• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

โรคขาดสารไอโอดีน

โรคขาดสารไอโอดีน

โรคขาดสารไอโอดีน เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพราะทำให้เกิดอาการคอพอก สติปัญญาด้อย และร่างกายเจริญเติบโตช้า ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ

โรคนี้มีสาเหตุมาจากความบกพร่องของสภาพภูมิประเทศ โดยดินและน้ำของภาคเหนือมีสารไอโอดีนน้อยกว่าภาคอื่นๆ 4 เท่า ประกอบกับประชาชนในภูมิภาคนี้มีโอกาสบริโภคอาหารทะเลน้อยมาก โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ห่างไกลการคมนาคม และ/หรือผู้ที่มีฐานะยากจน

เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าว กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดแนวทางการดำเนินการแก้ไขโรคขาดสารอาหารไอโอดีน โดยเน้นให้ประชาชนทุกคนในพื้นที่ทราบว่า โรคนี้เกิดขึ้นเนื่องจากความบกพร่องของภูมิประเทศ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขด้วยการรับสารไอโอดีนเสริมตลอดชีวิต

นอกจากนี้ทางกรมอนามัยจะรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหา และดำเนินการแก้ไขปัญหานี้ด้วยตนเองโดยการแนะนำให้ดื่มน้ำเสริมไอโอดีนที่บ้านทุกครอบครัว และที่โรงเรียนทุกแห่งเป็นประจำ ร่วมกับการใช้เกลืออนามัยซึ่งเป็นเกลือที่เสริมไอโอดีนในการปรุงอาหาร สำหรับหญิงมีครรภ์จะต้องให้ยาเม็ดไอโอดีนตลอดการตั้งครรภ์ โดยกินครั้งละ 1 เม็ด ในขณะเดียวกันก็ต้องดื่มน้ำผสมไอโอดีนและใช้เกลืออนามัยควบคู่ตลอดชีวิต ถ้าเป็นไปได้ควรจะหาโอกาสกินอาหารทะเลด้วย

ข้อมูลสื่อ

129-003
นิตยสารหมอชาวบ้าน 129
มกราคม 2533
ข่าว