• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

การจับชีพจร

“ชีพจร” เป็นสัญญาณการสูบฉีดเลือดออกจากหัวใจ เพื่อไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกาย บริเวณที่สามารถจับชีพจรได้ชัดเจน คือ

1. ที่ข้อมือทั้งสองข้าง โดยใช้นิ้วชี้ นิ้วกลางและนิ้วนางของมือข้างที่ถนัดจับลงบนข้อมือทางด้านหัวแม่มือ

                                                      

2. ที่ข้อพับข้อศอกทั้งสองข้าง
โดยใช้นิ้วชี้ นิ้วกลางและนิ้วนางของมือข้างที่ถนัดจับลงบนข้อพับแขนด้านนิ้วก้อย
                                                       

3. ที่คอ
ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางของมือข้างที่ถนัดคลำที่ลูกกระเดือก แล้วเลื่อนนิ้วมือลงมาที่ข้างๆของลูกกระเดือก จะพบร่องเกิดจากขอบของกล้ามเนื้อคอ และแผ่นกระดูกอ่อนของลูกกระเดือก ตรงร่องนี้มีเส้นเลือดใหญ่ที่ไปเลี้ยงสมองทอดอยู่ ซึ่งจะคลำชีพจรได้ตรงนั้นทั้งสองข้าง

                                                       

“ชีพจรปกติ”
จะมีจังหวะการเต้นที่แรง และสม่ำเสมอ
ผู้ใหญ่ จะเต้นประมาณ 60-80 ครั้งต่อนาที
เด็ก ชีพจรจะเต้นเร็วกว่าผู้ใหญ่
ผู้สูงอายุ ชีพจรจะเต้นช้าลง

สำหรับ นักกีฬา ชีพจรจะเต้นช้ากว่าปกติ แต่แรงและสม่ำเสมอ ขณะออกกำลังกาย ชีพจรจะเต้นเร็ว ภายหลังกินอาหารชีพจรจะเต้นเร็วกว่าก่อนกินอาหาร

เมื่อตกเลือด เป็นลม ช็อก ชีพจรจะเบา และถ้ามีอาการรุนแรงจะคลำชีพจรไม่ได้

การไหลเวียนเลือดผิดปกติ
ชีพจรอาจเต้นเร็ว หรือช้าผิดปกติ หรือจังหวะการเต้นไม่สม่ำเสมอ เช่น เร็วบ้างช้าบ้าง หรือบางครั้งหยุดเต้น

การจับชีพจรควรจับและนับให้เต็ม 1 นาที ว่าเต้นกี่ครั้ง

ข้อมูลสื่อ

101-011
นิตยสารหมอชาวบ้าน 101
กันยายน 2530
พยาบาลในบ้าน
ดร.จริยาวัตร คมพยัคฆ์