• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

มื้อนี้ได้อะไร

แคลเซียม : อย่ามองแต่ตัวเลข
ปัจจุบันมีการเผยแพร่ให้เข้าใจว่า ควรพิจารณาเลือกกินอาหารที่มีปริมาณแคลเซียมมาก

                     

จากตารางแสดงปริมาณแคลเซียม จึงทำให้ประชาชนส่วนหนึ่งอาจเกิดความเข้าใจผิด จากตารางแสดงให้เห็นถึงปริมาณแร่ธาตุแคลเซียมในอาหารหลายชนิด เมื่อเทียบน้ำหนักที่ เท่ากันคือ ๑๐๐ กรัม (ช่องที่ ๒) และในที่นี้แสดงให้เห็นถึงปริมาณของอาหารที่คนส่วนใหญ่บริโภคจริงในแต่ละครั้ง และได้คำนวณค่าแคลเซียมที่จะได้รับจากการบริโภคอาหารนั้นๆ ในแต่ละครั้ง (ช่องที่ ๓) จะเห็นว่า แม้ว่าปริมาณแคลเซียม ต่อ ๑๐๐ กรัมของอาหารบางชนิดจะมีค่อนข้างสูง แต่ในความเป็นจริงแล้ว เราต้องพิจารณาว่าอาหาร ต่างๆเหล่านั้นมีการบริโภคต่อครั้งมากน้อยเพียงใดด้วย จึงจะได้ข้อมูลที่เป็นจริง

ตัวอย่างเช่น จะเห็นว่าในกะปิมีแคลเซียมสูงถึง ๑,๕๖๕ มิลลิกรัมต่อ ๑๐๐ กรัม ถ้าดูผิวเผิน หลายคนอาจด่วนสรุปว่าเราหันมาบริโภคกะปิเพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุนกันดีไหม แต่ในความจริงแล้ว ปริมาณของกะปิที่เราบริโภคแต่ละครั้งแต่ละคนจะอยู่ประมาณ ๑ ช้อนชา ซึ่งจะมีแคลเซียมประมาณ ๘๐ มิลลิกรัม ขณะที่ดื่มนม ๑ แก้ว ได้แคลเซียมประมาณ ๓๐๐ มิลลิกรัม
สำหรับแคลเซียมที่มีในงา ถั่วเมล็ดแห้ง และผักใบเขียว ในพืช ผักมีสารไฟเตทที่ผิวของเมล็ดและธัญพืชที่สามารถขัดขวางการดูดซึมแร่ธาตุแคลเซียมอยู่ เราจึงได้รับแคลเซียมน้อยกว่าปริมาณที่มีในอาหารนั้นจริงๆ

แหล่งอาหารที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งคือ เต้าหู้ขาว ซึ่งในกระบวนการทำเต้าหู้มีการเติมเกลือแคลเซียมซัลเฟตลงไป ก็เป็นแหล่งอาหารที่มีแคลเซียมสูงแหล่งหนึ่ง แต่ถ้าเป็นน้ำเต้าหู้หรือนมถั่วเหลืองจะมีปริมาณแคลเซียมน้อย จึงไม่ใช่แหล่งอาหารที่ดี อ่านมาถึงตรงนี้เราคงต้องเดินสายกลาง อาหารการกินก็เช่นเดียวกัน คงต้องบริโภคให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย บริโภคมากเกินไปหรือน้อยเกินไปล้วนเป็นผลเสียกับสุขภาพ

ข้อมูลสื่อ

233-003
นิตยสารหมอชาวบ้าน 233
กันยายน 2541
เรารักสุขภาพ
รศ.ดร.ประไพศรี ศิริจักรวาล