• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

จับชีพจรที่คอกับข้อมือ ไหนดีกว่ากัน

มีข้อถกเถียงกันพอสมควรว่า การนับชีพจรหลังการออกำลังกายหรือเล่นกีฬา
สมควรใช้การนับชีพจรที่คอ (ชีพจรคาโรติด) หรือชีพจรที่มือ (ชีพจรเรเดียล) การนับชีพจรที่คอนั้นนับได้สะดวกกว่า เนื่องจากเป็นเส้นเลือดใหญ่แต่ข้อเสียคือ อาจเกิด "คารโรติด ไซนัส รีเฟล็กซ์" ทำให้นับชีพจรต่ำกว่าค่าปกติได้ ซึ่งอาจเป็นผลเสียในคนสูงอายุ และผู้ที่เป็นโรคหัวใจ ส่วนการนับที่ข้อมือนั้นได้ผลกว่าจริง แต่เนื่องจากเป็นเส้นเลือดเล็กกว่าการนับจึงค่อนข้างยากกว่า

การศึกษาทำให้ผู้ที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอ 20 คน เป็นชาย 12 คน เป็นหญิง 8 คน อายุ 30-40 ปี ได้ให้ออกกำลังกายบน "ลู่วิ่งสากล" (Tread mill) เป็นเวลา 3 เดือน โดยใช้ชีพจรเพิ่มจากเดิมร้อยละ 60 เมื่อหยุดการออกกำลังให้เริ่มจับชีพจรที่คอเทียบกับคลื่นหัวใจดูว่าในวันที่หนึ่ง และอีกวันหนึ่งให้จับชีพจรที่ข้อมือ เทียบกับคลื่นหัวใจดูแทน ซึ่งผลปรากฏว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (มีรายเดียวที่พบว่า ชีพจรที่ได้จากการนับที่เส้นเลือดที่คอนั้น ตำกว่าที่ได้จากคลื่นหัวใจอยู่ 5 ครั้งในเวลา 10 วินาที)

ผู้เขียนได้เน้นว่า อย่างไรก็ดี การนับชีพจรที่คอทำได้แต่ต้องระวังในผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคหัวใจอยู่ก่อนแล้ว ข้อแนะนำต่อไปนี้จะทำให้การนับชีพจรที่คอเป็นได้โดยถูกต้องยิ่งขึ้น กล่าวคือ
1. การนับเทียบกันดูระหว่างชีพจรที่คอและข้อมือ โดยนับพร้อมกัน หลังออกกำลังกาย (ใช้เพื่อนช่วยนับอีกคนหนึ่ง ป้องกันข้อผิดพลาด โดยสลับกันนับชีพจร)

                                                     

2. ถ้ามีการตรวจร่างกายด้วยเครื่องวัดคลื่นหัวใจ ควรจะให้ผู้นั้นลองนับชีพจรที่คอเทียบดูกับเครื่องวัดคลื่นหัวใจเลย ถ้าพบว่าค่าต่ำกว่าค่าที่ได้จากเครื่องควรจะเปลี่ยนการนับชีพจรโดยนับที่ข้อมือแทน และสั่งบอกบุคคลผู้นั้นให้จดจำไว้

                                                     

3. ควรได้รับการสอนการนับชีพจรที่คอที่ถูกต้องจากผู้ที่มีความรู้ตัวอย่างเช่น การนับชีพจรนี้ ไม่ควรกดลงไปบริเวณนั้นๆ แรงๆ (แค่สัมผัสโดยแผ่วเบาก็พอแล้ว)

 

ข้อมูลสื่อ

56-001-2
นิตยสารหมอชาวบ้าน 56
ธันวาคม 2526