การพักผ่อน

  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 272 ธันวาคม 2544
    “เห็นดงรักริมคลอง ทั้งสองฟาก ยิ่งรักมากมัวจิตพิศวง...”ข้อความข้างบนนี้คัดมาจากนิราศพระแท่นดงรัง ซึ่งเชื่อกันว่าแต่งโดยเสมียนมี (หมื่นพรหมสมพักสร) ในสมัยรัชกาลที่3 กว่าร้อยปีมาแล้วจากข้อความเพียง2 บรรทัดนี้ บอกเล่าถึงสภาพชนบทสองฟากคลองในสมัยโน้น ซึ่งรกร้างว่างเปล่า มีต้นรักขึ้นอยู่ตามธรรมชาติมาก ยิ่งทำให้ความรักเพิ่มมากขึ้น ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 272 ธันวาคม 2544
    ในฉบับก่อนได้พูดถึงเขตการหายใจรอบตัวแต่ละคน เช่น โต๊ะทำงาน โต๊ะคอมพิวเตอร์ ที่นอน ซึ่งถ้าได้มีการนำไม้ประดับกระถางเล็กๆ ตั้งไว้ ก็จะช่วยฟอกอากาศบริเวณรอบตัวให้สะอาดและปลอดภัยซึ่งเราสามารถนำหลักการนี้มาใช้ในบริเวณที่ใหญ่ขึ้น เช่น ห้องทำงาน ห้องนอน บ้านทั้งหลัง หรือทั้งบ้านได้ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 271 พฤศจิกายน 2544
    “ โรคมาก รากโมกต้มกินหาย ”ข้อความที่ยกมาข้างบนนี้ เชื่อกันว่าเป็น “ ปฎิภาณกวี ” ของท่านมหากวีสุนทรภู่ ซึ่งท่านใช้บาทแรกของโคลงสี่สุภาพนี้ ตอบปัญหาที่มีผู้มาปรึกษาว่า มีโรคหลายโรครบเร้าอยู่ ทำอย่างไรจึงจะหายไม่ว่าตำนานเรื่องนี้จะจริงหรือไม่ก็ตาม แต่ข้อความที่ยกมาข้างต้นก็แสดงถึงภูมิปัญญาและความเป็นคน “เจ้าบทเจ้ากลอน ” ของไทยอย่างชัดเจน โดยเฉพาะการใช้คำผวน ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 270 ตุลาคม 2544
    ...ดอกเอย เจ้าดอกขจร นกขมิ้นเหลืองอ่อน ค่ำแล้วจะนอนที่ไหนเอย...ข้อความข้างบนนี้เป็นส่วนหนึ่งของเพลง “ นกขมิ้น ” ซึ่งเป็นไทยสากลที่มีความไพเราะ มีทำนองไปทางหวานปนเศร้า นับเป็นเพลงที่คนไทยรู้จักกันดีและได้รับความนิยมมากเพลงหนึ่ง สันนิษฐานว่าเพลง“ นกขมิ้น ” นี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากเพลงกล่อมเด็กดั้งเดิมแถบภาคกลางของไทย ชื่อ“ นกขมิ้น ” ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 271 ตุลาคม 2544
    หากจะพูดว่าการนอนหลับมีส่วนสำคัญที่จะกำหนดคุณภาพชีวิตของเรา หรือนัยว่าเรานอนอย่างไร เหมือนกับที่พูดว่าเรากินอะไรเราก็เป็นอย่างนั้น ( you are what you eat ) ก็คงไม่ผิดนักถ้าเรานอนหลับสนิทและนานพอเหมาะ เราจะตื่นขึ้นมาด้วยความสดชื่นแจ่มใส กระปรี้กระเปร่า ความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าทั้งร่างกายและจิตใจจะหมดไป ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 269 กันยายน 2544
    ตามปกติเมื่อผู้เขียนได้พบเห็นหรือสัมผัส ดอกไม้ที่มีรูปทรง สีสันงดงาม หรือมีกลิ่นหอมก็จะเกิดความปีติยินดี หรือชื่นใจกับรูปทรง สีสัน กลิ่นหอมที่ได้รับในขณะนั้น (ปัจจุบัน) หรือบางครั้งอาจระลึกถึงความทรงจำเกี่ยวกับดอกไม้ชนิดนั้น (อดีต) ที่ก่อให้เกิดความประทับใจฝังแน่นอยู่ในจิตสำนึกระดับต่างๆ อันเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและซับซ้อนยิ่ง เพราะเป็นเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกและจิตใจ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 269 กันยายน 2544
    ต้นไม้จะปล่อยสารเคมีธรรมชาติ ที่ช่วยหยุดยั้งการเจริญเติบโต ของสปอร์เชื้อราและแบคทีเรียที่อยู่ในอากาศ การวิจัยเร็วๆ นี้ พบว่าในห้องที่มีต้นไม้จะพบสปอร์เชื้อราและแบคทีเรียน้อยกว่าในห้องที่ไม่มีต้นไม้ถึงร้อยละ50 เชื่อว่าต้นไม้จะปล่อยสารเคมีธรรมชาติออกมา เพื่อปกป้องตัวเองจากการทำลายของจุลินทรีย์ในอากาศ ออมเงิน ออมทอง (Syngonium) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Syngonium podophyllum อยู่ในตระกูล Araceae ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 268 สิงหาคม 2544
    ค่ำคืนหนึ่งของเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ผู้เขียนยืนอยู่บนชานบ้านทรงไทยของมูลนิธิฯ ซึ่งล้อมรอบด้วยต้นไม้นานาชนิด ขณะกำลังเพลินฟังเสียงจักจั่น และมองหาว่าดังมาจากต้นไม้ต้นไหนอยู่นั้น ลมอ่อนๆ ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราวก็พากลิ่นหอมสดชื่นมาให้ชื่นชมอยู่ชั่วครู่ แล้วค่อยจางหาย ตามทิศทางลมที่เปลี่ยนไป ทำให้เกิดปัญหาที่น่ารักข้อใหม่ขึ้นอีกว่า กลิ่นหอมนั้นมาจากต้นไม้ชนิดใด ซึ่งปัญหาข้อนี้ตอบได้ไม่ง่ายนัก ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 268 สิงหาคม 2544
    ไอระเหยจากร่างกายของมนุษย์มีมากถึง150 ชนิด แต่ชนิดที่พบมาก โดยเฉพาะในห้องเรียน ห้องประชุมที่หนาแน่นด้วยผู้คน ได้แก่ เอทิลแอลกอฮอล์ อาซิโทน เมทิลแอลกอฮอล์ เอทิลอซิเตท ไอระเหย เหล่านี้ถ้าอยู่ในที่โล่งหรือห้องที่มีการไหลเวียนของอากาศก็จะไม่มีปัญหา แต่ถ้าอยู่ในห้องอับทึบติดระบบปรับอากาศ จะเกิดไอระเหยสะสมจนมีอันตรายต่อสุขภาพต้นไม้แต่ละชนิดมีความสามารถในการขจัดไอระเหยเหล่านี้ได้ดี แตกต่างกันไป ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 267 กรกฎาคม 2544
    บ้านเกิดของผู้เขียนเป็นบ้านไม้หลังใหญ่ ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำท่าจีน หันหน้าบ้านไปทางแม่น้ำ จากประตูด้านหน้าบ้านมีระเบียงยื่นออกไป จนถึงตลิ่ง แล้วจึงมีบันไดทอดลงไปถึงสะพานไม้เชื่อมกับแพที่ลอย อยู่ในแม่น้ำ การคมนาคมทางไกลในสมัย40 กว่าปีก่อนโน้นอาศัย ทางน้ำเป็นหลัก ท่าน้ำหรือแพหน้าบ้านจึงเป็นท่าเรือจอดรับส่งของ แทบทุกบ้านที่ปลูกเรียงรายอยู่ตาม2 ฝั่งแม่น้ำ ...