• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

ตอนที่ 11 เดิน


การเดินนั้นนับเป็นการเริ่มต้น ก้าวแรกของการวิ่ง...ไปสู่ชีวิตใหม่ที่ดีกว่า แข็งแรงกว่า ที่ปลอดภัยที่สุด ถูกต้องตามหลักวิชาการเวชศาสตร์การกีฬามากที่สุด เรื่องป่วยน้อยที่สุด เจ็บปวดน้อยที่สุด และที่สำคัญคือเป็นการออกกำลังกายที่ง่ายที่สุด

หลังจากที่ท่านได้ให้คะแนนและรวมคะแนนตัวเองในแบบประเมินระดับความฟิตของสุขภาพใน “หมอชาวบ้าน” ฉบับที่ 66 (ฉบับที่แล้ว) หน้า 90-92 แล้ว ท่านที่ได้คะแนนไม่ถึง 10 นั้น ต้องกล้าที่จะรับความจริงว่าท่านไม่ฟิตเลย ท่านได้ปล่อยปละละเลย ไม่ได้เอาใจใส่ดูแลสุขภาพตนเองมานานแล้ว ดังนั้นจุดมุ่งหมายที่สำคัญของท่านในขณะนี้คือ การฟื้นฟูสมรรถนะของร่างกายให้ฟื้นคืนสภาพจากความกระปลกกระเปลี้ย อ่อนระโหยโรยแรงทำอะไรนิดก็เหนื่อยเพลียเสียก่อน

การเริ่มต้นออกกำลังกายด้วยการเดินนั้น ไม่ได้หมายความว่าท่านสู้คนอื่นเขาไม่ได้ ตรงกันข้าม กลับแสดงว่าท่านเป็นคนที่ซื่อสัตย์ต่อตนเอง และกล้าหาญที่จะรับความจริงโดยไม่หลอกตนเองว่า ท่านมีสุขภาพที่ยังไม่ฟิต และควรเริ่มต้นช้า ๆ ค่อยเป็นค่อยไป

คนที่เขยิบจากขั้นที่ 2 คือวิ่งเหยาะไปถึงขั้นที่ 3 คือวิ่งนั้น เขาเพียงแต่เพิ่มปริมาณในสิ่งที่เขาได้ทำอยู่แล้ว ส่วนท่านสิ น่านับถือกว่ามาก เพราะท่านนั้นเหมือนเป็นการเริ่มต้นวิถีชีวิตใหม่ทีเดียว

ความสำคัญในตอนนี้ก็คือ
ทำอย่างไรจึงจะทำให้ขาของท่านแข็งแรงขึ้น โดยไม่ให้เมื่อยหรือปวดเกินไป
ทำอย่างไรจึงจะทำให้หัวใจของท่านทำงานมากขึ้น โดยไม่ให้เหนื่อยหรือเพลียเกินไป
เพราะระยะแรกนี้เหมือนกับการวางรากฐานสำคัญสำหรับวิถีชีวิตใหม่ ของการออกกำลังกายเป็นประจำทุกวันโดยไม่เบื่อ ไม่ย่อท้อ ตรงกันข้ามกลับเต็มไปด้วยความสนุกสนาน และกระตือรือร้น
ทั้งหมดนี้ท่านสามารถจะทำได้ด้วยการ “เดิน” ตามตารางข้างล่างนี้

เดือนที่ 1 

 วันที่

 แนะนำให้

 ท่านปฎิบัติจริงๆ

1

2

3

4

5

6

7

เดิน 30 นาที*

ออกกำลังกายเพิ่มเติม**

เดิน 30 นาที

ออกกำลังกายเพิ่มเติม

เดิน 30 นาที

ออกกำลังกายเพิ่มเติม

เดิน 30 นาที 

 

 น้ำหนักตัวหลังสัปดาห์ที่ 1................กก.

8

9

10

11

12

13

14 

ออกกำลังกายเพิ่มเติม

เดิน 30 นาที

ออกกำลังกายเพิ่มเติม

เดิน 30 นาที

ออกกำลังกายเพิ่มเติม

เดิน 30 นาที 
ออกกำลังกายเพิ่มเติม

 

  น้ำหนักตัวหลังสัปดาห์ที่ 2................กก.

15

16

17

18

19

20

21

เดิน 30 นาที

ออกกำลังกายเพิ่มเติม

เดิน 30 นาที

ออกกำลังกายเพิ่มเติม

เดิน 30 นาที

ออกกำลังกายเพิ่มเติม

เดิน 30 นาที 

 

 น้ำหนักตัวหลังสัปดาห์ที่ 3................กก. 

22

23

24

25

26

27

28 

ออกกำลังกายเพิ่มเติม

เดิน 30 นาที

ออกกำลังกายเพิ่มเติม

เดิน 30 นาที

ออกกำลังกายเพิ่มเติม

เดิน 30 นาที 
ออกกำลังกายเพิ่มเติม

 

 น้ำหนักตัวหลังสัปดาห์ที่ 4................กก.

29

30

31

เดินชดเชย 30 นาที **

เดินชดเชย 30 นาที

เดินชดเชย 30 นาที

 

รวมเดือนแรกนี้จำนวนวันที่เดินทั้งหมด..............( 14 ) วัน

หากเดินไม่ครบ 14 วันต้องเดินชดเชยให้ครบในวันที่29,30 หรือ 31

สรุป เดือนแรกน้ำหนักตัว : ⇒ เพิ่มขึ้น..............กก.

                                          ⇒ ลดลง.................กก.

หมายเหตุ

*เดินในที่นี้ไม่ใช่เดินทอดน่อง แต่ให้เดินเร็วๆก้าวสม่ำเสมอจงจำไว้ว่าห้ามวิ่งเหยาะเป็นอันขาด

**การออกกำลังกายเพิ่มเติมหมายถึง ให้เคลื่อนไหวร่างกายมากขึ้นกว่ากิจวัตรปกติในวันที่ตารางไม่มีกำหนดให้เดิน เช่น เดินขึ้นบันไดที่ทำงาน แทนที่จะใช้ลิฟทืเหมือนเคย เดินออกไปซื้อของ นสพ. ปากซอยเองแทนการใช้ลูก ตัดหญ้าในสนาม ล้างรถ ฯลฯ

***เดินชดเชย 30 นาที ในวันที่ 29 ,30 หรือ31 ถ้าหากรวมวันที่เดินทั้งเดือนแล้วไม่ครบ 14 วัน 

พยายามอย่าทำให้การเริ่มต้นเดินนี้เป็นเรื่องยุ่งยากหรือวุ่นวาย ไม่ต้องมีพิธีรีตอง ไม่ต้องตระเตรียมอะไรเป็นพิเศษ ไม่ต้องซื้อเครื่องมือเครื่องใช้ใหม่อะไรทั้งสิ้น ขอเพียงแค่ให้ท่านเริ่มต้นเดินเท่านั้นก็พอ
ขอให้ท่านแบ่งเวลาเพียง 30 นาที ทุกวันเว้นวันสำหรับการเดินเพื่อสุขภาพ
จำง่าย ๆว่าวันคี่เดิน 30 นาที วันคู่ออกกำลังกายเพิ่มเติม

เหตุผลที่ให้เดินวันเว้นวัน ก็เพื่อให้มีวันพัก 1 วัน ร่างกายท่านยังไม่คุ้นเคยกับการออกกำลังกายสม่ำเสมอเป็นประจำ หากให้เดินทุกวันในระยะแรกนี้อาการปวดเมื่อยล้า กล้ามเนื้ออักเสบจะมีมากไป จนอาจทำให้ท่านท้อ เลยพาลเลิกปฏิบัติวันที่ไม่ต้องเดินจึงเป็นวันที่เปิดโอกาสให้ร่างกายท่านได้พักผ่อนจากความเมื่อยล้า จะได้พร้อมที่จะเดินอีกในวันถัดไป

สำหรับวันคี่ที่ให้เดิน 30 นาทีนั้น ขอให้เดินเร็วกว่าท่าเดินธรรมดาเล็กน้อย เดินเหมือนมีธุระจะรีบไปนั่นแหละ ด้วยฝีเท้าสม่ำเสมอ คงเส้นคงวา ตั้งแต่นาทีแรกจนนาทีที่ 30 จำไว้ว่าอย่าวัดระยะทางที่เดินได้เป็นอันขาด มุ่งแต่ที่เวลา 30 นาทีของการเดินเท่านั้น เพราะหากท่านเอาระยะทางมาเกี่ยวด้วยในตอนนี้ ท่านก็จะอดที่จะคำนวณอัตราเร็วของการเดินไม่ได้ เช่นเท่านั้นเท่านี้ต่อนาที ต่อ 1 กม. แล้วอันดับต่อไปก่อนที่ท่านจะรู้สึกตัว ท่านก็พยายามแข่งกับตัวเองเพื่อทำลายสถิติของตน ด้วยการเร่งฝีเท้าเร็วขึ้นก่อนเวลาที่ควร เพราะขั้นตอนนี้ผู้เขียนต้องการให้ท่านก้าวเดินอย่างสม่ำเสมอมั่นคง ไม่ใช้เดินจนเหนื่อยหอบตัวโยน

พยายามผนวกการเดินในวันคี่นี้ให้เข้ากับกิจวัตรประจำวันของท่านได้ยิ่งดี เช่นตื่นเช้ากว่าธรรมดาสักนิดหนึ่ง แล้วเดินสัก 30 นาที หรือลงรถเมล์ก่อนถึงที่ทำงานสัก 2 ป้าย แล้วเดินต่อไปทำงานหรือพักเที่ยงหาร้านอาหารที่ไกลที่ทำงานหน่อยเดินไป และรับประทานอาหารให้น้อยกว่าปกติเล็กน้อย เสร็จแล้วเดินกลับ พยายามจดบันทึกการออกกำลังกายลงไว้เป็นหลักฐานในตารางที่ให้ไว้นี้ทุกวัน อย่าให้ขาด เช่นว่าท่านเดินจริง ๆได้กี่นาที เดินเร็ว-ช้า อย่างไร เดินแล้วรู้สึกอย่างไร เหนื่อยไม่เหนื่อย เหงื่อออกมากน้อย อากาศอบอ้าว ร้อนหรือเย็นสบาย ฯลฯ เพราะจะได้อ้างอิงหรือตรวจสอบได้ภายหลัง
 

เป้าหมายของท่านในเดือนแรกนี้คือ
1.เดินอย่างน้อยรวมกันแล้วไม่ต่ำกว่า 14 วัน

2.เดินเร็วกว่าฝีเท้าปกติติดต่อกันอย่างน้อย 20-30 นาที ในวันคี่นั้น

3.หากท่านน้ำหนักมากเกินไปควรตั้งใจลดน้ำหนักให้ได้ 2 กก. ในเดือนแรกนี้ด้วยการควบคุมอาหารที่รับประทาน
โปรดอย่าชั่งน้ำหนักตัวทุกวัน เพราะนอกจากจะไม่มีประโยชน์อะไรแล้ว ยังทำให้เสียกำลังใจด้วย ชั่งน้ำหนัก สัปดาห์ละครั้งตามตารางที่กำหนดไว้เท่านั้น และควรจะชั่งตอนตื่นนอน (หลังขับถ่ายประจำวันแล้ว แต่ก่อนรับประทานอาหาร)

4.ทำจิตใจให้สดชื่นแจ่มใส เบิกบาน ทุกครั้งที่เดินเสร็จแล้ว
 

ขอแสดงความยินดีกับท่านด้วยที่มีความอุตสาหะพวกเพียร ปฏิบัติตามคำแนะนำจนสามารถเดินมาได้ครบ 1 เดือนเต็ม ๆ ถึงตอนนี้ท่านคงรู้สึกว่าสุขภาพดีขึ้น แข็งแรงขึ้น กระปรี้กระเปร่าขึ้นกว่าเดิมมาก ดังนั้นเดือนที่สองนี้ ท่านก็จะเลื่อนขั้นขึ้นมาพบกับโปรแกรมการเดินซึ่งเอาจริงเอาจังมากขึ้น เพื่อช่วยให้ความก้าวหน้าของท่านนั้นมั่นคงขึ้นอีก.

เดือนที่สองนี้ก็ยังเป็นการเดินอยู่ โปรดอย่าใจร้อน กระโดดข้ามขั้นไปวิ่งเหยาะหรือวิ่งเลยนะครับ เพราะแม้จะยังเป็นการเดิน แต่โปรแกรมเดินของท่านในเดือนนี้ก็เหมือนโปรแกรมวิ่งของนักวิ่งแทบทุกอย่าง แม้ว่าจะมี “วันเบา ๆ” ที่จะให้ท่านเดินเพียง 15-20 นาทีเท่านั้น แต่ในทุกสัปดาห์ก็จะมี “วันหนัก ๆ” ถึง 3 วัน ซึ่งบางครั้งท่านจะถูกกำหนดให้เดินนานถึง 60 นาที

ถึงตอนนี้ ผู้เขียนอยากแนะนำให้ท่านหาซื้อรองเท้าวิ่งโดยเฉพาะมาสักคู่หนึ่ง และเสื้อผ้าที่ใช้สวมเวลาเดินออกกำลังกาย ก็ให้บางเบาน้อยชิ้น เหมาะสมกับการเดินไกล ๆ และนานๆ
เดินเร็ว ๆ เร่งฝีเท้า เร็วกว่าเดินปกติเล็กน้อย เหมือนอย่างในเดือนแรก อย่าเดินแบบทอดน่อง หรือชนนกชมไม้ ก้าวยาว ๆ สม่ำเสมอตลอด ไม่ใช่เร่งหรือผ่อนฝีเท้าเป็นระยะ ๆ จำไว้ว่าอย่าวัดระยะทางที่เดิน ให้ดูแต่เวลาที่ใช้เดินเท่านั้น

เดือนที่ 2

 วันที่

 แนะนำให้

 ท่านปฎิบัติจริงๆ

1

2

3

4

5

6

7 

เดิน 30 นาที*

ออกกำลังกายเพิ่มเติม**

เดิน 15 นาที

เดิน 30 นาที

เดิน 15 นาที

ออกกำลังกายเพิ่มเติม

เดิน 40 นาที

 

น้ำหนักตัวหลังสัปดาห์ที่ 1.........กก.

ชีพจรขณะพัก.............................ครั้ง/นาที

8

9

10

11

12

13

14

ออกกำลังกายเพิ่มเติม

เดิน 20 นาที

เดิน 35 นาที

ออกกำลังกายเพิ่มเติม

เดิน 35 นาที
เดิน 20 นาที
เดิน 45 นาที

 

น้ำหนักตัวหลังสัปดาห์ที่ 2.........กก.

ชีพจรขณะพัก.............................ครั้ง/นาที

15

16

17

18

19

20

21 

ออกกำลังกายเพิ่มเติม

เดิน 20 นาที

เดิน 40 นาที

ออกกำลังกายเพิ่มเติม

เดิน 40 นาที
เดิน 20 นาที
เดิน 50 นาที

 

น้ำหนักตัวหลังสัปดาห์ที่ 3.........กก.

ชีพจรขณะพัก.............................ครั้ง/นาที 

22

23

24

25

26

27

28

ออกกำลังกายเพิ่มเติม

เดิน 20 นาที

เดิน 40 นาที

ออกกำลังกายเพิ่มเติม

เดิน 40 นาที
เดิน 40 นาที
เดิน 60 นาที

 

 น้ำหนักตัวหลังสัปดาห์ที่ 4.........กก.

ชีพจรขณะพัก.............................ครั้ง/นาที

29

30

31 

เดินชดเชย 30 นาที **

เดินชดเชย 30 นาที

เดินชดเชย 30 นาที  

 

รวมเดือนที่ 2 นี้จำนวนวันที่เดินทั้งหมด..............( 20 ) วัน

สรุป เดือนที่สองน้ำหนักตัว : ⇒ เพิ่มขึ้น..............กก.

                                              ⇒ ลดลง.................กก.

                     ชีพจรขณะพัก : ⇒ เพิ่มขึ้น.................ครั้ง/นาที

                                              ⇒ ลดลง....................ครั้ง/นาที

หมายเหตุ

*เดินเร็วกว่าปกติเล็กน้อย ก้าวเท้าสม่ำเสมอจำไว้ว่าห้ามวิ่งเหยาะหรือวิ่ง

**การออกกำลังกายเพิ่มเติม จากกิจวัตรประจำวัน เช่น เดิน ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ ตีกอล์ฟ
ตีแบดมินตัน ฯลฯ

***เดินชดเชย ทดแทนวันที่ขาด หากรวมวันที่เดินทั้งเดือนไม่ครบ 20 วัน

 เป้าหมายของท่านในเดือนที่สองนี้ คือ
1.ให้เป็นความเคยชินว่าจะต้องเดินออกกำลังให้ได้เกือบทุกวัน ไม่ให้น้อยกว่า 20 วันต่อเดือน และเฉลี่ยเดินวันละ 30 นาที ทุกวัน

2.ชั่งน้ำหนักทุกสัปดาห์ และบันทึกไว้ ถ้าน้ำหนักยังเกินพิกัดก็ควรลดให้ได้อีก 2 กก. ในเดือนนี้

3.จับชีพจรขณะพักสัปดาห์ละครั้ง ชีพจรขณะพักให้ถือว่าชีพจรขณะที่ไม่ได้ออกกำลังกาย อาจจับตอนตื่นนอนเช้า ก่อนลุกจากเตียง หรือ ก่อนจะออกกำลังกายก็ได้
หากอัตราการเต้นของชีพจร (ซึ่งนับเป็นจำนวนครั้งต่อนาที) ค่อย ๆลดลงก็แสดงว่าระดับความฟิตของท่านกำลังค่อย ๆ เพิ่มขึ้น

ความพยายามและความอดทนของท่านได้สัมฤทธิ์ผลแล้ว
หลังจากออกกำลังกายสม่ำเสมอด้วยการเดินมาถึง 3 เดือนเต็ม บัดนี้นอกจากน้ำหนักตัวท่านจะลดไปอย่างน้อยที่สุด 4 กิโลกรัม ท่านเองคงจะตระหนักถึงอานิสงส์ของการเดินนี้ยิ่งกว่าใคร ๆ เพราะท่านคงรู้สึกได้ดีถึงความมีชีวิตชีวา สดชื่น กระปรี้กระเปร่าในตัวท่าน
 

ในเดือนที่ 3 นี้ ท่านจะได้ก้าวหน้าจากการ “เดิน” มาเป็น “วิ่งเหยาะ” เสียแล้ว
วิ่งเหยาะ คือ การวิ่งช้า ๆ ช้ามากจนเร็วกว่าเดินนิดเดียว ไม่มีประโยชน์ในการพยายามจะวิ่งเร็ว ๆ ในตอนนี้ วิ่งเหยาะที่ถูกต้องนั้นควรจะวิ่งช้าที่สุดเท่าที่จะวิ่งช้าได้ด้วยฝีเท้าที่ท่านรู้สึกสบาย ไม่ทำให้เหนื่อยจนหอบในเวลาอันสั้น

การฝึกของท่านในเดือนนี้จะเน้นในแง่คุณภาพมากกว่าปริมาณแล้ว เช่นเวลาการฝึกในแต่ละวัน ก็ถูกลดลงมาเหลือ 30 นาที ต่อวัน แต่เน้นการวิ่งเหยาะเข้าไปสัปดาห์ละ 3 ครั้ง หรือวันเว้นวัน โดยมีวันเบา ๆ มาสลับ

ขอเตือนซ้ำอีกครั้งว่า อย่างได้วิ่ง (เร็ว) เป็นอันขาดท่านไม่มีทางจะเจ็บมากมายจากการเดินเป็นอันขาดแต่ถ้าท่านวิ่งเร็วเกินไปในขณะที่ร่างกายยังไม่ฟิต ท่านมีโอกาสจะเจ็บปวดได้มากทีเดียว
หลังวิ่งเหยาะทุกครั้ง พยายามจับชีพจรดู หากเต้นเกิน 150 ครั้ง/นาที แปลว่า ท่านยังวิ่งเหยาะเร็วเกินไปต้องช้าลงอีก

เดือนที่3 

 วันที่

  แนะนำให้

 ท่านปฎิบัติจริงๆ

1

2

3

4

5

6

7

 เดิน 30 นาที*

ออกกำลังกายเพิ่มเติม**

เดิน 30 นาที + วิ่งเหยาะ*** 1 นาที

ออกกำลังกายเพิ่มเติม

เดิน 30 นาที + วิ่งเหยาะ 1 นาที

เดิน 30 นาที

เดิน 30 นาที + (วิ่งเหยาะ 1นาทีx2 ครั้ง)

 

น้ำหนักตัวหลังสัปดาห์ที่1..................กก.

ชีพจรขณะพัก.....................ครั้ง/นาที 

8

9

10

11

12

13

14

ออกกำลังกายเพิ่มเติม

เดิน 30 นาที

เดิน 30 นาที +(วิ่งเหยาะ 1 นาทีx2ครั้ง)

ออกกำลังกายเพื่มเติม

เดิน 30 นาที + (วิ่งเหยาะ 1 นาที x2ครั้ง)

เดิน 30 นาที

เดิน 30 นาที + (วิ่งเหยาะ 1นาทีx3ครั้ง) 

 

น้ำหนักตัวหลังสัปดาห์ที่2..........กก.

ชีพจรขณะพัก.....................ครั้ง/นาที 

15

16

17

18

19

20

21

ออกกำลังกายเพิ่มเติม

เดิน 30 นาที

เดิน 30 นาที +(วิ่งเหยาะ 1 นาทีx3 ครั้ง)

ออกกำลังกายเพิ่มเติม

เดิน 30 นาที + (วิ่งเหยาะ 1 นาที x3ครั้ง)

เดิน 30 นาที

เดิน 30 นาที + (วิ่งเหยาะ 1 นาทีx4ครั้ง)

 

น้ำหนักตัวหลังสัปดาห์ที่3.............กก.

ชีพจรขณะพัก.........................ครั้ง/นาที 

22

23

24

25

26

27

28

 ออกกำลังกายเพิ่มเติม

เดิน 30 นาที

เดิน 30 นาที + (วิ่งเหยาะ 1 นาที x4ครั้ง)

ออกกำลังกายเพิ่มเติม

เดิน 30 นาที + (วิ่งเหยาะ 1 นาทีx4ครั้ง)

เดิน 30 นาที

เดิน 30 นาที + (วิ่งเหยาะ 1 นาที x5ครั้ง)

 

น้ำหนักตัวหลังสัปดาห์ที่ 4...............กก.

ชีพจรขณะพัก.................ครั้ง/นาที

29

30

31

วันชดเชย****

วันชดเชย

วันชดเชย

 

รวมเดือนที่3 จำนวนวันที่เดิน วิ่งเหยาะทั้งหมด..........(20)วัน

สรุป เดือนที่3 น้ำหนักตัว ⇒ เพิ่มขึ้น.....กก.

                                        ⇒ ลดลง..........กก.

หมายเหตุ 

*เดินเร่งฝีเท้าเร็วกว่าปกติเล็กน้อย

**ออกกำลังกายเพิ่มเติมจากกิจวัตรประจำวัน เช่น เดิน ขี่จักรยาน ว่ายน้ำฯลฯ

***อุ่นเครื่องด้วยการเดินสักพักใหญ่เสียก่อนจึงจะวิ่งเหยาะไป 1 นาทีแล้วเดินต่ออีกพักใหญ่จนหายเหนื่อยแล้วจึงวิ่งเหยาะ 1 นาทีครั้งต่อไป หลังวิ่งเหยาะ 1 นาทีครั้งสุดท้ายของแต่ละวันแล้วควรเดินต่ออีกสักครู่ใหญ่ก่อนเลิก

****วันชดเชย เพื่อทดแทนวันที่ขาด หหากรวมวันที่เดิน วิ่งเหยาะไม่ครบ 20 วัน

เป้าหมายของท่านในเดือนที่ 3 นี้ คือ 
1.เดิน + วิ่งเหยาะ รวมแล้วอย่างน้อย 12 วัน และเดินอย่างเดียวอย่างน้อย 10 วัน เฉลี่ยวันละไม่ต่ำกว่า 30 นาที

2.ค่อย ๆ เพิ่มปริมาณการวิ่งเหยาะนั้นทุกสัปดาห์ ขณะเดียวกันก็ค่อย ๆ ลดการเดินให้น้อยลง

3.ควบคุมมิให้ชีพจรหลังวิ่งเหยาะ เต้นเกิน 150 ครั้ง/นาที

4.คอยบันทึกชีพจรขณะพัก และน้ำหนักตัวอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง และหากน้ำหนักยังเกินพิกัดอยู่ก็ต้องควบคุมอาหาร

(อ่าน ตอนที่ 12 “วิ่งเหยาะ” ฉบับหน้า)
 

 

 

 

 

 

ข้อมูลสื่อ

67-011
นิตยสารหมอชาวบ้าน 67
พฤศจิกายน 2527
รศ.นพ.อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม