกถึงอารยธรรมของแต่ละชนชาติ
จากประวัติศาสตร์สมัยพุทธกาล มีการบัญญัติและกล่าวถึงสมุนไพรในพระไตรปิฎก เช่น ขมิ้น ขิง ดีปลี สมอ มะขามป้อม มหาหิงคุ์ เป็นต้น รวมทั้งเรื่องราวของชีวกโกมารภัจจ์ ปรมาจารย์แพทย์แผนโบราณ
จีนและอินเดียมีความเจริญก้าวหน้าทางด้านสมุนไพรมากที่สุดในภาคตะวันออก เพราะนอกจากจะมีตำรายาสมุนไพรใช้สืบต่อกันมายาวนานแล้ว ยังได้รับส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาอย่างเป็นระบบครบวงจรจากวัตถุดิบถึงผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ทั้งในรูปยาแผนโบราณและยาแผนปัจจุบันมาโดยตลอดและต่อเนื่อง


สมุนไพรกับคนไทย (อดีต) : ภูมิปัญญาไทยถูกลืมเลือน
คนไทยมีความศรัทธาและใช้ยาสมุนไพรแผนโบราณมา โดยได้รับอิทธิพลจากประเทศจีนและอินเดีย เข้ามาพร้อมๆกับการเผยแพร่พระพุทธศาสนา ประเทศไทยมีตำรายาแผนโบราณเป็นจำนวนมากที่ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทั้งทางด้านตำรับยาและสรรพคุณ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าให้จารึกไว้ ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เมื่อ พ.ศ. 2375 ตำรายาแผนโบราณเหล่านี้ได้รับการตรวจสอบอีกครั้งในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมื่อโรงเรียนแพทย์เปิดสอนครั้งแรก พ.ศ. 2432 ที่โรงพยาบาลศิริราชพยาบาล ใช้ยาสมุนไพรตามแผนโบราณทั้งหมด ต่อมา พ.ศ. 2456 จึงมีการใช้ยาฝรั่ง(แผนปัจจุบัน)ด้วย ความสะดวกต่อการเตรียมยา เก็บยา และจ่ายยาสำเร็จรูปแผนปัจจุบันสะดวกกว่ายาปรุงแผนโบราณ ยาสมุนไพรจึงถูกลืมและเลิกใช้ไปอย่างรวดเร็ว
ในช่วงเวลาดังกล่าวนี่เองเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญที่ทำให้วิทยาการเกี่ยวกับสมุนไพรและการแพทย์แผนโบราณหยุดชะงักกระจัดกระจาย และขาดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดผลกระทบที่สำคัญคือ
1) ประชาชนขาดการสนใจในเรื่องสมุนไพรและยาแผนโบราณ
2) ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณได้ใช้สมุนไพรมาปรุงยารักษาโรคตามความเชื่อที่สืบทอดมา แต่ยังขาดความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาสนับสนุนสรรพคุณยาแผนโบราณที่ปรุงขึ้น
3) ยังไม่มีการควบคุมการผลิต จำหน่ายสมุนไพร ทำให้ไม่สามารถคุ้มครองผู้บริโภคได้ ประชาชนไม่เชื่อมั่นในสมุนไพร
4) การศึกษาวิจัยสมุนไพรทางด้านเภสัชวิทยา พิษวิทยา และการพัฒนาตำรับยา มีไม่เพียงพอทำให้แพทย์สมัยใหม่ยอมรับกันน้อยมาก


สมุนไพรกับคนไทย (ยุคใหม่) : ภูมิปัญญาไทยได้รับการสืบทอดเพื่อคนไทย
นับแต่ปี พ.ศ. 2456 จุดเริ่มที่สมุนไพรและยาแผนโบราณถูกลืม กาลเวลาถึงแม้จะผ่านไป แต่คุณค่าของสมุนไพรที่อยู่คู่โลกมานานแสนนาน ทำให้มนุษยชาติต้องหันกลับมาใช้ เมื่อวงการแพทย์แผนปัจจุบันเริ่มประจักษ์ถึงอันตรายจากฤทธิ์ข้างเคียงของยาแผนปัจจุบันซึ่งมาปรากฏในระยะหลังๆประกอบกับการวิจัยค้นคว้าพบตัวยาใหม่ๆจากสมุนไพรต่างๆ และหันกลับมาผลิตยาจากสมุนไพรเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ ตั้งแต่ผลิตยารักษาโรคความดันเลือดสูงจากรากระย่อม ยารักษามะเร็งในเม็ดเลือดจากแพงพวยฝรั่ง ยารักษาแผลเรื้อรังจากใบบัวบก ยารักษาโรคแผลในกระเพาะจากสมุนไพรเปล้าน้อยของไทย เหล่านี้ได้กระตุ้นความสนใจของชาวโลกให้หันกลับมาสู่การรื้อฟื้นใช้ประโยชน์สมุนไพรอย่างรวดเร็วอีกครั้งหนึ่ง
สำหรับประเทศไทยมีการตื่นตัวนำเอาสมุนไพรมาใช้ในการสาธารณสุข โดยกำหนดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2526-2530) จนมาเป็น “โครงการพัฒนาสมุนไพรเพื่อใช้เป็นยา” ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2531-2535) พร้อมๆกับมีมติคณะรัฐมนตรี(วันที่ 13 ตุลาคม 2530) อนุมัติให้กระทรวงสาธารณสุข แต่งตั้ง “คณะกรรมการสมุนไพรแห่งชาติ” เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2530


ยาสมุนไพร : สรุปบทเรียนจากอดีต
จากปัญหาการใช้สมุนไพรที่ผ่านมา นักวิจัยของหน่วยงานสถาบันทั้งหลาย คณะกรรมการต่างๆ และองค์การเภสัชกรรมจึงใช้แนวทางพัฒนาสมุนไพรเพื่อใช้เป็นยา โดยมุ่งให้ประชาชนมั่นใจ แพทย์และผู้ประกอบโรคศิลปะยอมรับและแก้ปัญหาสาธารณสุขของชาติ และนี่คือที่มาของการเลือกสมุนไพรที่มีผลวิจัยทางวิทยาศาสตร์พิสูจน์ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา พิษวิทยา ผสมผสานกับวิทยาการผลิตที่ทันสมัย เพื่อสุขภาพและการพึ่งตนเองของคนไทย
หมอชาวบ้านใคร่ขอแสดงความยินดีต่อความสำเร็จในการผลิตยาจากสมุนไพร และขอโอกาสนำเสนอต่อคนไทย

 

 แนะนำยาจากสมุนไพร ผลิตธดยองค์การเภสัชกรรม 8 ตำรับ : ผลงานภูมิปัญญาไทยยุคใหม่

ชื่อยาสมุนไพร       สรรพคุณ            วิธีใช้                 คำเตือน         ราคา

1.ยาระบายมะขามแขก     ⇒ยาระบาย               ⇒ กินก่อนนอน            ⇒ ห้ามใช้เมื่อมี            4 บาท

  (บรรจุซองละ 10 เม็ด)      (ท้องผูกหมายถึง       หรือตื่นนอนเช้า           อาการปวดท้อง

                                            ถ่ายอุจจาระแข็ง       ผู้ใหญ่ ครั้งละ             หรือคลื่นไส้  

                                           หรือไม่ถ่ายอุจจาระ     3-4 เม็ด                      อาเจียน    

                                            นานหลายวันเกิน       เด็ก 6-12ปี  

                                            กว่าปกตินิสัย )          ครั้งละ 1-2 เม็ด     

2.ยาชงมะขามแขก           ⇒ ยาระบายอ่อนๆ     ⇒ ดื่มน้ำที่ได้จากการ   ⇒ ห้ามใช้เมื่อมี           10 บาท

   ( 1 ซองมี 5 ถุง )                                                แช่ถุงยาชงในน้ำร้อน   อาการปวดท้อง   

                                                                              จัด ( ประมาณ 70        หรือคลื่นไส้ 

                                                                              องศาเซ,เซียล ) 1        อาเจียน

                                                                              ถ้วย (150 มิลลิลิตร )  นานประมาณ 10-20

                                                                                                                  นาที่ ครั้งละ 1-2 ถุง

                                                                                                                  ก่อนนอน หรือก่อน

                                                                                                                  อาหารเช้าครึ่งชั่วโมง

3.มะแว้ง                           ⇒ แก้ไอ                     ⇒ อมครั้งละ 3-4 เม็ด            ---------             6 บาท

   (บรรจุซองละ 20 เม็ด)      ขับเสมหะ                   เมื่อมีอาการไอหรือ

                                                                               อมบ่อยๆ

4.ขมิ้นชันแคปซูล             ⇒ บรรเทาอาการ       ⇒ กินครั้งละ 2 แคปซูล  ⇒ หากมีอาการ         6 บาท

   (บรรจุแผงละ 10                ท้องอืด ท้องเฟ้อ        วันละ 4 ครั้ง                  ท้องเสียให้

     แคปซูล                            จุกเสียด แน่นท้อง     หลังอาหารและ               หยุดยาทันที่ 

                                             อาหารไม่ย่อย            ก่อนนอน หรือตาม

                                                                               แพทย์สั่ง

5.กระเทียมสกัด               ⇒ ลดระดับโคเลส       ⇒ กินครั้งละ 1 แคปซูล   ⇒ อาจมีอาการ       32 บาท

    (บรรจุแผงละ 10              เตอรอลในเลือด          วันละ 2 ครั้งหลัง            แพ้ เช่นปวดท้อง

      แคปซูล )                   ⇒ ละลายลิ่มเลือด            อาหารเช้าและเย็น        มีผื่นคันถ้ามีอาการ

                                                                               หรือตาทแพทย์สั่ง         แพ้ควรหยุดยาและ   

                                                                               (เก็บในที่แห้งและ          ปรึกษาแพทย์ 

                                                                                เย็น อุณหภูมิไม่เกิน      สำหรับเด็กต้อง

                                                                               25 องศาเซลเซียล )      ปรึกษาแพทย์ก่อนใช้

6.ไพลจีซาน                    ⇒ บรรเทาอาการ         ⇒ ทาและถูเบาๆบริเวณ  ⇒ ห้ามทาบริเวณ    35 บาท

   ( หลอดละ 30 กรัม )         ปวดเมื่อย ปวด            ที่มีอาการวันละ              ตา ถ้าเกิดอาการ

                                            บวมจากกล้ามเนื้อ       3-5 ครั้ง (ทาแล้ว           แพ้ เช่นมีผื่นคัน

                                            อักเสบ เคล็ดขัด          ไม่ร้อนและไม่เหนียว)     ให้หยุดใช้ยาทันที

7.เจลว่านหางจระเข้        ⇒ รักษาแผลไฟไหม้    ⇒ ทาบริเวณที่ถูก           ⇒ ห้ามทาบริเวณ    30 บาท

   (หลอดละ 30 กรัม)           น้ำร้อนลวก (แผล         ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก        ห้ามกิน ไม่

                                           ไม่รุนแรงและ                วันละ 2-3 ครั้ง                ระคายเคืองต่อ

                                            ขนาดไม่กว้าง )           ( เก็บในที่เย็น                  ผิวหนัง   

                                                                                 อุณหภูมิไม่เกิน

                                                                                 25 องศาเซลเซียล)

8.ครีมพญายอ                 ⇒ ใช้รักษาโรคเริม         ⇒ ทาบริเวณที่มีอาการ    ⇒ ห้ามใช้ทา       98 บาท

   ( หลอดละ 5 กรัม )           ที่มีอาการติดเชื้อ          อักเสบ ปวดเเสบ             บริเวณเยื่อบุ

                                            จากไวรัสประเภท         ปวดร้อน วันละ 4              ต่างๆ เช่น

                                             เฮอร์ปีส์ซิมเพล็กซ์       ครั้ง ติดต่อกัน 5                ตา เป็นต้น

                                             การวิเคราะห์โรค          วัน ถ้ายังไม่หาย   

                                             ดูจากแนะยา- แจง        ให้ทาต่อไปอีก                                   

                                             โรค ฉบับที่ 163/25)       5 วัน           

ยาจากสมุนไพรดังกล่าวท่านสามารถหาซื้อได้จากร้านจำหน่ายยาขององค์การเภสัชกรรม ทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด นอกจากนี้โรงพยาบาลและสถานีอนามัยบางแห่งก็มียาสมุนไพรเหล่านี้ไว้บริการด้วย แต่ "หมอชาวบ้าน " ก็ยังเป็นห่วงท่านที่ไม่สามารถหาซื้อได้ หรืออยู่ในชุมชนที่มีสมุนไพร จึงใคร่ขอแนะนำสมุนไพรทั้ง 7 ชนิด เพื่อประโยชน์ในการในมาใช้

แนะนำสมุนไพร 7 ชนิด : คุณค่าทีทมีการพิสูจน์แล้ว

1.ชื่อ/ชื่อพฤกษศาสตร์  มะขามแขกCassia acutifolia Delile Cassia angustifolia Vahl

   ลักษณะพืช                 :   เป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก เป็นพุ่ม ใบเป้นใบประกอบคล้ายมะขามไทย แต่

                                              รูปร่างยาวเรียวและปลายใบแหลมกว่า ดอกเป็นช่อสีเหลือง ฝักคล้ายถั่ว

                                              ลันเตา แต่ป้อมแบนกว่า ฝักอ่อนมีสีเขียวใส และเปลี่ยนเป็นสีดำเมื่อแก่

  สรรพคุณยาไทย         :    ใบและฝักใช้เป็นยาถ่ายแต่ใบจะทำให้มีอาการไซ้ท้องมากกว่า(มะขาม

                                              แขกเหมาะกับผู้สูงอายุที่ท้องผูกเป็นประจำ แต่ควรใช้เป็นครั้งคราว หญิง

                                              ตั้งครรภ์หรือหญิงมีประจำเดือนห้ามใช้ )

  ส่วนที่ใช้เป็นยา/วิธีใช้ :   ใบแห้งและฝักแห้ง ใช้ใบแห้ง 1-2 กำมือต้มกับน้ำดื่ม หรือใช้วิธีบดเป็น

                                               ผงชงน้ำดื่ม หรือใช้ฝัก 4-5 ฝักต้มกับน้ำดื่ม บางคนดื่มแล้วเกิดอาการไซ้

                                               ท้องแก้ไขโดยใช้ร่วมกับยาขับลมจำนวนเล็กน้อย

2.ชื่อ/ชื่อพฤกษศาสตร์ :   มะแว้งเครือ Solanum trilobatum Linn.

   ลักษณะพืช                 :  เป็นพรรณไม้เถา ขนาดล็ก ลักษณะของลำต้นเป็นเถา มีสีเขียว ลำต้นมี

                                              แหลมคม ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกัน ดอกเป็นช่อๆหนึ่งมีดอกอยู่

                                              ประมาณ 5-12 ดอก มีสีม่วงอมชมพู  ผลมีลักษณะกลม ผิวเรียบเกลี้ยง

                                              ขนาดเล็กกว่าผลของมะเขือพวง ผลอ่อนมีลายเป็นสีขาวๆ เมื่อแก่หรือสุก

                                              จะเปลี่ยนเป้นสีแดงสด มีรสขม

   สรรพคุณยาไทย         :   ผลใช้ทั้งผลดิบและผลสุกละลายเสมหะ แก้ไอ แก้น้ำลายเหนียว ลดไข้

                                              ขับปัสสาวะ บำรุงน้ำดี

  ส่วนที่ใช้เป็นยา/วิธีใช้  :    ใช้ผลสดใช้แก้ไอ ขับเสมหะ โดยใช้ขนาด 4-10 ผล โขลกพอแหลก คั้น

                                               เอาน้ำใส่เกลือเล็กน้อย จิบบ่อยๆ หรือเคี้ยวเกินเฉพาะน้ำจนหมดรส

3. ชื่อ/ชื่อพฤกษศาสตร์ :   ขมิ้นชัน Curcuma Longa Linn

     ลักษณะพืช                :  เป็นพรรณไม้ล้มลุก มีเหง้าอยู่ใต้ดินมาก เนื้อในจะมีสี้หลืองอมส้ม และมี

                                               กลิ่นหอม ลำต้นสูงประมาณ 40-70 เซนติเมตร ใบเดี่ยว ขนาดใหญ่รูป

                                               หอก กว้างประมาณ  8-10 เซนติเมตร และยาวประมาณ 30-40

                                               เซนติเมตร จะออกดอกเป็นช่อใหญ่ ก้านช่อดอกนั้นจะบาง พุ่งออกมา

                                               จากใต้ดินยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร ส่วนใบประดับสีเขียวอ่อนๆ หรือ

                                               สีขาว ตรงปลายช่อดอกจะมีสีชมพูอ่อน จัดเรียงซ้อนกันอย่างเป็น

                                               ระเบียบ

   สรรพคุณยาไทย         :   เหง้าของขมิ้นชันมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบททีเรีย เชื้อรา ลดการอักเสบ

                                              และมใทธิ์ในการขับน้ำดี

   ส่วนที่ใช้เป็นยา/วิธีใช้ :   อาการแพ้อักเสบ แผล ฝี พุพอง แมลงสัตว์กัดต่อยภายนอก ใช้เหง้ายาว

                                              ประมาณ 2 นิ้ว ฝนกับน้ำต้มสุกทาบริเวณที่เป็นวันละ 3 ครั้ง หรือใช้ผง

                                              ขมิ้นโรยทา

4.ชื่อ/ชื่อพฤกษศาสตร์  :   กระเทียม Allium sativum Linn

   ลักษณะพืช                  :   เป็นพรรณไม้ล้มลุก ต้นสูงประมาณ 30-45 เซนติเมตร มีหัวอยู่ใต้ดิน

                                             หลายหัวรวมกัน มีเปลือกนอกสีขาวหุ้ม 2-3 ชั้น ใบเขียวแก่ แบน แคบ

                                             และกลวง ปลายใบแหลม มีดอกสีขาวแต้มสีม่วง หรือขาวอมชมพู ออก

                                             ดอกเป็นช่อ

  สรรพคุณยาไทย         หัวใช้สดหรือแห้งเป็นทั้งอาหารและยา มีสรรพคุณรักษาโรคความดันเลือด

                                            สูง โรคแผลเน่าเปื่อย โรคกลาก-เกลื้อน โรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด ฆ่า

                                            เชื้อโรคภายในปาก แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด แน่นท้อง

 ส่วนที่ใช้เป็นยา/วิธีใช้  :   รักษาไขมันอุดตันในหลอดเลือด ใช้หัวกระเทียมที่ปอกเปลือกแล้วใส่ใน

                                            ภาชนะที่เป็นไหหรือโหลไว้ ใส่น้ำผึ้งชนิดบริสุทธิ์ลงผสมให้ท่วมหัว

                                            กระเทียม ปิดฝาให้มิดชิด ดองทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ ใช้กินก่อนนอน

                                            วันละ 3 หัวพร้อมน้ำผึ้งกินติดต่อกันเป็นเวลา 1 สัปดาห์

5.ชื่อ/ชื่อพฤกษศาสตร์ :   ไพล Zingiber purpureum Rosc

   ลักษณะพืช                  :  เป็นพืชล้มลุก มีลำต้นใต้ดินเรียกว่า เหง้า มีขนาดใหญ่ เนื้อในเป็นสี

                                            เหลืองอมเขียว มีกลิ่นหอม ใบมีลักษณะเรียวยาว และปลายแหลม ดอก

                                            ออกรวมกันเป็นช่อ

 สรรพคุณยาไทย           เหง้าแก่จัด รักษาอาการฟกช้ำ บวม ปวดท้อง ลมจุกเสียด บิด และใน

                                            หญิงที่มีประจำเดือนมาไม่ปกติ

 ส่วนที่ใช้เป็นยา/วิธีใช้  :   ยาทาภายนอกใช้เหง้าสดฝนทาแก้เคล็ดขัดยอก ฟกบวม เส้นตึง เมื่อยขบ

                                            เหน็บชาสมานแผล

6.ชื่อ/ชื่อพฤกษศาสตร์  :  ว่านหางจระเข้ Aloe vera Linn

    ลักษณะพืช                 :  พืชล้มลุก ลำต้นสั้นเห็นแต่ใบเรียงซ้อนกัน ใบหนาสดเเละอวบน้ำ รูปร่าง

                                             ยาวปลายเรียวแหลม ริมใบมีหนามเล็กๆ เริ่มเก็บใบมาใช้ได้เมื่อพืชอายุ

                                            ได้ 1 ปี

 สรรพคุณยาไทย          ยางใช้เป้นยาระบาย ส่วนวุ้น ใช้รักษาแผลเรื้อรังจาการฉายรังสี กระเพาะลำ

                                           ไส้อักเสบ แก้ฝีและตะมอย แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แก้ท้องผูก แก้แผล

                                           ในปาก

 ส่วนที่ใช้เป็นยา/วิธีใช้  : รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก นำใบมาประมาณ 4 ใบ ล้างให้สะอาดแล้วก็

                                          ขยี้ให้เมือกออกมา ใช้ทาบริเวณที่ถูกไฟลวกทันที่

7.ชื่อ/ชื่อพฤกษศาสตร์  :  พญายอ Clinacanthus nutans (Burmf) LIndau

 ลักษณะพืช                    :  ไม้พุ่มเลื้อย พบขึ้นตามป่า หรือปลูกตาทบ้านลำต้นและกิ่งก้านสีเขียว ใบ

                                            เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นรูปรีแคบ ปลายและโคนใบแหลม ริมใบ

                                            เรียบ ดอกเป็นช่อมี 5 ดอกย่อยขึ้นไป กลีบดอกสีแดงส้ม โคนกลีบดอกติด

                                            กันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 2 ส่วน

 สรรพคุณยาไทย         ทั้งต้นและใบรักษาพิษแมลงกัดต่อย เช่น มด ยุง ใช้รักษางูสวัด ไฟลามทุ่ง

                                            สารสกัดจากใบสดรักษาอาการอักเสบจากเริมในปาก

ส่วนที่ใช้เป็นยา/วิธีใช้  :  ยาภายนอกใช้ใบสด 4-10 ใบ ตำหรือขยี้ทา ใช้ใบสด 1 กิโลกรัม ปั่นให้

                                          ละเอียด เติมแอลกฮอล์ 70 เปอร์เซ็นต์ 1 ลิตร อังไอน้ำให้ปริมาณลดลงครึ่ง

                                          หนึ่งเติมกลีเซอรีนเท่าตัว

ผลจากการศึกษาของแพทย์ผู้ทำการวิจัยและใช้ยาสมุนไพรรักษาคนไข้

ศาสตราจารย์นายแพทย์วิษณุ ธรรมลิขิตกุล และคณะ
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ขมิ้นชันแคปซูลขององค์การเภสัชกรรมมีประสิทธิภาพลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ เทียบเท่ากับยาแฟลทูแลนซ์ (flatulance) และดีกว่ายาหลอก ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยทดสอบในผู้ป่วย 106 ราย”

รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงเผือดศรี วัฒนานุกูล และคณะ
หน่วยโลหิตวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กระเทียมสกัด ป้องกันและช่วยละลายลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นในหลอดเลือดได้ โดยทดสอบในอาสาสมัครจำนวน 90 คน พบว่าทำให้ค่ายูโกลบูลิน ไลซิส เทส (Euglobulin Lysis Test - ELT) สั้นลง และแอนติทรอมบิน ไทม์ (Antithrombin III Time – AT III time) ยาวขึ้น”

ศาสตราจารย์นายแพทย์วิชัย ตันไพจิตร และคณะ
ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

“กระเทียมสกัด สามารถลดระดับโคเลสเตอรอลชนิดเบา มีผลให้ระดับโคเลสเตอรอลรวมลดลงด้วย โดยทดสอบประสิทธิภาพในผู้ป่วยไขมันในเลือดสูง จำนวน 21 ราย สามารถลดระดับได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อใช้กระเทียมสกัดได้ 4 สัปดาห์”

ศาสตราจารย์นายแพทย์อวย เกตุสิงห์ และคณะ
ไพลจีซาล มีประสิทธิภาพในการลดรอยเลือดที่เกิดจากการฟกช้ำ”

นายแพทย์วิรุฬห์ เหล่าภัทรเกษม และคณะ
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ไพลจีซาล มีประสิทธิภาพสูงในการรักษาอาการบวม โดยทดสอบในนักกีฬาที่บาดเจ็บ ข้อเท้าแพลงโดยเฉพาะในช่วง 2-3 วันแรกของการรักษา และสามารถลดอาการปวดได้ดี”

ศาสตราจารย์นายแพทย์วิวิฒน์ วิสุทธิโกศล และคณะ
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
เจลว่านหางจระเข้ที่องค์การเภสัชกรรมผลิต ทำให้เนื้อเยื่อหายบวมได้ มีสารที่สามารถฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ ทำให้แผลสะอาด และพบว่าสามารถทำให้เกิดเลือดมาหล่อเลี้ยงบริเวณบาดแผลมากขึ้น ทำให้เนื้อเยื่อหนังกำพร้างอกเร็วขึ้น ส่วนบริเวณเนื้อเยื่อหนังแท้ที่ถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ก็จะมีเนื้อเยื่อเกิดขึ้นมาแทนที่เร็วกว่าปกติ”

คณะวิจัยจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โรงพยาบาลตากสิน และโรงพยาบาลบางรัก
ครีมพญายอที่ผลิตขึ้นมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคเริมในผู้ป่วยได้ดีเท่ากับยามาตรฐาน อะไซโคลเวียร์ (Acyclovir) และไม่ทำให้ผู้ใช้มีอาการแสบหรือระคายเคือง”


คงจะเห็นกันแล้วนะครับว่า ยาจากสมุนไพรที่ผลิตโดยองค์การเภสัชกรรมนั้น มีที่มาและที่ไปอย่างไร หน้าตาของตำรับยาก็ทันสมัย สะดวกใช้และประหยัด จนแพทย์แผนปัจจุบันเองยังยอมรับและใช้รักษาคนไข้ได้


หมอชาวบ้านจึงยินดีเหลือเกินที่จะเผยแพร่ไปถึงผู้อ่าน เพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพและการพึ่งตนเอง หากท่านผู้ผลิตใดไม่ว่าจะเป็นของรัฐฯ หรือเอกชน มีตำรับยาที่พัฒนาจากการคัดเลือกสมุนไพรซึ่งพิสูจน์ผลแล้วผสมผสานวิทยาการผลิตสมัยใหม่ได้ตำรับยาที่มีคุณภาพ สะดวกใช้ ราคาประหยัด เพื่อการพึ่งตนเองล่ะก็ แจ้งรายละเอียดมายังหมอชาวบ้านได้ เรายินดีจะเผยแพร่เป็นวิทยาทานต่อไป

ข้อมูลสื่อ

189-002
นิตยสารหมอชาวบ้าน 186
ตุลาคม 2537
บทความพิเศษ
ภก.นิพล ธนธัญญา