• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

การกดจุดรักษาไมเกรน

การกดจุดรักษาไมเกรน

ลลิดา อาชานานุภาพ   แปลและเรียบเรียงจากหนังสือ
The Acupressure Health Book   โดย Frank Bahr. M.D.

ข้อแนะนำทั่วไปก่อนกดจุด

1. นั่งหรือนอนในท่าที่สบาย มือที่จะกดจุดไม่ควรเย็น ถ้าเย็นควรทำมือให้อุ่นก่อนโดยแช่ในน้าอุ่นหรือใช้ผ้าห่อมือไว้

2. ถ้าท่านมีผิวหนังที่แพ้ง่าย อาจจะใช้โลชั่นหรือแป้งฝุ่นทาบริเวณที่จะกดจุดก่อนลงมือกดจุด

3. ระหว่างทำการกดจุด บางรายอาจจะมีเหงื่อออกมาก ควรให้พักระหว่างกดจุดได้

4. ในวันที่อากาศหนาวเย็นเมื่อกดจุดเสร็จเรียบร้อยก่อนออกไปนอกบ้านควรสวมเสื้อให้อบอุ่น

ข้อแนะนำก่อนกดจุด

1. การกดจุด หมายถึงการนวดจุดๆ นั้นโดยใช้ปลายนิ้วมือที่เล็บสั้น

2. อ่านและดูรูปที่แสดงตำแหน่งการกดจุดให้เข้าใจแล้วลองกดจุดที่อยู่บนร่างกาย สำหรับจุดที่อยู่บนหูอาจจะใช้กระจกส่องช่วยหาจุดหรือวานให้ใครคนใดคนหนึ่งดูจุดนั้นในรูปแล้วชี้ตำแน่งให้

3. เมื่อท่านกดถูกจุดๆ นั้นจะให้ความรู้สึกได้ดีกว่าบริเวณรอบๆ และควรกดจุดให้แรงพอ

4. นิ้วมือที่นิยมใช้กดจุด มักใช้นิ้วชี้ โดยให้ปลายนิ้วมือตั้งฉากกับผิวหนังและนวดไปตามทิศทางที่ลูกศรชี้ในภาพ นวด(ถู) ออกไปเป็นระยะทาง 1 นิ้ว การนวดควรนวดประมาณ 30 ครั้ง ต่อ 10 วินาที หรือ 70-100 ครั้งต่อนาที

5. จุดบนใบหูอาจจะใช้ปลายนิ้วก้อยหรือปลายดินสอ, ปากกามนๆ นวดได้ เพราะบริเวณใบหูเล็กและแคบกว่าร่างกาย

6. การกดจุดตามหลักของจีน ได้กําหนดเวลาในการกดแต่ละครั้งไว้ ดังนี้

  • เด็กอายุ 0-3 เดือน ใช้เวลากดทั้งหมด ½-3 นาที
  • เด็กอายุ 3-6 เดือน ใช้เวลากดทั้งหมด 1-4 นาที
  • เด็กอายุ 6-12 เดือน ใช้เวลากดทั้งหมด 1-5 นาที
  • เด็กอายุ 1-3 ปี ใช้เวลากดทั้งหมด 3-7 นาที
  • เด็กโตตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป ใช้เวลากดทั้งหมด 5-10-15 นาที
  • ผู้ใหญ่ ใช้เวลากดทั้งหมด 5-10-15 นาที

7. จุดที่กดบนร่างกายควรกดหรือนวดทั้ง 2 ข้างของลำตัว

8. ระยะต่างๆ ที่ใช้ในการวัด จะวัดจากความกว้างของนิ้วมือของผู้กดจุดเอง

สิ่งแรกที่คุณควรทำเมื่อเริ่มปวดศีรษะ

1. สำหรับผู้ที่รู้ตัวว่าเป็นไมเกรนซึ่งเคยให้แพทย์วินิจฉัยอาการปวดศีรษะมาแล้ว และเมื่อเริ่มมีอาการปวดศรีษะให้รีบกินยาแก้ปวดธรรมดาๆ เช่น พาราเซตามอล ตามที่แพทย์แนะนำทันที เพราะถ้าไม่รีบกิน รอให้ปวดมาก อาการปวดศีรษะของไมเกรนจะเป็นมากขึ้น เมื่อใช้พาราเซตามอล จะไม่ได้ผล และจากนั้นให้ลงมือกดจุดในตำแหน่งที่ถนัดที่สุดก่อน จุดที่จำเป็นต้องกดทุกครั้ง คือ จุดที่บริเวณปลายคิ้วใกล้ๆ กับขมับทั้งสองข้าง (การกดจุดจะช่วยให้อาการปวดศีรษะหายเร็วขึ้น)

2. ในรายที่ปวดศีรษะเป็นอยู่บ่อยๆ ท่านไม่แน่ใจว่าเป็น “ไมเกรน” หรือเปล่า ควรไปพบแพทย์ตรวจวินิจฉัยเสียก่อนว่าอาการนั้นไม่ใช่อาการของโรคร้ายอย่างอื่น เพราะอาการปวดศีรษะอาจจะเป็นอาการของโรคเนื้องอกในสมองได้

โรคไมเกรน เป็นโรคปวดศีรษะที่เกิดจากหลายสาเหตุ สำหรับการกดจุดเพื่อช่วยรักษาไมเกรนจะบอกถึงสาเหตุที่พบบ่อยๆ และกดจุดได้ง่ายๆ

1. “ไมเกรน” สาเหตุจากการเปลี่ยนแปลงของอากาศ
ตำแหน่งที่ใช้ในการกดจุด คือ จุดที่อยู่บนร่างกายและใบหู

จุดที่อยู่บนร่างกาย

1. จุด “จงจู่”(chung-chu)
วิธีหาจุด:
บริเวณหลังมือจุดจะอยู่ต่ำกระดูกข้อต่อระหว่างนิ้วนาง (นิ้วที่4) กับกระดูกฝ่ามือ ประมาณ 1 นิ้วมือ และจุดนี้จะห่างจากนิ้วก้อย 1/2 นิ้วมือ
วิธีนวด (กดจุด) :
นวดให้แรงพอในทิศทางเข้าหาข้อศอก


2. จุด “ซือจู๋คง” (szu-chu-k’ung)
วิธีหาจุด:
อยู่ปลายสุดของหางคิ้วทั้งสองข้าง
วิธีนวด:
นวดลงล่าง


3. จุด “จงก่วน” (chung-kuan)
วิธีหาจุด:
อยู่กึ่งกลางระหว่างสะดือกับปลายกระดูกลิ้นปี่
วิธีนวด (กดจุด):
นวดขึ้นบน


4. จุด “ชาเอียน”(chung-iuenn)
วิธีหาจุด:
อยู่ใต้จุด “จงก่วน” ประมาณ 3-4 นิ้วมือ
วิธีนวด:
นวดขึ้นบน


5. จุด “สั้งก่วน”(shang-kuan)
วิธีหาจุด:
อยู่จุดเหนือ “จงก่วน” ประมาณ 2 นิ้วมือ
วิธีนวด:
นวดขึ้นบน


 

จุดที่อยู่บนใบหู

 หูขวา:

1. จุดเกี่ยวกับอากาศ (the weather point)
วิธีหาจุด:
อยู่บริเวณสันหูที่โผล่ออกมาจากแอ่งหูใหญ่
วิธีนวด:
นวดขึ้นบนไปตามสันหู


2. จุดเกี่ยวกับประสาท (nerve point)

วิธีหาจุด:
อยู่ส่วนล่างสุดของแอ่งหู และบริเวณหน้าติดกับใบหู
วิธีนวด:
นวดขึ้นบน


หูซ้าย:
นวดทั้ง 2 จุด เช่นเดียวกับหูขวาแต่ทิศทางในการนวดตรงข้ามกันคือหูซ้ายนวดลงล่าง


การรักษา
ให้กดจุดที่ใบหูและจุดบนร่างกายทำสลับวัน ใช้เวลาในการนวดนาน 5-10 นาที นวดวันละ1-3 ครั้ง ขึ้นกับอาการปวดศีรษะว่าเป็นมากน้อยเพียงใด หรือเมื่อท่านเริ่มรู้สึกปวดศีรษะให้นวดจุดที่ปวดนั้นอย่างเบาๆ ด้วยนิ้วมือในทิศทางขึ้นลงและออกข้างๆ สองข้าง (คือ 4 ทิศ)

2. ไมเกรนที่มีสาเหตุจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย
คุณสุภาพสตรีบางรายอาจจะรู้สึกปวดศีรษะในระยะใกล้จะมีรอบเดือน หรือปวดในขณะมีรอบเดือนแต่ในระหว่างที่ตั้งครรภ์ อายุครรภ์ 6-8 เดือน จะไม่ปรากฏอาการของไมเกรน และจะกลับเป็นอีกครั้งเมื่อคลอดบุตรแล้ว นอกจากนี้ยาเม็ดคุมกำเนิดยังมีส่วนเสริมให้เกิดไมเกรนได้บ่อยขึ้น

ตำแหน่งที่กดจุดที่อยู่บนร่างกาย

1. จุด “เกอจูเยน” (ko-chu-jen)
วิธีหาจุด:
จุดนี้อยู่ที่ใบหน้าห่างจากหูประมาณ 2 นิ้วมือ (เมื่ออ้าปากให้กว้างเต็มที่คลำจะพบจุดนี้เป็นแอ่ง เล็กๆ อยู่หน้าหู)
วิธีนวด:
นวดขึ้นบน


2. จุด “ทงหลี่” (tung-li)
วิธีหาจุด:
อยู่ด้านข้างของแขน แนวเดียวกับนิ้วก้อย จุดจะอยู่ต่ำกว่าข้อมือประมาณ 2 นิ้วมือ
วิธีนวด:
นวดขึ้นบน


3. จุด “ซานยินเจียว” (san-yin-chiao)
วิธีหาจุด:
บริเวณข้อเท้าด้านใน จุดจะอยู่เหนือตาตุ่มด้านในประมาณ 3-4 นิ้วมือ
วิธีนวด:
นวดขึ้นบน


4. จุด “ฉี้ไห่” (chi’i-hai)
วิธีหาจุด:
จุดอยู่ต่ำกว่าสะดือประมาณ 2-3 นิ้วมือ (4-5 นิ้วมือในคนอ้วน)
วิธีนวด:
นวดขึ้นบน


5. จุด “สั้งเจียว” (shang-chiao)
วิธีหาจุด:
จุดตรงส่วนล่างของบริเวณก้นกบ
วิธีนวด:
นวดลงล่าง


จุดที่อยู่บนใบหู

หูขวา:


1. จุดสำหรับรังไข่และมดลูก
วิธีหาจุด:
อยู่ที่ขอบใบหูส่วนที่พับเข้าด้านใน
วิธีนวด:
นวดขึ้นบน


2. จุดสำหรับควบคุมฮอร์โมน
วิธีหาจุด:

อยู่ที่ส่วนล่างสุดและขอบของแอ่งหู
วิธีนวด:
นวดขึ้นบนและนวดไปด้านหลัง


หูซ้าย:
นวดเช่นเดียวกับหูขวาแต่ทิศทางตรงกันข้าม

การรักษา
กดจุดที่ใบหูและร่างกายทำสลับวัน นวดให้แรงโดยเฉพาะในระยะที่มีรอบเดือน หรือนวดก่อนที่จะมีอาการปวดศีรษะ ถ้าแพทย์สั่งการรักษาด้วยฮอร์โมน หรือเปลี่ยนชนิดของยาคุมให้ท่านๆ ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของแพทย์ การกดจุดจะช่วยเสริมการรักษาของแพทย์ให้เห็นผลเร็วยิ่งขึ้น และอาการของโรคจะไม่กำเริบมากนัก


3.ไมเกรนที่มีสาเหตุจากภาวะจิตใจซึมเศร้า
ผู้ป่วยที่มีอาการปวดศีรษะจากสาเหตุภาวะจิตใจซึมเศร้าโดยทั่วๆ ไป จะมีกาการปวดศีรษะบริเวณขมับและหน้าผาก


ตำแหน่งที่กดจุด

จุด “ไท่หยาง” (tai-yang)
วิธีหาจุด:
จุดอยู่บริเวณขมับทั้ง 2 ข้าง
วิธีนวด:

นวดขึ้นบน, ล่าง และข้างๆ ทั้ง 2 ข้าง


4. ไมเกรนที่มีสาเหตุอื่นๆ
ไมเกรนที่มีสาเหตุอื่นๆ เช่นปวดศีรษะจากใช้สายตามากเกินไป แต่อย่างไรก็ตามถ้าท่านปวดศีรษะและไม่แน่ใจหาสาเหตุไม่ได้ ท่านควรไปพบแพทย์ ให้ตรวจร่างกายเพื่อให้แน่ใจ ว่าไม่มีโรคร้ายแรงใดๆ เพราะอาการปวดศีรษะอาจจะเป็นสาเหตุของโรคเนื้องอกในสมองได้



สำหรับปวดศีรษะเนื่องจากใช้สายตามากเกินไป
ตำแหน่งกดจุด
วิธีหาจุด:
ดูตำแหน่งตามรูปประกอบ จะอยู่รอบๆ บริเวณเบ้าตา
วิธีนวด:
นวดรอบๆ บริเวณเบ้าตา ตามลูกศรที่แสดงไว้ในรูป

ข้อมูลสื่อ

73-001
นิตยสารหมอชาวบ้าน 73
พฤษภาคม 2528
ลลิตา อาชานานุภาพ
M.D.Frank Bahr