• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

เมื่อสุราร่วมมือกับบุหรี่อันตรายจะทวีแค่ไหน

เมื่อสุราร่วมมือกับบุหรี่อันตรายจะทวีแค่ไหน

ผู้ชายที่ดื่มหนักและสูบบุหรี่จัด โอกาสที่จะทำให้กำเนิดลูกที่สมบูรณ์ จะลดน้อยลงไป

ข้อความต่อไปนี้ รวบรวมจากสถาบันวิจัยเกี่ยวกับสุราและบุหรี่ในประเทศฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกา สรุปสาระได้ดังนี้

บุคคลที่สูบบุหรี่จัดขนาดวันละซองขึ้นไป และดื่มสุราขนาดปานกลาง (วันละ 500 ซีซี) เสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งหลอดอาหารสูงเป็นห้าเท่า ของคนดื่มเท่าๆ กัน แต่สูบบุหรี่ขนาดพอสมควร (วันละ 10 มวนหรือน้อยกว่า)

ถ้ายิ่งดิ่มมากขึ้นถึงวันละ 1,000 ซี.ซี. แต่บุหรี่พอสมควร เขาจะเสี่ยงมากขื้นถึง 18 เท่า

ถ้าทั้งดื่มหนักและสูบบุหรี่จัด การเสี่ยงกระโดดขึ้นไปถึง 44 เท่า

สถาบันต่างๆ เหล่านี้สรุปว่า การดื่มสุราและสูบบุหรี่มันร่ามมือส่งเสริมอันตรายให้มากขึ้น เขาใช้คำว่า Synergism (คล้ายๆ กับว่า 2+2 แทนที่จะเป็น 4 กลับเป็น 6) เขาอธิบายการร่วมมือของสองสิ่งนี้ไว้ดังนี้

เมื่อนักสูบบุหรี่จุดบุหรี่แลพสูดเข้าไปแต่ละครั้ง เขาจะดูดเอาสารเคมีประมาณ 4,000 ชนิด เข้าไปกับควันบุหรี่ด้วยสารพิษเหล่านี้ มีไฮโดรเจน-ไชยาไนต์, คาร์บอนมอนอกไชด์ และแก๊สไนโตรเจนไดออกไชด์ รวมทั้งสารเคมีอื่นๆ อีกอย่างน้อย 48 ชนิด เช่น เบนโชไพรีน โพโลเนียมกัมมันตภาพรังสี 210

สารเคมีทั้งหมดนี้ เพทย์เรียกว่า เป็นตัวกำเนิดมะเร็ง (carcinogen) ส่วนมากของไอในควันบุหรี่จะจับอยู่แถวปาก จมูก ช่องคอ และปอด เป็นผิวบางๆ ซึ่งเรียกว่า ทาร์ (tar) คือ ยางเรซิน จากใบยาสูบที่ถูกเผาไกม้นั่นเอง แล้วผู้ดื่มซึ่งมักจะกระหายบ่อยก็ดื่มเหล้าลงไป เท่ากับเป็นการล้างทาร์ที่ติดอยู่ในปากและช่องคอ

แอลกอฮอร์นั้นมิใช่ตัวกำเนิดมะเร็งก็จริง แต่มันทำหน้าที่เป็นตัวละลายทาร์และช่วยพาทาร์ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งผ่านผนังเซลล์เข้าไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย

เมื่อนักสูบบุหรี่ดื่มต่อไปอีกเขาก็จะจุดบุหรี่อีก ในขณะที่ปอดแย่อยู่แล้ว ตับของเขาก็จะเตรียมพร้อมและทำงานหนักเพื่อต่อสู้กับสุรา เราก็รู้ดีว่าอวัยวะหนัก 3 ปอนด์หรือตับของเรานี่มีหน้าที่ขจัดพิษต่างๆ ในกระแสเลือด

ตับมันจะรับแอลกอฮอล์ในฐานะสิ่งแปลกปลอม และทำลายมันให้เป็นวัตถุไร้พิษได้ถึง 95 เปอร์เซนต์ ทำให้ตับไม่มีโอกาสขจัดพิษของบุหรี่ ซึ่งมันเคยทำได้ใน 5-10 นาที กลับต้องใช้เวลาถึง 2-3 วัน

ในขณะที่ต่อสู้กับแอลกอฮอล์ ตับจะขับไขมันในเลือดไม่สมบูรณ์ ทำให้หลอดเลือดฝอยอุดตันได้ง่าย

การดูดควันบุหรี่แต่ละครั้ง จะมีคาร์บอนมอนอกไชด์เข้าไปจับกับเม็ดเลือดแดงในปอดมากกว่าออกชิเจน ถึง 240 เท่า

ถ้านักสูบบุหรี่เริ่มเป็นโรคพิษสุราเรื้อรังเขามักจะเป็นโรคตับแข็งร่วมด้วย ซึ่งจะทำให้สมองขาดออกชิเจนมากขึ้น โรคความดันโลหิตสูงก็ตามมาด้วย ซึ่งจะเป็นการเสี่ยงมากขึ้นต่อโรคหลอดเลือดในสมองแตกและโรคหัวใจ ถ้าเขายังดื่มและสูบต่อไป แต่ผู้ที่ไม่ดื่มเลยหรือผู้ที่ดื่มมากเกินไป มีการเสี่ยงติ่โรคหัวใจมากกว่าคนที่ดื่มพอสมควร

สตรีที่สูบบุหรี่และกินยาคุมกำเนิดด้วย จะทำให้เสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือดและโรคหลอดเลือดอุดตันมากขึ้น สุราจะทำให้ยาลดความดันออกฤทธิ์ลดลง คนไข้ที่กำลังรับการรักษาโรคแผลในกระเพาะและลำไส้ ถ้าสูบบุหรี่ด้วยการรักษาจะได้ผลน้อยลง

หญิงที่สูบบุหรี่จัดและดื่มมาก ทั้งสูบบุหรี่และดื่มเหล้าจะเป็นมะเร็งในปากเพิ่มขึ้นถึง 76 เปอร์เซ็นต์

สำหรับหญิงตั้งครรภ์ เลือดจะนำออกชิเจนไปให้ทารกน้อยลงไป นิโคตินและคาร์บอนมอนอกไซด์ในเลือดของแม่ จะทำให้ทารกในครรภ์รับออกชิเจนและอาหารน้อยลง

หญิงมีครรภ์ทั้งสูบบุหรี่และดื่มจะทำให้แท้งลูกง่าย และถ้าดื่มพอสมควรจะทำให้น้ำหนักตัวของเด็กขณะเกิดน้อยลง ซึ่งนำไปสู่การเป็นโรคต่างๆ ได้ง่ายขึ้น นอกจากนั้นยังทำให้เด็กเป็นโรคปัญญาอ่อนมากขึ้น และเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ร่างกายและสมองจะพัฒนาไม่ดีเท่าที่ควร

ชายอเมริกามักจะเริ่มดื่มเมื่อถึงวัยรุ่น เพราะเขามีค่านิยมว่าบุหรี่และสุราเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นชายชาตรี

หนุ่มไทยก็เชื่อเช่นเดียวกัน ว่าถ้าจะเป็นชายชาตรีต้องดื่ม, สูบบุหรี่และเที่ยวผู้หญิง ซึ่งเป็นค่านิยมที่ล้าสมัยเสียแล้ว แต่ความจริงที่นักวิทยาศาสตร์พบ คือ การดื่มจะทำให้การพัฒนาทางเพศช้าลงไป และฮอร์โมนชายลดน้อยลง

บทบาทของบุหรี่ที่เกี่ยวข้องกับตัวเชื้อเพศชาย (สเปิร์ม) ยังไม่เป็นที่ตกลงกันแน่นอน แต่เชื่อว่าจะเป็นปัจจัยอันหนึ่งที่ทำให้รูปร่างของสเปิร์มผิดแปลกไป ดังนั้นถ้าชายเราดื่มหนักและสูบบุหรี่จัด โอกาสที่จะให้กำเนิดลูกที่สมบูรณ์จะลดน้อยลงไป

เวลานี้มีประชาชนอเมริกัน (และไทยด้วย) นับล้านๆ คนที่ทั้งดื่มและสูบ แต่ยังไม่มีใครเคยเตือนเขาเลยว่า ถ้าเสพสุราและบุหรี่พร้อมๆ กันไป มันจะเกิด Synergism ดังกล่าวมาแล้วและจากประสบการณ์ของผมเองในเมืองไทย ผู้ที่ดื่มมักจะสูบด้วยถึง 90 เปอร์เซ็นต์

(จาก Jor. Amer. Med. Asso.)

ข้อมูลสื่อ

75-001
นิตยสารหมอชาวบ้าน 75
กรกฎาคม 2528
พ.ต.นพ.สุพจน์ ขวัญมิตร