• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

เด็กสี่เดือนถึงห้าเดือนลักษณะของทารก (ต่อจากฉบับที่แล้ว)

                                    
 

 

 

ลักษณะของทารก

 

 

118. ลักษณะของทารกระยะ 4-5 เดือน

ถึงแม้เวลาจะผ่านไปเพียงเดือนเดียว แต่ทารกจะเจริญเติบโตและรู้เรื่องชึ้นมาก รู้จักแสดงออกเวลาดีใจหรือโกรธ เวลาไม่พอใจอะไรจะแผดเสียงร้องดังทีเดียว เวลาดีใจหรือสนุกสนาน จะส่งเสียงหัวเราะ ความแตกต่างระหว่างเด็กขี้แยร้องเก่ง กับเด็กที่เลี้ยงง่ายไม่ค่อยร้องจะเห็นชัดขึ้น


เด็กวัยนี้เวลามองดูอะไรจะไม่เพียงแต่ดูเฉยๆเดกจะพยายามจดจำด้วย เด็กเริ่มจำหน้าแม่ได้ เมื่อเริ่มจำหน้าแม่ได้ เมื่อเห็นหน้าแม่จะทำท่าทางดีใจ เด็กบางคนพอเห็นแม่เดินห่างออกไปจะร้องไห้ เด็กที่เคยร้องลั่นเมื่อถูกหมอฉีดยา คราวต่อไป เมื่อเห็นคนแต่งชุดเสื้อคลุมสีขาวเหมือนหมอจะร้องไห้ทันที


ชีวิตประจำวันของเด็กวัยนี้ยังคงถูกกำหนดด้วยการนอนเด็กจะกินได้มากหรือออกกำลังกายได้มากแค่ไหนขึ้นอยู่กับเวลานอน เด็กจะกินได้มากหรือออกกำลังกายได้มากแค่ไหนขึ้นอยูู่กับการนอน เด็กที่นอนเก่ง ตื่นเช้าตอน 8 โมง 10 โมงเช้า นอนถึงเที่ยง ตอนบ่ายนอนจากบ่าย 2 โมงถึงบ่าย 3 โมง แล้วนอนตอนเย็นอีกจาก 5 โมงถึงหนึ่งทุ่ม ตอนกลางคืนนอนรวดเดียวจาก 4 ทุ่ม ถึง 8 โมงเช้า ถ้าคุณแม่ให้นมตอน 8 โมง เที่ยง บ่าย3 หนึ่งทุ่มและ 4 ทุ่ม อาบน้ำในตอน 9 โมงกับ 4 โมงเย็น ตอนเช้า และ ตอนเย็นพาออกเที่ยวนอกบ้าน คุณแม่คงเหลือเวลาป้อนข้าวลูกเพียงมื้อเที่ยงมื้อเดียวเท่านั้น สำหรับเด็กที่นอนเก่งแบบนี้ ถ้าจะ ให้อาหารเสริมวันละ 2 มื้อ คงต้องปลุกให้ลุกขึ้นมากิน ซึ่งถ้าทำเช่นนันก็เรียกว่าไร้สติ ควรปล่อยให้เด็กนอนตามธรรมชาติของ แก เพราะถ้าฝืนปลุกให้ตื่นเด็กจะอารมณ์เสีย เด็กที่ชอบนอนเราควรปล่อยให้นอน ส่วนเด็กที่กลางวันไม่ค่อยนอน เวลาที่เด็กตื่น อยู่ คุณแม่ควรทำให้ลูกมีความสุขสนุกสนานที่สุด ควรพาออกเที่ยวนอกบ้านอย่างน้อยวันละ 3 ชั่วโมง


เมื่อคุณแม่เลี้ยงลูกมา 4 เดือนแล้ว มักจะยอมรับนิสัยในการกินของลูก ถ้าชงนมไว้ให้ตามที่เขียนไว้ข้างกระป๋อง แล้วเหลือ 20-30 ซีิิิิ.ซี. ทุกครั้งไป คุณแม่จะเลิกพยายามบังคับให้ลูกกินให้หมด เพราะไม่ได้ และคงจะ “ยอมแพ้” แต่โดยดี ส่วนคุณแม่ ที่มีลูกกินเก่ง ชงให้ตามฉลากข้างกระป๋องแล้วยังไม่พอ มักจะชงเพิ่มให้อีก บางคนคิดว่าลูกยิ่งอ้วนยิ่งดี ชงนมให้ถึงมื้อละ 250 ซี.ซี.ก็มี


เด็กในวัยนี้ไม่ควรให้นำ้หนักเพิ่มเฉลี่ยวันละ 30 กรัม เด็กที่กินนมเก่ง มักกินข้าวเก่งด้วย ถ้าให้อาหารเสริมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และปริมาณนมที่ให้แต่ละมื้อไม่ได้ลดลงนำ้หนักเด็กจะเพิ่มเกินกว่าวันละ 30 กรัม
เรื่องอาหารเสริม คุณแม่ไม่ตองรีบร้อนให้(กรุณาย้อนกลับไปอ่าน หัวข้อ 105 อาหารเสริมอีกครั้ง) สำหรับเด็กในเดือนนี้ การให้อาหารเสริมควรคิดว่าเป็นการฝึกการใช้ช้อนก็พอ เด็กที่ไม่ชอบกินนมหรือเด็กท่ีนมแม่ไม่พอ ควรให้อาหารเสริม แต่ถ้าเด็กยังกินช้อนไม่ค่อยได้ ไม่จำเป็นตองเร่งให้อาหารเสริม รอไปอีกหนึ่งเดือนก็ไม่เป็นไร


ถ้าคุณแม่พาลูกไปฉีดวัคซีนแล้ว หลังจากนั้นเด็กดูท่าทางไม่เหมือนปกติ คุณควรงดอาหารเสริมสักพัก แต่ถ้าเด็กร่าเริง กินนมได้ ก็ให้อาหารเสริมได้ตามปกติ เมื่อคุณต้องงดให้อาหารเสริมลูกหลังฉีดวัคซีนไปพักหนึ่ง เวลากลับมาให้ใหม่ ไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นจากทีละช้อนอีก เริ่มให้ใหม่ในปริมาณ 70-80% ของที่เคยให้ได้เลย


เกี่ยวกับการขับถ่ายของเด็ก กรุณาย้อนกลับไปอ่านเรื่องนี้ในหัวข้อ 102 ลักษณะของทารกระยะ 3-4 เดือน สำหรับเด็กที่ท้องผูกบ่อย พอถึงเดือนนี้เด็กคงใช้ช้อนได้เก่งแล้ว คุณแม่ให้กินนมเปรี้ยวบ้างผลไม้ครูด (เช่น กล้วย มะละกอ มะเขือเทศ ส้ม)ได้แล้วอาการคงดีขึ้น เมื่อคุณแม่เริ่มให้อาหารเสริมสีอุจจาระอาจเปลี่ยนไปมีสีดำขึ้น หรือเป็นสีน้ำตาลบ้าง


เมื่อถึงวัยนี้ เด็กบางคนจะนอนรวดเดียวตั้งแต่ 5 ทุ่มถึง 6 โมงเช้า โดยไม่ตื่นเลยและไม่ฉี่ด้วย แต่เด็กส่วนใหญ่มักฉี่ตอนกลางคืนครั้งหนึ่งแล้วตื่น คุณแม่คงลังเลว่าตอนนี้จะชงนมให้กินดีหรือไม่ ถ้าไม่ให้นมแต่อุ้มเขย่าสักพัก เด็กจะหลับ ก็ไม่ต้องให้กิน เพราะสะดวกกว่าสำหรับแม่ แต่ถ้าคุณมีนมแม่ ก็ให้เด็กดูดสักพัก เด็กจะรู้สึกอบอุ่น เดี๋ยวเดียวหลับสะบาย เด็กที่เลี้ยงด้วยนมวัว ถ้าตื่นกลางดึกแล้วไม่ได้กินนม จะไม่ค่อยยอมนอนก็ให้กินนมมื้อดึกได้ ไม่มีข้อห้ามอะไรสำหรับเด็กที่เมื่อฉี่แล้วตอนเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ จะร้องไหโยเยกวน ถ้าปล่อยให้นอนแช่ฉี่แล้วก้นไม่แดง ปล่อยให้นอนแช่อย่างนั้นดีกว่าไปกวนให้ตื่น


ตามประเพณีตะวันตก เมื่อทารกอายุได้ 4 เดือน พ่อแม่มักให้นอนแยกห้อง แต่ประเพณีไทย แม่มักนอนกับลูกจนโต โดยเฉพาะตามบ้านในชนบท มักจะนอนเรียงกันเป็นแถวทั้งครอบครัว เมื่อนอนอยู่ด้วยกัน เวลาลูกร้องเพราะฉี่เปียก แม่จะทนฟงั อยู่ไม่ได้ จำต้องลุกขึ้นไปเปลี่ยนให้ ถ้านอนแยกห้องกันแบบฝรั่ง แม่จะพยายามหัดให้ลูก เลิกกินนมเร็วๆกลางคืน จะไม่เปลี่ยน ผ้าออ้ม ให้นอนแช่ฉี่ถึงเช้า ถ้าทำเช่นนี้ได้ก็สะดวกดีสำหรับคุณแม่ไม่ต้องตื่นกลางดึก แต่เด็กบางคนถ้าปล่อยให้ฉี่ทั้งคืนก้นจะแดง


เด็กวัย 4-5 เดือนนี้ จะเคลื่อนไหวมากขึ้น ส่วนใหญ่คอจะแข็งแล้ว เมื่อได้ยินเสียงจะหันไปดู เด็กจะใช้แขนได้ดีขึ้น ส่วนใหญ่ จะเอามือใส่ปากดูด เด็กบางคนสามารถเอามือประสานกันด้านหน้าได เมื่อเด็กอายุใกล้ 5 เดือน จะพยายามคว้าของ ที่อยาก ได้ด้วยตัวเองเวลานอนควำ่ เด็กจะชูคอขึ้นสูงและถ้าให้ถือของเล่น จะฟาดของเล่นไปมา บางครั้งฟาดเอาหน้าตัวเอง จนร้องไห้


ถ้าจับให้นั่งแล้วเอาหมอนหนุนด้านหน้า เด็กจะนั่งได้ แต่ยังนั่งเองคนเดียวไม่ได้ อาจมีเด็กบางคนที่นั่งได้เร็ว นั่งเองได้สัก 2-3 นาที แต่คุณแม่ไม่จำเป็นต้องพยายามฝึกให้ลูกนั่งเวลาตื่น เด็กจะไม่ยอมอยู่นิ่ง จะพยายามพลิกตัวไปมา เด็กบางคนก็คว่ำหงายเองได้แล้ว ถ้าจับเด็กยืนบนตัก มักจะชอบถีบขากระโดดตุ๊บๆเด็กบางคนเป็นเด็กเฉยๆ ไม่ค่อยเคลื่อนไหว ถ้าลูกของคุณอายุ 4 เดือนเศษแล้วยังไม่เคลื่อนไหวออกแรง ดังที่เขียนไว้ข้าางต้น วันหนึ่งๆชอบนอนอยู่เฉยๆ ควรหัดกายบริหารให้ออกกำลังบ้าง


ถ้าคุณเห็นลูกคนอื่น ซึ่งอายุไล่เลี่ยกับลูกของคุณนั่งได้แล้ว แต่ลูกของคุณยังไม่มีท่าทีว่าจะนั่งได้เลย คุณแม่ไม่ต้องเดือด เนื้อร้อนใจถึงกับพยายามฝึกให้ลูกนั่ง นิสัยของเด็กจะแสดงออกมาให้เห็นที่การเคลื่อนไหว เด็กบางคนซนมาก แต่บางคนชอบ อยู่เฉยๆแต่ในที่สุด เด็กก็จะนั่ง ยืน เดิน ได้เหมือนกัน มาแข่งขันกันตอนนี้ ว่าใครจะทำได้เร็วกว่าเดือนสองเดือนนั้นไม่มีความ หมายอะไรเลย


เด็กอายุ 4-5 เดือน มักไม่เป็นโรคร้ายแรง เด็กที่มีเสมหะมาก เมื่ออากาศเปลี่ยนมักมีเสียงครืดคราดในหน้าอก ถ้าเด็กแข็งแรงแจ่มใสดีไม่มีไข้ และกินนมตามปกติ ก็ไม่ต้องห่วง ถ้าคุณแม่พาไปหาหมอ หมอบางคนอาจบอกว่าเป็นโรคหลอดลมอักเสบคล้ายหืด ( ดู 111 มีเสมหะ) ให้้พาไปรักษาเป็นประจำ เมื่อไปร้านหมอบ่อยๆ อาจติดโรคจากห้องรอคนไข้ได้ เด็กอายุ 4 เดือนที่เป็นโรคติดต่อ เช่น ไอกรน หรืออีสุกอีใส มักจะเป็นเพราะติดโรคจากห้องรอคนไข้บางครั้งอาจติดโรคตาแดงก็มี


เด็กวัยนี้ไม่ค่อยเป็นไข้สูง (38-39 องศา) ถ้าเป็นไข้สูง มักเป็นเพราะเป็นโรคหูอักเสบ โดยเฉพาะในกรณีที่ตอนกลางคืนร้องกวนไม่ยอมนอน ให้นึกถึงโรคหูก่อนอื่นเมื่อเด็กเคลื่อนไหวมากขึ้น คุณแม่ต้องระวังอุบัติเหตุตกเตียง ซึ่งจะเกิดบ่อยขึ้นตามอายุของเด็ก


(อ่านต่อฉบับหน้า)


 

ข้อมูลสื่อ

26-008
นิตยสารหมอชาวบ้าน 26
มิถุนายน 2524