ผู้หญิงที่กินอาหารมีแป้งมากแต่กากใยน้อย เสี่ยงต่อการเป็นเบาหวาน
ผลการศึกษาวิจัย พบว่า ผู้หญิงวัยกลางคน ที่กินขนมปังขาว มันฝรั่ง และอาหารจำพวกที่มีแป้งและน้ำตาลมากนั้นมีโอกาสที่จะเป็นโรคเบาหวาน จากผลการวิจัยในกลุ่มพยาบาลจำนวน ๖๕,๑๗๓ คนในระยะเวลา ๖ ปีที่รายงานในนิตยสาร American Medical Association ได้กล่าวว่า “โอกาสเสี่ยงนี้ จะยิ่งสูงขึ้นในผู้ที่ไม่ค่อยจะกินอาหารที่มีกากใย” ทีมงานวิจัยนี้นำโดย Dr. Jorge Salmeron แห่งคณะสาธารณสุข มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด การศึกษาเกี่ยวกับโรคเบาหวานชนิดที่ ๒ (Type II diabetes) ซึ่งมักเกิดกับผู้ที่มีอายุ ๔๐ ปีขึ้นไป เพราะระบบการทำงานของผู้ที่มีอายุ ๔๐ ปีขึ้นไปนั้น มีการต่อต่านสารอินซูลินซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีความจำเป็นในการจัดการกับน้ำตาลในเลือดและตับอ่อนซึ่งเป็นอวัยวะที่ผลิตอินซูลินก็อาจจะสูญเสียประสิทธิภาพในการผลิต
อาหารที่มีสารอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลมากนั้นเป็นสิ่งที่ส่งเสริมให้มีน้ำตาลในเลือดสูง นักวิจัยอธิบายถึงทฤษฏีการเกิดเบาหวานนี้ว่า ตับอ่อนอาจจะล้าเนื่องจากทำงานหนัก
อาหารที่ให้น้ำตาลสูง ได้แก่
- ขนมปังชนิดขาว
- มันฝรั่งบด
- เครื่องดื่มประเภทโคลา
อาหารที่ให้น้ำตาลดำ ได้แก่
- ขนมปังชนิดน้ำตาลไม่ฟอก
- ผักบรอกเคอรี่
- เนยถั่ว
ผู้หญิงที่บริโภคคาร์โบไฮเดรตสูงที่สุดมีโอกาสที่จะเป็นเบาหวานได้มากกว่าผู้หญิงที่บริโภคต่ำที่สุด
๑ เท่าครึ่ง ผู้หญิงที่กินอาหารที่มีเส้นใยน้อยที่สุดและกินคาร์โบไฮเดรตมากที่สุดมีโอกาสเสี่ยงเป็น ๒.๕ เท่าของผู้หญิงซึ่งกินอาหารเส้นใยมากและคาร์โบไฮเดรตน้อยที่สุด โรคเบาหวานสามารถก่อให้เกิดโรคหัวใจ ความเสียหายต่อระบบประสาทและตาบอด เบาหวานชนิดที่ ๒ เป็นชนิดที่มีความรุนแรงน้อยที่สุดและโดยปกติแล้วสามารถควบคุมได้ด้วยการควบคุมอาหารและการกินยา
น้ำองุ่นกับโรคหัวใจ
การศึกษาพบว่า การดื่มน้ำองุ่นวันละ ๒๔๐-๓๐๐ มิลลิลิตร (๑ แก้วเศษๆ) ต่อวัน มีผลอย่างมากต่อเม็ดเลือดที่เรียกว่า เกล็ดเลือด ทำให้เกล็ดเลือดเหล่านี้ไปจับตัวเป็นลิ่ม (ซึ่งจะนำไปสู่โรคหัวใจ) น้อยลง ในความเป็นจริงแล้ว น้ำองุ่นอาจมีผลมากกว่ายาแอสไพริน ซึ่งได้รับการแนะนำอย่างแพร่หลายว่า ช่วยป้องกันอาการหัวใจวาย
การศึกษานี้นำโดย WDR. John Folts แห่งมหาวิทยาลัย Wisconsin Medical School Folts ให้ข้อสังเกตว่า องุ่นสีม่วงให้ผลดีกว่าองุ่นสีขาว หัวใจวายเกิดจากลิ่มเลือดจับกับไขมันที่ผนังหลอดเลือดแดงที่เลี้ยงหัวใจ ทำให้กระแสเลือดอุดตัน เมื่อประมาณ ๒ ทศวรรษที่แล้ว Folts เป็นหนึ่งในคนกลุ่มแรกที่แสดงให้เห็นว่า แอสไพรินมีผลดีต่อหัวใจ เพราะจะไปชะลอการจับตัวเป็นลิ่มของเกล็ดเลือด และในขณะนี้ เขากำลังศึกษาคุณสมบัติที่ต่อต้านการจับตัวเป็นลิ่มของเลือดของสารอาหารธรรมชาติที่ชื่อฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) ซึ่งพบในอาหารหลายๆ ชนิด รวมทั้งองุ่น
- อ่าน 4,125 ครั้ง
- พิมพ์หน้านี้