• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

เมื่อสุนัข แมว หรือสัตว์ข่วนกัด

เมื่อสุนัข แมว หรือสัตว์ข่วนกัด

1. ควรฟอกล้างแผลด้วยน้ำสบู่หลายๆ ครั้งทันที

2. ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น แอลกอฮอล์ หรือยาใส่แผลชะล้าง

3. ควรจับสุนัข แมว หรือสัตว์ที่กัดข่วน ขังไว้ 10 วัน (ควรให้น้ำและอาหารตามปกติ) ถ้าสัตว์ตายภายใน 10 วัน ให้นำหัวของสัตว์ (จะเอาทั้งตัวก็ได้) ส่งไปตรวจที่สถานบริการตรวจหาเชื้อไว้รัสโรคพิษสุนัขบ้า ถ้าสัตว์เป็นโรคพิษสุนัขบ้า ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

4. ถ้าสัตว์ที่กัดสูญหายไป หรือจำตัวไม่ได้ หรือเป็นสัตว์ป่า หรือไม่แน่ใจว่าสัตว์เป็นโรคพิษสุนัขบ้าหรือไม่ ควรปรึกษาแพทย์ อาจต้องฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าไปเลย

5. ผู้ที่มีบาดแผลถูกสุนัขกัด แมว หรือสัตว์ข่วนทุกราย ควรปรึกษาแพทย์เพื่อฉีดยาป้องกันบาดทะยัก

6. ไม่ควรรักษาแผลที่ถูกสัตว์ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้ากัดด้วยสมันไพรหรือวิธีพื้นบ้าน เพราะยังพิสูจน์ไม่ได้ว่าได้ผลจริง ไม่ควรเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้ ซึ่งไม่มีทางรักษา การฉีดวัคซีนเป็นวิธีป้องกันที่ได้ผลแน่นอน

เพื่อความปลอดภัยของท่านและลูกหลาน ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้สุนัขและแมวที่เลี้ยงไว้ทุกตัว

สถานที่บริการตรวจหาเชื้อไวรัสโรคพิษสุนัขบ้า (ตรวจสุนัขบ้า)

1. สถานเสาวภา สภากาชาตไทย กทม.

2. กรมปศุสัตว์ ถนนพญาไท กทม.

3. สถาบันวิจัยไวรัส กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

4. โรงพยาบาลศิริราช กทม.

5. คณะแพทย์ศาสตร์ เชียงใหม่

6. คณะแพทย์ศาสตร์ขอนแก่น ขอนแก่น

7. สถานชันสูตรโรคสัตว์ภาคใต้ทุ่งสง นครศรีธรรมราช

8. สถานชันสูตรโรคสัตว์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ท่าพระ ขอนแก่น

9. สถานชันสูตรโรคสัตว์ภาคเหนือห้างฉัตร ลำปาง

10. ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เขต 9 สงขลา

11. ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เขต 3 นครราชสีมา

12. ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เขต 6 พิษณุโลก

13. โรงพยาบาลชลบุรี ชลบุรี

14. โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี

15. หน่วยชันสูตรสาธารณสุขเขต 5 ลำปาง

16. หน่วยชันสูตรสาธารณสุขเขต 6 นครสวรรค์

17. หน่วยชันสูตรสาธารณสุขเขต 7 สุราษฏร์ธานี

18. หน่วยชันสูตรสาธารณสุขเขต 1 สระบุรี

ข้อมูลสื่อ

76-005
นิตยสารหมอชาวบ้าน 76
สิงหาคม 2528