• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

หัวใจของ(ผู้ฝึกทำ)โยคะ (๓)

หัวใจของ(ผู้ฝึกทำ)โยคะ (๓)


การศึกษาเป็นจำนวนมาก ทั้งทางด้านกายภาพและด้านจิตวิทยา สามารถบ่งบอกถึงบุคลิกของคนที่มีแนวโน้มจะเป็นโรคหัวใจ หมอวิลเลี่ยม ออสเลอร์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโรคหัวใจกล่าวว่า คนโผงผาง ใจร้อน หรือที่เรียกกันว่าคนประเภท A  มักเป็นโรคหัวใจได้ง่ายกว่าคนประเภท B ซึ่งมักเป็นคนสงบเสงี่ยม นุ่มนวล

บุคลิกคนประเภท A
ก้าวร้าว เจ้ากี้เจ้าการ ชอบแข่งขัน ไม่อดทน ฯลฯ ลักษณะนิสัยภายนอกที่มักพบเห็น เช่น พูดเร็ว มีวิถีชีวิตที่เร่งรีบ ชอบความท้าทาย และการแข่งขัน

บุคลิกคนประเภท B
เป็นคนติดดิน ไม่ชอบแข่งขัน อดทน สำรวม ลักษณะนิสัยภายนอกที่มักพบเห็น เช่น มีวิถีชีวิตที่สงบ มีความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสังคมได้ดี อารมณ์มั่นคง
 

ท่าโยคะเพื่อการดูแลใจ (และหัวใจ) ของเรา
"ท่าพนมมือ" (Stihaprarthana Asana)

วิธีทำ ยืนตรง ส้นเท้าชิดกัน หลับตา พนมมือไว้ที่ทรวงอก สวดมนต์อยู่ในใจ หรืออาจใช้วิธีนึกถึงสิ่งต่างๆ ที่ทำให้เรามีความสุขสงบ หรืออาจแผ่เมตตา คงนิ่งอยู่ในท่าประมาณ ๕-๗ นาที

ประโยชน์ที่ได้รับ ความสงบใจ การมีสมาธิจดจ่ออยู่กับสิ่งหนึ่งสิ่งเดียว

ท่าพนมมือ แม้ดูเป็นเพียงอาสนะง่ายๆ หากแต่สร้างความรู้สึกอ่อนน้อมถ่อมตน ซึ่งช่วยผ่อนคลายความยึดมั่นถือมั่นในตนเอง นอกจากนั้น ยังเป็นการแสดงความเคารพ อันสามารถขจัดความกลัวออกจากใจของเราได้ด้วย

ข้อมูลสื่อ

252-005
นิตยสารหมอชาวบ้าน 252
เมษายน 2543
โยคะ
กวี คงภักดีพงษ์