อาหาร

  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 198 ตุลาคม 2538
    ผักขม : ความขมที่เป็นทั้งผักและยา“ยามรัก น้ำต้มผักก็ว่าหวาน”ข้อความที่ยกมาข้างต้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของคำพังเพยเก่าแก่ที่ชาวไทยในอดีตคุ้นเคยกันทั่วไป มีความหมายว่า เมื่อขณะมีความรักกันนั้น คนรัก (หรือสามี-ภรรยา) ทำอะไรให้ก็ดีไปหมด เช่น น้ำต้มผัก (ซึ่งมีรสขม) ก็รู้สึกว่ามีรสหวาน เป็นต้นจากคำพังเพยบทนี้ หากพิจารณาให้ดีจะพบว่า คนไทยในอดีตคุ้นเคยกับความหมายของน้ำต้มผักเป็นอย่างดีว่ามีรสขม ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 198 ตุลาคม 2538
    โรคเกาต์ กับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ผมต้องเดินทางไปประชุมที่เมืองวอชิงตันดีซี เมืองหลวงของประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นเวลานานกว่า 10 วัน สภาพดินฟ้าอากาศในช่วงนั้นมีฝนตกทุกวัน ค่อนข้างขึ้นและร้อนอบอ้าว อยู่แต่ในห้องปรับอากาศ เหงื่อไม่ค่อยออก อาหารการกินแพงมากเมื่อเทียบกับเมืองไทย จึงต้องวนเวียนและเข้ากินอาหารประเภทฟาสฟู้ด เบอร์เกอร์ ทั้ง ๆ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 197 กันยายน 2538
    ข้าวกล้องเพื่อสุขภาพการที่จะมีสุขภาพดีในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวนั้นมี 5 เรื่องหลัก ๆ คือ(1) การออกกำลังกาย(2) การเจริญสติ(3) การกินอาหารที่เหมาะสม(4) การเว้นสิ่งที่ควรเว้น(5) การทำประโยชน์เพื่อผู้อื่นอาหารที่เหมาะกับสุขภาพอย่างหนึ่งคือข้าวกล้อง ข้าวกล้องนอกจากจะมีโปรตีน มีไขมัน และมีวิตามินแล้ว ยังทำให้ท้องไม่ผูกคนปัจจุบันกินอาหารที่ละเอียด มีกากน้อย มีเส้นใยน้อย ทำให้ท้องผูก ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 197 กันยายน 2538
    ข้าว : แม่โพสพของขนขาวไทย“ทรัพย์เสมอด้วยข้าวเปลือก ย่อมไม่มี”ข้อความที่ยกมาข้างต้นนี้ เป็นพระพุทธพจน์ที่ทรงความหมาย อันคงทนต่อการพิสูจน์มากว่าสองพันห้าร้อยปีแล้ว และคงเป็นความจริงต่อไปอีกนานในอนาคต แม้ว่าโลกจะเปลี่ยนแปลง มนุษย์จะก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพียงใดก็ตามประมาณครึ่งหนึ่งของมนุษย์บนโลกนี้บริโภคข้าวเป็นอาหารหลักอยู่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะชาวทวีปเอเชียส่วนใหญ่ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 197 กันยายน 2538
    ความดันเลือดสูงข้อน่ารู้1.หัวใจของคนเราทำหน้าที่สูบฉีดเลือดให้ไหลเวียนอยู่ในหลอดเลือดทั่วร่างกาย ทำให้เกิดแรงดันขึ้นภายในหลอดเลือดแดง ซึ่งสามารถใช้เครื่องวัดความดัน ทำการตรวจวัดไม่ได้ โดยนิยมวัดที่บริเวณต้นแขน และมีหน่วยของค่าความดันเป็น “มิลลิเมตรปรอท”ความดันเลือดมีค่าที่วัดได้ 2 ค่า ได้แก่ ความดันช่วงบน(หรือความดันซิสโตลี) ซึ่งเป็นค่าความดันเลือดที่วัดได้ขณะหัวใจบีบตัว ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 197 กันยายน 2538
    วูบ (ตอนที่ 3)เรื่องราวต่าง ๆ ทางการแพทย์ มีมากมาย หลายคน ดูว่ายุ่งยากซับซ้อน หรือถูกทำให้ดูยุ่งยากสับสน จนไม่อยากแตะต้อง “สิ่งละอันพันละน้อย” จะนำเรื่องเหล่านี้ มาทำให้อ่านง่าย เข้าใจง่าย เพื่อจะได้เป็นประโยชน์ ในวงกว้างต่อไปคนไข้รายที่ 2 : เป็นอาจารย์ในโรงเรียนแพทย์แห่งหนึ่ง ขณะกำลังยืนสอนนักเรียนแพทย์และแพทย์ประจำบ้านอยู่ข้างเตียงคนไข้ ก็เกิดอาการ “วูบ” ล้มลง ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 197 กันยายน 2538
    ข้าว สารอาหาร มากกว่า 15 ชนิดปัจจุบันการตื่นตัวของผู้บริโภคในการกินอาหารที่มีคุณค่าเริ่มมากขึ้น แต่หลายท่านมักมองไปในรูปของอาหารเสริม หรือวิตามิน และมักละเลยสิ่งที่ใกล้ตัว“หมอชาวบ้าน” ฉบับนี้ได้นำเรื่อง “ข้าวกล้องสารอาหารกว่า 15 ชนิด” มาเสนอ เหตุเพราะเรากินกินข้าวกันทุกวัน หลายคนคิดว่าการกินข้าวจะได้เพียงแป้งหรือสารอาหารคาร์โบไฮเดรต ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 196 สิงหาคม 2538
    ไข้รูมาติก ข้อน่ารู้1.ไข้รูมาติก เป็นชื่อโรคชนิดหนึ่ง ที่แปลมาจากคำภาษาอังกฤษว่า rheumatic fever เป็นโรคที่มีมาแต่ดั้งเดิม หากแต่ไม่มีชื่อเรียกแบบไทย ๆ จึงจำต้องคล้อยตามชื่อสากล เฉกเช่นชื่อโรคอื่น ๆ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 196 สิงหาคม 2538
    วูบ (ตอนที่ 2)เรื่องราวต่าง ๆ ทางการแพทย์มีมากมาย หลายคนดูว่ายุ่งยากซับซ้อนหรือถูกทำให้ดูยุ่งยากสับสนจนไม่อยากแตะต้อง “สิ่งละอันพันละน้อย” จะนำเรื่องเหล่านี้มาทำให้อ่านง่ายเข้าใจง่ายเพื่อจะได้เป็นประโยชน์ในวงกว้างต่อไป“วูบ” ในคนไข้รายแรกนี้จึงเป็นอาการวูบที่เกิดจาก “ภาวะความดันเลือดตกเมื่อเปลี่ยนท่า"(orthos-tatic hypotension) ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 196 สิงหาคม 2538
    ผักกระเฉด ผักพื้นบ้านที่รู้จักนอนผักพื้นบ้านดั้งเดิมของไทยหลายชนิด แพร่หลายและได้รับความนิยมจากชาวไทยทั่วประเทศ มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น แต่ชื่อที่นิยมเรียกกันบางชื่อมีความหมายได้หลายอย่าง และบางความหมายไม่ค่อยสุภาพหรือไม่น่าฟัง จึงถูกตั้งชื่อใหม่ให้ใช้เรียกหรือเขียนอย่างเป็นทางการ ( เช่นเป็นราชาศัพท์ ) ผักพื้นบ้านที่อยู่ในข่ายดังกล่าวมานี้มีหลายชนิด เช่น ผักบุ้ง ( ...