• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

ตอนที่ 10 หลัง (ต่อ)

ฉบับที่แล้วได้อธิบายถึงการนวดแก้อาการปวดหลัง โดยใช้อุปกรณ์เข้าช่วย เช่น นมไม้ กะลา ลูกกอล์ฟ เป็นต้น

นอกจากอุปกรณ์ดังกล่าวแล้ว เราอาจช่วยเหลือตนเองด้วยการยืนเท้าสะเอว โดยเอาหัวแม่มือทั้งสองข้างกดลงตรงบริเวณบั้นเอว แล้วแอ่นตัวมาข้างหลัง แต่เวลายืนให้หาหลักยืนพิงที่กันล้ม ถ้าหากยืนไม่ได้หลัก เวลาแอ่นตัวไปด้านหลังแล้วจะทำให้หงายหลังได้ ข้อควรระวังคือ อย่าให้ล้ม

หลักการนวดโดยใช้มือตนเองนวดนั้น ควรจะเอาหัวแม่มือกดบริเวณเอว กดขึ้นไปเรื่อยๆ จนไม่สามารถจะกดตนเองได้ ให้ทำหลายๆครั้ง อาการปวดเมื่อยจะทำให้เบาบางลงไป ถ้าหากการนวดหรือการช่วยตนเองแล้วยังไม่ได้ผลอีกก็ควรจะไปหาหมอนวดที่มีความรู้เรื่องเส้นเป็นอย่างดี ไม่ใช่เวลาปวดเมื่อยแล้วไปหาหมอนวดตามโรงอาบอบนวด อาการปวดเมื่อยจะกำเริบมากขึ้น เรื่องนี้ไม่ขอสนับสนุน ถ้าหากจะนวดควรจะไปหาหมอนวด ปัจจุบันมีหมอนวดตามสมาคมแพทย์แผนโบราณอยู่หลายแห่ง ซึ่งสามารถจะบรรเทาอาการปวดของท่านได้

จุดนวดแก้ปวดหลัง ซึ่งปกติแล้วหมอนวดที่มีความรู้ด้านนี้เขารู้ว่าควรจะนวดตั้งแต่จุดใดถึงจุดใด ในที่นี้จะขอกล่าวเพียงย่อๆ ง่ายๆ ซึ่งหมอบางท่านอาจจะใช้มาแล้ว หรืออาจจะมีเทคนิคในการนวดได้ดีกว่านี้ จุดนวดง่ายๆดังที่กล่าวมาแล้วว่า ถ้านวดแผ่นหลังนั้นเส้นใหญ่อยู่ที่ข้างกระดูกสันหลัง โดยห่างจากกระดูกสันหลังประมาณ 1 นิ้วมือ เส้นเอ็นต่างๆที่ทำให้ปวดหลังนั้นมีด้วยกันทั้งหมดข้างละ 3 เส้น โดยห่างกันประมาณ 1 นิ้วเหมือนกันหมด

แนวที่ 1 เริ่มจากต้นคอห่างจากกระดูก                                              แนวที่ 2 เริ่มจากต้นคอ ห่างจากกระดูก
สันหลังประมาณ 1 นิ้วมือ                                                                                   สันหลังประมาณ 2 นิ้วมือ
กดประมาณ 8-10 จุดก็ได้                                                                                 กดประมาณ 8-10 จุดก็ได้
จุดแรก ควรนวดตั้งแต่ต้นคอลงมา นวดลงมาเรื่อยๆจนถึงบั้นเอว ประมาณ 10-15 จุด แต่ละจุดให้ห่างกันประมาณ 1 นิ้ว โดยนวดตั้งแต่ต้นคอห่างจากกระดูกต้นคอประมาณ 1 นิ้ว ไล่ต่ำลงมาตามกระดูกสันหลัง จนถึงบั้นเอว

จุดที่ 2 ให้นวดเหนือสะบัก ห่างจากจุดแรกที่นวดประมาณ 1 นิ้วมือ ลักษณะการนวดเช่นเดียวกับจุดแรก นวดลงไปจนถึงบั้นเอวเหมือนกัน

จุดที่ 3 ให้นวดต่ำกว่าสะบัก โดยห่างจากจุดที่ 2 ประมาณ 1 นิ้ว หรือห่างจากกระดูกสันหลังมาประมาณ 2-3 นิ้ว จุดนี้ปกติแล้วจะนวดได้ยาก ผู้ที่มีความชำนาญจะนวดได้ เพราะว่าเส้นนี้จะผ่านกระดูกซี่โครง การนวดแต่ละครั้งจะต้องหลีกเลี่ยงการนวดถูกกระดูก เมื่อนวดลงมาถึงบั้นเอวควรจะนวดต่อไปถึงสะโพก






แนวที่ 3 เริ่มตั้งแต่ใต้สะบักห่างออกไป                                               
จากกระดูกสันหลังประมาณ 3 นิ้วมือ                                                          การนวดแก้ปวดหลังโดยวิธีการนั่ง
กดประมาณ 8-10 จุดก็ได้                                                                                             พิงเข่าผู้อื่น
ในการนวดหลังควรจะนวดให้ถี่หน่อย อย่าให้ห่างนัก โดยกดให้นิ่งและนานประมาณจุดละ 10 วินาที หากการนวดหลังนี้ถ้านวดห่างเกินไปจะไม่ได้ผลเท่าที่ควร ควรนวดให้ถี่ โดยห่างกันจุดละ 1 นิ้ว หรือจะซ้อนหัวแม่มือไปเรื่อยๆ ประมาณ 15 จุดก็ได้ และข้อสำคัญจะต้องกดให้นิ่งและนาน 10 วินาที หนักพอควรจะมีจุดหนึ่งระหว่างสะบัก                                                      
ถ้าหากกดแรงจะทำให้ปวดเสียวถึงหน้าอก                   แก้ปวดเอวด้วยตนเอง
ซึ่งหมอนวดส่วนมากจะทราบกันดีอยู่แล้ว่า                           แบบฉับพลัน
มีเส้นพาดผ่านถึงหน้าอกได้

ดังนั้น การนวดจึงอย่าให้หนัก ข้อสำคัญจะต้องนิ่งและนาน เมื่อนวดลงมาถึงบั้นเอวแล้ว ควรจะนวดบริเวณสะโพกเล็กน้อย จุดสะโพกควรจะนวดที่บริเวณที่เป็นลักยิ้ม ก็คือลักยิ้มของหลัง เมื่อนวดจุดนี้ให้นานประมาณ 10 วินาทีแล้ว ควรจะนวดซ้ำๆกันประมาณ 3-5 ครั้ง ต่อจากนั้นควรมานวดที่ด้านหลังของขาเล็กน้อย ตั้งแต่บริเวณก้นย้อยลงไปจนถึงข้อพับเข่า การนวดจุดนี้จะช่วยให้อาการปวดหลังบรรเทาลงไปได้มาก การนวดควรให้ผู้ถูกนวดนอนคว่ำ แล้วกดบริเวณที่ต้นขาด้านหลัง กดให้นาน ลึก นิ่ง ให้ใช้น้ำหนักมากหน่อย ซึ่งจุดนี้ปกติแล้วจะมีกล้ามเนื้อมาก การกดจะไม่ค่อยถึงเส้นเท่าไรนัก แต่ขอให้กดเถิด กดแล้วจะได้ผล ถึงแม้จะไม่ถึงเส้นเท่าไรก็ได้ผลเช่นกัน

ข้อสำคัญในการปฏิบัติตัวในการทำงาน หรืออิริยาบถใดก็ตาม ควรจะเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ ทำงานให้ถูกหลัก ซึ่งการทำงานไม่ถูกหลักนี้จะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปวดหลังได้

อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปวดหลังคือ เกิดจากสะบักจม ดังที่ได้กล่าวแล้วในตอนที่ 7 เรื่อง การนวดไทย ในหมอชาวบ้าน ฉบับที่ 96 หากคนที่สะบักจมเมื่อไม่ทำการดึงเส้นให้เข้าที่หรือรักษาให้หาย อาการปวดที่สะบักหรือต้นแขนก็จะลดหายลงไป แต่จะมาปวดที่เอวหรือหลัง ซึ่งอาการดังกล่าวจะรักษาไม่ง่ายนัก ต้องใช้เวลาและต้องใช้ฝีมือของผู้นวด ถ้าหากคนที่ไม่มีความรู้ก็ไม่สามารถที่จะรักษาได้

คนที่นั่งทำงานโดยใช้วิธีนั่งยองๆ จะทำให้ปวดหลังได้ง่าย ดังนั้นคนที่มีอาการปวดหลังบ่อยๆจะต้องทราบสาเหตุของตนเองว่า เกิดจากอะไร เป็นเพราะนั่งทำงานไม่ถูกอิริยาบถ หรือเกิดจากความไม่สมบูรณ์ของร่างกาย ถ้าหากว่าท่านได้ข้อคิด หรือทราบว่าอะไรเป็นสาเหตุให้ปวดหลังก็ควรจะแก่ไขตนเอง เช่น การลดน้ำหนัก ลดอาหารที่มีมันจัดๆ มีไขมันมาก ควรจะวิ่งเหยาะๆ หรือนอนในที่นอนที่ไม่นิ่มเกินไป ควรนอนที่นอนค่อนข้างแข็ง

ถ้าหากว่าท่านหลีกเลี่ยงอาการดังกล่าว หรืออิริยาบถต่างๆได้แล้ว อาการปวดหลังของท่านจะไม่บังเกิดแก่ท่าน

 

ข้อมูลสื่อ

99-010
นิตยสารหมอชาวบ้าน 99
กรกฎาคม 2530
นวดไทย
บุญเทียม ตันติ์เตชรัตน์