• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

ริมฝีปากออกร้อน

ริมฝีปากออกร้อน

 นาคร/ชัยภูมิ : ผู้ถาม
ปัจจุบันผมอายุ ๖๘ ปี มีอาการริมฝีปากออกร้อน ร้อนไปถึงลิ้น จมูก บางครั้งร้อนมากๆ ร้อนไปถึงเบ้าตา ไปหาทั้งหมอจีน (แมะ) กินยาต้ม และหมอแผนปัจจุบันก็ไม่หาย เป็นมานานประ-มาณเวลา ๕-๖ ปีแล้ว ทุกวันนี้ต้องอาศัยยาฟ้าทะลายโจร แต่ก็บรรเทาไปได้ ๒-๓ วันก็เป็นอีก
ปกติผมดื่มน้ำวันละ ๑๔-๑๕ แก้ว จำพวกสุรา บุหรี่ ไม่แตะต้องครับ และของทอดไม่ค่อย ได้กินเท่าไร ท้องก็ไม่ผูกคุณหมอพอจะมีวิธีช่วยเหลือ ผมได้หรือไม่ ขอความกรุณาคุณหมอช่วยตอบด้วยนะครับ
 

 นพ.ภาสกิจ วัณนาวิบูล : ผู้ตอบ
อาการร้อนที่ริมฝีปาก ลิ้น จมูก บางทีถึงที่ตา จะบอกว่ามีไฟ ในร่างกาย คือ ไฟของอวัยวะต่างๆ ม้ามกระเพาะอาหาร (ปาก) หัวใจ (ลิ้น) ปอด (จมูก) ตับ (ตา) ไฟชนิดนี้ต้องแยกแยะว่าเป็นไฟที่เกิดจากภาวะแกร่ง หมายถึง เป็น เพราะปัจจัยก่อโรคมีมาก เช่น จาก ภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง อาหาร ความชื้น เสมหะ การอุดกั้นของพลังและเลือดภายในร่างกาย ทำ ให้เกิดความร้อนขึ้น ซึ่งชีพจรและ ลิ้นจะมีส่วนช่วยการวินิจฉัยร่วมกับการซักประวัติ

ส่วนภาวะพร่องมักเกิดจากภาวะเสียสมดุลของร่างกาย โดยเฉพาะการสูญเสียยิน หรือเกิดภาวะ ยินพร่อง มักมีสาเหตุสำคัญจากหลายปัจจัย (การสูญเสียน้ำหลังไข้สูง ไข้เรื้อรังนานๆ ความเครียด เรื้อรังสะสม การเสียสารจิงในร่างกาย พื้นฐานที่กรรมพันธุ์ของแต่ละคน การนอนหลับไม่เพียงพอ เรื้อรัง เป็นต้น) ผลการที่ยินพร่อง ทำให้หยางของร่างกายไม่ถูกดึงรั้ง ไว้ มีความร้อนของอวัยวะต่างๆ ทำให้สะท้อนออกมาที่ทวารต่างๆ ของร่างกาย (หู ตา จมูก ปาก ลิ้น)

ในกรณีของคุณเนื่องจากเรื้อรัง และไม่มีอาการอื่นเห็นได้ชัด ถ้าตรวจพบชีพจรเล็ก เร็ว ลิ้น แดงไม่มีฝ้าหรือฝ้าน้อย น่าจะคิดถึง ภาวะจากยินพร่องเป็นหลัก ต้องใช้หลักการรักษาคือ ขับไฟบำรุงยิน การใช้ยาสมุนไพรจีน ต้องดูว่าจะใช้ยาขับความร้อนมากน้อยแค่ไหน หรือเติมสารยินในระดับไหน (ระดับกระดูก เลือด ระดับชี่) ตำรับยามีหลายขนานตามความรุนแรง
เช่น  (ชิงเฮา-  ปี้เจียทาง),   (จือ-ป้อตี้หวงหวาน),(ลิ่นเว้ยตี้หวงหวาน),(ต้าปู่ยินหวาน)
การใช้ฟ้าทะลายโจร อาจทุเลาอาการได้บ้าง แต่ไม่หายขาด และถ้าใช้ระยะยาวอาจเป็นโทษ เพราะยาฟ้าทะลายโจรมีคุณสมบัติ เย็น รสขม จะทำให้มีความแห้งเกิดขึ้น ทำให้ภาวะยินพร่องเป็นมากขึ้น จำเป็นต้องใช้ยาบำรุงยิน เป็นหลักร่วมกับยาขับพิษร้อนที่ไม่ทำลายยิน
ปัญหาสำคัญคือ ต้องตรวจร่างกายให้การวินิจฉัยที่ถูกต้องก่อนจึงจะทราบแนวทางรักษาที่ถูกต้องแน่นอน