• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

กระตุ้นการขับปัสสาวะ บรรเทาอาการโรคนิ่วในไตรู้ไหม? ยาอะไรเอ่ย?

กระตุ้นการขับปัสสาวะ บรรเทาอาการโรคนิ่วในไตรู้ไหม? ยาอะไรเอ่ย?

สาร 4 กลุ่ม ในสมุนไพรไทยชนิดนี้ช่วยกันออกฤทธิ์กระตุ้นการขับปัสสาวะ ทำให้ปริมาณปัสสาวะเพิ่มมากขึ้นจึงช่วยในการรักษาโรคนิ่วในไต นอกจากนี้ ยังมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ ทำให้ป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำได้ด้วย แพทย์ไทยและคณะทำการวิจัยผลทางการรักษาแล้ว
สมุนไพรไทยนี้คือ หญ้าหนวดแมว ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตคือ ยาชงหญ้าหนวดแมว

หญ้าหนวดแมว หรือ Java tea
หญ้าหนวดแมว มีชื่อทางพฤกษศาสตร์คือ Orthosiphon aristatus Miq. สรรพคุณที่ระบุในตำรายาไทยนั้น เน้นในการขับปัสสาวะซึ่งประเทศในแถบเอเชีย เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ รวมทั้งประเทศในแถบยุโรปก็มีการใช้หญ้าหนวดแมวเพื่อขับปัสสาวะเช่นเดียวกัน หญ้าหนวดแมว หรือ Java tea ที่มีขายในทางการค้านั้นจะประกอบด้วยส่วนของใบและส่วนยอดของต้นหญ้าหนวดแมว ซึ่งเก็บในระยะใกล้ออกดอก สารสำคัญที่มีอยู่ใน Java tea จะเป็นแร่ธาตุ (minerals) ประมาณร้อยละ 12 ที่พบส่วนใหญ่คือโพแทสเซียม ซึ่งพบประมาณ 600-700 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมของใบสด นอกจากนี้
ยังมีสารจำพวก Lipophilic flavones ประมาณร้อยละ 0.2 สารฟลาโวนเลาโวนเหล่านี้ได้แก่ nensetin, flavonol glycosides และยังพบสารซึ่งเป็นอนุพันธ์ของ caffeic acid, inositol, betasitosterol, สารจำพวกซาโปนินและน้ำมันหอมระเหย
 

แพทย์และคณะที่ทำการวิจัยผลทางการรักษา มีดังนี้คือ
1.นพ.อมร เปรมกมล และคณะ (รักษาโรคนิ่วในไต)
2.นพ.วีระสิงห์ เมืองมั่น และนพ.กฤษฎา รัตนโอฬาร
3.พิชัย ตั้งสิน และปริศนา แสงเจษฎา
4.ยุวดี วงษ์กระจ่าง และคณะ
5.ทรงพล ชีวะพัฒน์ และคณะ
6.Englert J, Harnischfeger G., Plama Med 1992,58(3):137-8
7.มยุรี เนิดน้อย และวีระสิงห์ เมืองมั่น
8.Attendoli R, Presse Med., 1935, 43:1355-6


เภสัชกรผลิต "ชาชงหญ้าหนวดแมว" ตามกระบวนการ GMP
ข้อดีของ "ชาชง" คือ เป็นผงยาสมุนไพรล้วนๆ ไม่มีการใช้สารเคมีใดๆเลย ผู้ป่วยและผู้บริโภคจึงได้รับสารธรรมชาติบริสุทธิ์จริงๆ ไม่มีการปนเปื้อน

การควบคุมคุณภาพ 6 ขั้นตอน คือ
1.ตรวจเอกลักษณ์ (Identification) หญ้าหนวดแมว โดยวิธี TLC
2.ตรวจน้ำหนักสุทธิของผงใบหญ้าหนวดแมว ซองละ 2  กรัม
3.ทำการฉายรังสีแกมมา ที่ความเข้มไม่เกินมาตรฐาน WHO คือ 10 กิโลเกรย์
4.ควบคุมความชื้นใน Finished Product ไม่มากกว่า 15.0 % w/w
5.ตรวจความเป็นกรดด่างในสภาพพร้อมดื่ม pH5.0-7.0
6.ตรวจการปลอดเชื้อ E.Coli, Ps.aeruginosa. S.aureus, salmonella. Yeast & mold

จึงได้ "ยาชงหญ้าหนวดแมว" ที่ได้มาตรฐาน ควรคู่สำหรับ ผู้ป่วยและผู้บริโภคที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปัสสาวะและโรคนิ่วในไต แต่เนื่องจากมีโพแทสเซียมสูง ผู้ป่วยโรคหัวใจจึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้
"ยาชงหญ้าหนวดแมว" มาตรฐาน GMP มีวางจำหน่ายที่ร้านยาองค์การเภสัชกรรมในรูปของชาชงแบบดั้งเดิมวางจำหน่ายเพื่อผู้ป่วยนิ่วในไตหรือผู้ที่มีปัญหาในการปัสสาวะ

สมุนไพรไทย! มีมาตรฐาน น่าใช้อะไร? อย่างนี้

ข้อมูลสื่อ

305-016
นิตยสารหมอชาวบ้าน 305
กันยายน 2547
ภก.สุดเหมือนฝัน ธนธัญญา