แกงจืดผักหวาน เป็นอาหารอีกชนิดหนึ่งที่นิยมกินทั้งเด็กและผู้ใหญ่
ผักหวานเป็นผักพื้นบ้านที่คนไทยรู้จักกันมานาน มีผลงานวิจัยออกมาว่ามีสารต้านอนุมูลอิสระสูง มีบีตาแคโรทีน มีวิตามินเอ วิตามินซี แคลเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม และเส้นใยอาหารสูง รวมทั้งมีคุณค่าทางโภชนาการ และเป็นแหล่งสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ผู้เขียนอยากนำเสนอแกงจืดผักหวานให้สมาชิกได้ทดลองทำกินค่ะ
แกงจืดผักหวานสำหรับกิน ๑ คน
ส่วนผสมหมูสับ | กรัม | ตวง |
หมูสับ | ๓๕ | ๒ ช้อนโต๊ะ |
รากผักชี | ๑.๕ |
๑/๔ ช้อนชา |
กระเทียม | ๑.๕ | ๑/๔ ช้อนชา |
พริกไทยขาวป่น | ๐.๓ | ๑/๘ ช้อนชา |
น้ำตาลทราย | ๑ | ๑/๒ ช้อนชา |
ซีอิ๊วขาว | ๓ | ๑ ช้อนชา |
ส่วนผสมในแกงจืด
หมูสับหมักแล้ว |
|
|
ผักหวานส่วนยอดและใบอ่อน | ๖๕ | ๒ ถ้วย |
เต้าหู้ไข่ | ๓๐ | ๑/๔ ถ้วย |
แครอต | ๑๕ | ๑ ๑/๒ ช้อนโต๊ะ |
น้ำซุปไก่ | ๓๕๐ | ๑ ๑/๒ ถ้วย |
เกลือ | ๑.๕ | ๓/๔ ช้อนชา |
ซีอิ๊วขาว | ๘ | ๑ ช้อนชา |
น้ำตาลทราย | ๓ | ๑ ๑/๒ ช้อนชา |
คุณค่าทางโภชนาการต่อ ๑ หน่วยบริโภค*
อาหาร | พลังงาน (กิโลแคลอรี) | โปรตีน (กรัม) | ไขมัน (กรัม) | คาร์โบไฮเดรต (กรัม) | เส้นใยอาหาร (กรัม) | แคลเซียม (มิลลิกรัม) | เหล็ก (มิลลิกรัม) | วิตามินซี (มิลลิกรัม) | บีตาแคโรทีน (ไมโครกรัม) |
แกงจืดผักหวาน | ๑๕๑ | ๘.๙ | ๗.๓ | ๑๒.๗ | ๒.๘ | ๗๕ | ๑.๒ | ๕๑.๙ | ๗๒๖ |
ข้าวสวย ๑ จาน (๓ ทัพพี) | ๒๔๐ | ๔.๑ | ๐.๕ | ๕๔.๕ | ๐.๕ | ๑๔ | ๐.๕ | - | - |
ข้าวสวย + แกงจืดผักหวาน | ๓๙๑ | ๑๓.๐ | ๗.๘ | ๖๗.๒ | ๓.๓ | ๘๙ | ๑.๗ | ๕๑.๙ | ๗๒๖ |
การกระจายพลังงาน (ร้อยละ) |
| ๑๓.๓ | ๑๗.๙ | ๖๘.๘ |
|
|
|
|
|
*คำนวณโดยใช้โปรแกรม INMUCAL ของสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
คุณค่าโภชนาการของแกงจืดผักหวานเมื่อกินกับข้าวสวย ๑ จาน ให้พลังงานเพียง ๓๙๑ กิโลแคลอรี ซึ่งให้พลังงานประมาณ ๑ ใน ๔ สำหรับผู้ที่ต้องการพลังงานวันละ ๑,๖๐๐ กิโลแคลอรี ได้แก่ เด็ก หญิงวัยทำงาน และผู้สูงอายุ อาหารจานนี้มีการกระจายพลังงานค่อนข้างดี ให้ไขมันน้อย คิดเป็นประมาณร้อยละ ๑๓ ของปริมาณที่แนะนำให้กินใน ๑ วันเท่านั้น (แนะนำเฉลี่ยวันละ ๖๐ กรัม) และให้โปรตีนค่อนข้างดี คิดเป็นร้อยละ ๒๖ (แนะนำเฉลี่ยวันละ ๕๐กรัม) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโปรตีนที่มาจากเนื้อหมู
ดังนั้น ถ้าเพิ่มปริมาณเนื้อหมูให้มากขึ้น เช่นจาก ๓๕ กรัมเป็น ๕๐ กรัม จะทำให้ได้ปริมาณโปรตีนเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งได้พลังงานเพิ่มขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม ถ้าใช้หมูสับที่เป็นเนื้อหมูติดมัน จะทำให้ได้ไขมันเพิ่มตามมา จึงควรเลือกใช้เนื้อหมูไม่ติดมันจะดีกว่า
เมื่อดูคุณค่าโภชนาการอื่นๆ พบว่า แกงจืดผักหวานพร้อมข้าวสวยให้เส้นใยอาหารค่อนข้างดี คิดเป็นประมาณร้อยละ ๑๓ ของปริมาณที่แนะนำให้กินใน ๑ วัน (แนะนำวันละ ๒๕ กรัม) ให้แคลเซียมและเหล็กพอใช้
โดยให้แคลเซียมและเหล็กคิดเป็นร้อยละ ๑๑ ของปริมาณที่แนะนำให้กินใน ๑ วัน (แนะนำแคลเซียมวันละ ๘๐๐ มิลลิกรัม และเหล็กวันละ ๑๕ มิลลิกรัม) อย่างไรก็ตาม แคลเซียมและเหล็กที่มีอยู่ในพืชผัก จะมีการดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ไม่มากนัก โดยเฉพาะเหล็กในพืชผักจะมีการดูดซึมได้เพียงร้อยละ ๓-๕ เท่านั้น
นอกจากนี้ แกงจืดผักหวานยังเป็นแหล่งที่ดีของวิตามินซีและบีตาแคโรทีน ซึ่งหน้าที่อย่างหนึ่งของสารอาหารทั้ง ๒ ชนิดนี้ คือการทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยกำจัดอนุมูลอิสระต่างๆ ออกจากร่างกาย ซึ่งอนุมูลอิสระอาจมาจากกระบวนการทางชีวเคมีของการทำงานของร่างกายเอง หรืออาจมาจากสิ่งแวดล้อมต่างๆ รอบตัวเรา เช่น สารพิษจากควันท่อไอเสีย ควันบุหรี่ รังสียูวีจากแสงแดด เป็นต้น โดยแกงจืดผักหวานให้วิตามินซีร้อยละ ๘๖ ของปริมาณที่แนะนำให้กินใน ๑ วัน (แนะนำ ๖๐ มิลลิกรัม) และให้บีตาแคโรทีน ๗๒๖ ไมโครกรัมต่อ ๑ หน่วยบริโภค
อย่างไรก็ตาม ทั้งวิตามินซีและบีตาแคโรทีน ซึ่งมีอยู่ในผักหวานและแครอตอาจถูกทำลายไปบ้างจากความร้อนในการต้ม ดั้งนั้น เพื่อรักษาคุณค่าทางโภชนาการ จึงไม่ควรใช้เวลาในการต้มผักนานเกินไปและควรกินทันทีหลังปรุงเสร็จใหม่ๆ
- อ่าน 27,911 ครั้ง
- พิมพ์หน้านี้