ปฏิสนธิชีวิตใหม่ การเจริญเติบโตของตัวอ่อน (ต่อ)
8 วัน
นี่ก็ปาเข้าไปตั้งวันที่ 8 ของการเกิดปฏิสนธิแล้ว อะไรๆ ในมดลูกก็เปลี่ยนแปลงไปมากโขทีเดียว ถึงตอนนี้ตัวอ่อนบลาสโตซิสต์ (Blastocyst) หาที่ซุกตัวเพื่อรอการเจริญเติบโตต่อไปได้แล้ว และเพื่อให้การยึดเกาะแหล่งพำนักพักพิงในมดลูกเป็นไปได้โดยสะดวกยิ่งขึ้น ธรรมชาติจึงสร้างให้เจ้าตัวอ่อนนี้มีโครงสร้างที่มีลักษณะคล้ายขายื่นออกมาทำหน้าที่เกาะผนังมดลูกไว้
ตัวอ่อนของบลาสโตซิสต์ในช่วงนี้เริ่มผลิตฮอร์โมน เพื่อกระตุ้นเตือนให้รังไข่ผลิตฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนและฮอร์โมนอื่นๆ จากนั้นฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะส่งต่อข้อมูลไปยังต่อมใต้สมองให้ทราบว่ากำลังตั้งท้องและหยุดกระบวนการผลิตระดู ในเวลาเดียวกันตัวอ่อนบลาสโตซิสต์ซึ่งขณะนี้มีอยู่หลายร้อยเซลล์ ก็จะทำการแพร่กระจายสารเคมีบางอย่างเพื่อไปขัดขวางการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในมดลูก เพราะมิฉะนั้นแล้วร่างกายของผู้เป็นแม่อาจจะเข้าใจผิดคิดว่ากลไกร่างกายและเกิดการทำลาย
ดังเช่นที่เมื่อเร็วๆ นี้ นักวิจัยได้ตั้งข้อสมมติฐานว่า ผู้หญิงบางกลุ่มที่แท้งบ่อยๆ สาเหตุอย่างหนึ่งเป็นเพราะพวกเธอมีระบบภูมิคุ้มกันที่บกพร่องนั่นเอง ครั้นเมื่อฮอร์โมนในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นแล้วนั้น คุณแม่อาจจะมีสัญชาตญาณบางอย่างที่บอกให้รู้ว่าเธอกำลังตั้งครรภ์ก่อนที่ระดูในเดือนแรกของเธอจะหายไปเสียอีก
- อ่าน 7,485 ครั้ง
พิมพ์หน้านี้