• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

แปะก๊วยช่วยยับยั้งการเสื่อมของสมองและต่อต้านอนุมูลอิสระ

สารสกัดแปะก๊วย 40 มิลลิกรัม ที่มีสารออกฤทธิ์ทางด้านเภสัชวิทยาครบตามมาตรฐานสากลและควบคุมสารที่เป็นพิษได้จริง โดยกระบวนการผลิตและควบคุมคุณภาพตาม GMP&ISO9001;Version2000 ของบริษัท ผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย จำกัด ในเครือองค์การเภสัชกรรม กระทรวงสาธารณสุข ผู้บริโภคและผู้ป่วยที่ต้องการให้เลือดนำสารอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงสมองมากขึ้นช่วยยับยั้งการเสื่อมของสมอง รวมทั้งฤทธิ์ในการต่อต้านอนุมูลอิสระสารพิษในร่างกายช่วยชะลอความแก่ จึงได้รับประโยชน์โดยไม่มีผลข้างเคียง


แปะก๊วย : ให้คุณอนันต์ มีโทษมหันต์

อาจจะหาไม่ได้ง่ายนัก สำหรับสมุนไพรธรรมชาติที่มีสรรพคุณครอบจักรวาลอย่าง "แปะก๊วย" ที่มีต้นกำเนิดในประเทศจีน และใช้กันมานานกว่า 4,000 ปี มีการทดลอง ศึกษา และวิจัยถึงการออกฤทธิ์มาแล้วหลายครั้ง จนเป็นที่ยอมรับของวงการแพทย์ทั่วโลกว่ามีสรรพคุณมากมาย แต่ขณะเดียวกันก็มีโทษมหันต์หากใช้ไม่ถูกวิธี

 

แปะก๊วย : มีคุณอนันต์

ใบแปะก๊วย มีสารประกอบทางเคมีมากมาย แต่ที่สำคัญมีอยู่ 2 กลุ่ม คือ เทอร์ปีนอยด์ (terpenoids)
มีสารประกอบสำคัญชื่อ กิงโกไลด์ (ginkgolide) และบิโลบาไลด์ (bilobalide) และอีกกลุ่มคือ ฟลา-โวนอยด์ (flavonoids) นอกจากนี้ยังพบในพวกสารสตีรอยด์ (steroids) อนุพันธ์กรดอินทรีย์และน้ำตาล
แต่ถ้ากลับไปมองในส่วนของสารที่ออกฤทธิ์ทางด้านเภสัชวิทยาแล้ว แปะก๊วย จะมีฤทธิ์ทางเภสัช- วิทยาที่สำคัญและมีการนำมาใช้ทางคลินิกจำนวนมาก คือ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ มีคุณสมบัติช่วยป้องกันโรคมะเร็ง และยังสามารถชะลอความแก่ได้ ฤทธิ์การยับยั้งการเกาะตัวของ เกล็ดเลือดทำให้การไหลเวียนของเลือดในหลอดเลือดแดง หลอดเลือดดำ และหลอดเลือดฝอยดีขึ้น ฤทธิ์เพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังสมอง ทำให้ความสามารถในการทำงานและการตัดสินใจดีขึ้น ฤทธิ์กระตุ้นระบบไหลเวียนของเลือด ทำให้เลือดไหลฉีดไปตามผิวหนังได้ดี ฤทธิ์เพิ่มความสามารถในการเรียนรู้
ฤทธิ์ยับยั้งการเกิดไลปิดเพอรอกไซด์ ฤทธิ์ช่วยให้ความจำดีขึ้น ฤทธิ์ทำให้หลอดเลือดหดตัว
ฤทธิ์เพิ่มการมองเห็น และฤทธิ์ยับยั้งการเสื่อมของสมอง

 

เลือกใช้ไม่ดี มีโทษมหันต์

แปะก๊วยถึงจะมีสรรพคุณมากมาย แต่ในสารกลุ่มเดียวกันก็มีความเป็นพิษอยู่ ในตัวเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะสารกิโกลิก แอซิด (ginkgolic acid) ในกลุ่ม ฟลาวานอยด์ ถ้ามากเกินกว่า 5 ส่วนในล้านส่วน (5PPM) จะมีผลข้างเคียงต่อร่างกาย ทำให้ชีพจรเต้นเร็ว เนื่องจากสารในแปะก๊วย บางตัวต้านฤทธิ์กันเอง เช่น ออกฤทธิ์ทั้งขยายและหดตัวหลอดเลือด ดังนั้น ผู้บริโภค ที่ไม่ระมัดระวังอาจได้รับผลข้างเคียงทางระบบประสาท (ปวดหัว มึนงง) ทางระบบ ทางเดินอาหาร (ท้องอืด ท้องเฟ้อ)
การแพ้ทางผิวหนัง (ผื่นคัน) และอาจทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงได้อีกด้วย

 

สารสกัดแปะก๊วยที่ได้มาตรฐาน

จากพิษที่เกิดขึ้นของแปะก๊วยดังกล่าวจึงมีความจำเป็นที่ผู้ผลิตจะต้องขจัดสารพิษนี้ออกก่อน ตามขั้นตอนมาตรฐานการผลิตที่ดี (GMP) และจะต้องควบคุมสารสำคัญออกฤทธิ์ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งในเภสัชตำรับของเยอรมันกำหนดไว้ว่า สัดส่วนของใบต่อสารสกัด 50:1 โดยน้ำหนักของ ginko
biloba leaf extract ควรมีฟลาโวนไกลโคไซด์  (flavone glycoside) ร้อยละ ๒๒-๒๗ เทอร์พีนแล็กโทน (terpine lactone) ร้อยละ 5-7 และสารที่อาจเป็นพิษ เช่น กิงโกลิก แอซิด (ginkgolic acid) จะต้องควบคุมให้มีได้ไม่เกิน 5 ส่วนในล้านส่วน ซึ่งวัตถุดิบแปะก๊วยที่จะได้มาตรฐานนี้จะต้องผ่านการสกัดด้วยเครื่องมือที่ได้มาตรฐานจริงๆ

 

ข้อแนะนำในการเลือกใช้

ดังนั้น ถ้าจะเลือกใช้ผลิตภัณฑ์จากแปะก๊วย จึงควรเลือกใช้เฉพาะยาจาก สารสกัดใบแปะก๊วยที่ได้มาตรฐานเท่านั้น เพราะหากเป็นใบแปะก๊วยชนิดชาชง หรือใบแห้งอัดแคปซูล จะไม่สามารถควบคุมสารดังกล่าวได้ อาจทำให้มีความเสี่ยง จากสารพิษต่างๆ ได้

 

ยาเม็ดเมม-โอ-จี (Mem-O-G) เครื่องหมายการค้า "ไฟโตแคร์ (Phytocare) สมุนไพรสไตล์สากลสารสกัดแปะก๊วย 40 มิลลิกรัม เป็นผลิตภัณฑ์จากการวิจัยและพัฒนาขององค์การเภสัชกรรม ร่วมกับบริษัทผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย จำกัด มีสารออกฤทธิ์ครบถ้วนและควบคุมสารพิษได้ตามมาตรฐาน รวมทั้งปราศจากเชื้อแบคทีเรีย ยีสต์ และเชื้อรา เลขทะเบียน Reg.No.G96/43 ขนาดบรรจุขวดละ 30 เม็ด และขนาดบรรจุแบบแผง (blister) 10x10๑๐x๑๐ เม็ด จำหน่ายโดยองค์การเภสัชกรรมและร้านขายยาชั้นนำทั่วไป

ข้อมูลสื่อ

304-014
นิตยสารหมอชาวบ้าน 304
สิงหาคม 2547
ภก.สุดเหมือนฝัน ธนธัญญา