• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

กดจุดหยุดอาการหอบหืด

"ว้า.....ผมไม่รู้เป็นไร หอบทุกที ตอนอากาศเย็น เสียงมันดังฮี๊ดๆ ตอนหน้าร้อนก็ค่อยยังชั่วหน่อย หน้าหนาวซิ หอบแทบตายเลย"
"บอกแล้วว่าลูกแพ้ขนแมว อย่าไปเล่นกับมัน เดี๋ยวก็หอบอีกหรอก"

เรื่องหอบนั้นมีหลายชนิดบางชนิดก็ไม่ใช่หอบหืดนะครับ
อาการหอบหืดมีสาเหตุมาจากการหดแคบของหลอดลม เพราะมีการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อที่ผนังหลอดลม ทำให้อากาศผ่านเข้าออกลำบาก เกิดเสียงดังฮืดๆ หรือเสียงวี้ดๆ ก่อนหอบหืดจะมีอาการไอนำมาก่อนได้

การรักษาอาการหอบหืดนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี เช่น
1. โปรดอ่านการรักษา "หืด" โดยพิสดาร ใน "หมอชาวบ้าน" ฉบับที่ 8 ธันวาคม 2522
2. การใช้กลีบดอกลำโพงรักษา วิธีใช้ม้วนให้เป็นมวนคล้ายบุหรี่ พกติดตัวไว้เวลาเริ่มมีอาการก็หยิบขึ้นมาสูบ
3. การใช้ไส้เดือนดินรักษาวิธีใช้ ล้างให้สะอาดตากให้แห้งแล้วบดเป็นผงพกติดตัว ละลายน้ำดื่มครั้งละ 1 ช้อนชา
4. ใช้วิธีกดจุด

จุดที่กด
จุดฉ่วนสี
ตำแหน่ง อยู่ตรงด้านข้างทั้งสองของกระดูกสันหลัง ตรงกระดูกสันหลัง ตรงกระดูกสันหลังคอข้อที่ 7 กับกระดูกสันหลังอกข้อที่ 1 โดยห่างจากแนวกึ่งกลางกระดูกสันหลังออกไปด้านข้างข้างละ 1 นิ้ว (ดูรูปประกอบ)

                   

ข้อสังเกตตำแหน่งของกระดูกสันหลังส่วนคอข้อที่ 7 กับกระดูกสันหลังส่วนอก ข้อที่ 1 คือเวลาก้มหัวจะเห็นกระดูกสันหลังที่นูนที่สุด กระดูกสันหลังข้อนี้คือกระดูกสันหลังส่วนคอข้อที่ 7

วิธีกด

ใช้หัวแม่มือกดจุดทั้งสองประมาณ 2-3 นาที หรือจนอาการทุเลาลง
อย่างไรก็ตามอาการหอบหืดอาจมีสาเหตุที่ต่างกัน ส่วนใหญ่มาจากโรคภูมิแพ้ ในทรรศนะของแพทย์ตะวันตกนั้น ถือว่า วิธีที่ดีที่สุดคือ การหลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้และโดยวิธีค่อยๆ สร้างภูมิต้านทานต่อสิ่งที่แพ้

                                                  

ส่วนทรรศนะการแพทย์ตะวันออกของจีน ถือว่าโรคหืดเกิดจากไตหยางและม้ามพร่องเป็นหลักถ้ามีอาการก็รักษาอาการควบคู่ไปด้วย

(ไตและม้ามในทรรศนะแพทย์จีนนั้นแตกต่างกับทรรศนะตะวันตก เช่น ไตหยางพร่อง จะมีอาการบวม ปัสสาวะน้อย หน้าขาวซีด ฝ้าบนลิ้นขาว เป็นต้น ม้ามพร่องจะมีอาการสีหน้าซีดเหลืองผอม ไม่มีแรง ไม่เจริญอาหาร หรืออาหารไม่ย่อย บางครั้งมีอาการแน่นท้องอุจจาระหยาบ เป็นต้น)

 

ข้อมูลสื่อ

51-008
นิตยสารหมอชาวบ้าน 51
กรกฎาคม 2526
สารคดีแพทย์
วิทิต วัณนาวิบูล