ไข้รูมาติก
ข้อน่ารู้
1. ไข้รูมาติก เป็นชื่อโรคชนิดหนึ่ง ที่แปลมาจากคำภาษาอังกฤษว่า rheumatic fever เป็นโรคที่มีมาแต่ดั้งเดิม หากแต่ไม่มีชื่อเรียกแบบไทย ๆ จึงจำต้องคล้อยตามชื่อสากล เฉกเช่นชื่อโรคอื่น ๆ อีกมากมาย
2. โรคนี้เป็นผลแทรกซ้อนจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า เบตาสเตรปโตค็อกคัสในลำคอ ทำให้เกิดอาการคออักเสบ หรือต่อมทอนซิลอักเสบเป็นหนอง (มีไข้สูงและเจ็บคอมาก) กล่าวคือ ผู้ที่มีการอักเสบในลำคอจากเชื้อโรคตัวนี้ หากมิได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ได้แก่ การกินยาปฏิชีวนะให้ครบ 10 วันเป็นอย่างน้อย ถึงแม้อาการเจ็บคอจะทุเลาไปแล้ว แต่เชื้อโรคตัวนี้จะกระตุ้นให้ร่างกายมีปฏิกิริยาตอบโต้ ก่อให้ เกิดการอักเสบของอวัยวะต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ ข้ออักเสบ และหัวใจอักเสบ
ที่สำคัญคือ ถ้าหากมีการอักเสบของหัวใจ และปล่อยปละละเลยนาน ๆ ก็จะทำให้ลิ้นหัวใจรั่วหรือตีบ หัวใจ ทำหน้าที่สูบฉีดไม่ได้เต็มที่ คนไข้ต้องทนทุกข์ทรมานจากอาการเหนื่อย หอบง่าย หรือหัวใจวายเรื้อรังได้ ความพิการของหัวใจที่เกิดจากไข้รูมาติกนี้ มีชื่อเรียกเฉพาะว่า “โรคหัวใจรูมาติก"
(rheumatic heart disease) ซึ่งต้องใช้ยารักษาตลอดชีวิต บางรายอาจต้องลงเอยด้วยการผ่าตัดหัวใจ ซึ่งเป็นวิธีการที่ยุ่งยากและสิ้นเปลือง
3. คนที่เป็นคออักเสบหรือต่อมทอนซิลอักเสบจากเชื้อโรคดังกล่าวง หากมิได้รับการรักษาอย่างถูก-ต้อง เช่น กินยาชุด หรือกินยาปฏิชีวนะ เพียงไม่กี่วัน มีโอกาสเกิดใช้รูมาติก แทรกซ้อนประมาณร้อยละ 0.3-3
โรคนี้พบมากในเด็กอายุ 5-15 ปีโดยเฉพาะอย่างยิ่งในครอบครัวที่มีฐานะยากจนหรืออยู่กันอย่างแออัด
4. ไข้รูมาติก แม้เป็นโรคร้ายแรงแต่ก็สามารถป้องกันได้ง่าย ๆ กล่าวคือ เมื่อเป็นโรคคออักเสบหรือต่อมทอนซิลอักเสบเป็นหนอง ควรกินยาปฏิชีวนะ เช่น เพนิซิลลินวี, อะม็อกซีซิลลิน หรืออีริโทรมัยซิน อย่างน้อย 10 วัน
คนทั่วไปมักเข้าใจผิดว่าเมื่อกินยาเพียง 2-3 วัน อาการไข้และเจ็บคอทุเลาลงแล้ว ก็คิดว่าหายดีแล้วจึงหยุดยา หรืออาจกินต่ออีก 2-3 วันซึ่งไม่เพียงพอในการป้องกันมิให้เกิดไข้รูมาติกแทรกซ้อนตามมา
รู้ได้อย่างไรว่าไม่ได้เป็น
คนที่เป็นไข้รูมาติกจะมีอาการตัวร้อน และปวดบวมแดงร้อนตามข้อใหญ่ ๆ เช่น ข้อเท้า ข้อเข่า ข้อมือ ข้อศอก ซึ่งมักจะเป็นมากกว่าหนึ่งข้อ โดยเริ่มปวดที่ข้อหนึ่งก่อน เมื่อข้อนี้เริ่มทุเลาก็จะย้ายไปปวดอีกข้อหนึ่ง อาการปวดข้อและข้อบวมจะเป็นรุนแรงจนเคลื่อนไหวหรือลุกเดินลำบาก บางคนอาจเป็นเรื้อรังนานเป็นแรมเดือน
บางคนอาจมีอาการไข้และเจ็บคอ หรือต่อมทอนซิลอักเสบนำมาก่อน อาการปวดข้อประมาณ 1-4สัปดาห์ บางคนอาจไม่มีประวัติเจ็บคอมาก่อนก็ได้
ผู้ป่วยมักมีการอักเสบของหัวใจร่วมด้วย ถ้าเป็นไม่มากอาจไม่มีอาการผิดปกติ แต่ถ้าเป็นมากจะมีอาการเหนื่อยหอบ ใจสั่น ร่วมด้วย
บางคนอาจมีอาการผื่นแดงหรือขึ้นเป็นตุ่มแข็งตามผิวหนัง หรืออาจมีอาการแขนขาเคลื่อนไหวขยึกขยือ หรือปัดแกว่งโดยไม่ได้ตั้งใจ
อาการข้ออักเสบดังกล่าวข้างต้น อาจเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น
1. ข้อแพลงหรือกระดูกหัก จะมีประวัติได้รับบาดเจ็บ เช่น หกล้ม รถชน เป็นต้น
2. ข้ออักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรียอื่น ๆ จะมีไข้และปวดข้อ คล้ายไข้รูมาติกมาก แต่มักจะเป็น
อยู่เพียง 1-2 ข้อ
3. เกาต์ มีอาการอักเสบรุนแรงที่ข้อหัวแม่เท้า ข้อเท้า หรือข้อเข่าเพียง 1-2 ข้อ มักพบในวัยกลาง-
คนขึ้นไป อาการจะกำเริบหลังดื่มเหล้า กินเลี้ยง หรือกินเครื่องในหรือเนื้อสัตว์มาก ๆ
อย่างไรก็ดาม ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใด ๆ ก็ควรได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง มิเช่นนั้นอาจมีภาวะ-
แทรกซ้อนร้ายแรงได้ ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์โดยเร็ว
เมื่อไรควรไปพบแพทย์
ผู้ที่มีอาการปวดข้อและข้อบวมแดงร้อนทุกราย ควรไปพบแพทย์ ภายใน 24 ชั่วโมง
แพทย์จะทำอะไรให้
แพทย์จะสืบค้นสาเหตุด้วยการตรวจเลือด เอกซเรย์ ตรวจคลื่นหัวใจ หรือทำการตรวจพิเศษอื่น ๆ
หากพบว่าเป็นไข้รูมาติกจะรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าพบว่ามีการอักเสบของหัวใจร่วมด้วย ก็จำเป็นต้องดูแลอย่างใกล้ชิด จนกว่าจะปลอดภัย ซึ่งอาจต้องอยู่โรงพยาบาลนานเป็นแรมเดือน
เมื่อหายดีแล้ว แพทย์จะนัดคนไข้มาตรวจรักษาเป็นประจำ โดยจะให้ยาปฏิชีวนะติดต่อกันเป็นระยะยาว เพื่อป้องกันมิให้ลิ้นหัวใจพิการจนกลายเป็นโรคหัวใจรูมาติก วิธีที่สะดวกคือ ฉีดยาเบนซาทีนแพนิซิลลิน
ให้เดือนละครั้ง
ในรายที่ให้ความร่วมมือดี อาจให้กินยาเพนิซิลลินวี เช้าเม็ดเย็นเม็ดทุกวัน แทนยาฉีดข้างต้น
สำหรับคนที่มีการอักเสบของหัวใจร่วมด้วย จะต้องใช้ยาปฏิชีวนะนี้ไปตลอดชีวิต
ส่วนผู้ที่ไม่มีการอักเสบของหัวใจ ควรใช้ยาปฏิชีวนะอย่างน้อย 5 ปี (เด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี จะต้องให้ยาจนกระทั่งอายุ 15 ปี เป็นอย่างน้อย)
โดยสรุป ใช้รูมาติกเป็นผลแทรกซ้อนจากโรคติดเชื้อเบตาสเตรปโตค็อกคัสในลำคอ ซึ่งทำให้กลายเป็นโรคลิ้นหัวใจพิการหรือโรคหัวใจรูมาติกได้ จัดเป็นโรคร้ายแรง แต่สามารถป้องกันด้วยการรักษาโรคคออักเสบ หรือต่อมทอนซิลอักเสบจากเชื้อดังกล่าว โดยการกินยาปฏิชีวนะ ให้ครบ 10 วันเป็นอย่างน้อย
การดูแลตนเอง |
เมื่อมีอาการปวดข้อ ข้อบวมแดงร้อน ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กอายุ 5-15 ปี ที่อยู่ ๆ ก็มีอาการใช้ร่วมกับปวดข้อตามข้อใหญ่ ๆ โดยไม่มีประวัติได้รับบาดเจ็บมาก่อน อาจมีโอกาสเป็นไข้รูมาติกได้
เมื่อทราบวาเป็นไข้รูมาติก ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลจนปลอดภัย และแพทย์ให้กลับบ้านได้แล้ว ก็ควรกินยาและติดตามรักษากับแพทย์ตามนัด อย่าหยุดยาเอง ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้โรคกำเริบซ้ำ จนกลายเป็นโรคหัวใจรูมาติกในภายหลังได้
คนไข้และญาติควรศึกษาให้เข้าใจในโรคนี้อย่างถ่องแท้ จะได้มีความมุ่งมั่นและมีกำลังใจในการรักษาตัวเป็นระยะยาวนาน
- อ่าน 21,706 ครั้ง
- พิมพ์หน้านี้