รู้ตัวอยู่กับการเคลื่อนไหว : ศิลปะแห่งความสุข/ของฝากจากอเมริกา (ตอนที่ 4)
ในช่วงเดือนสิงหาคม 2538 ผู้เขียนได้มีโอกาสเดินทางไปประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดา เพื่อร่วมประชุมสัมมนานานาชาติ (3rd World Congress of Medical Acupuncture and Natural Medicine) ซึ่งจัดโดย “มูลนิธิการแพทย์ ธรรมชาติแห่งโลก” (World Natural Medicine Foundation) ที่เมืองเอดมอนตัน ประเทศแคนาดา และได้แวะดูงานทางด้านเวชศาสตร์ ครอบครัวที่เมืองซีแอตเติล สหรัฐอเมริกา ได้รับความรู้ ประสบการณ์ และแง่คิดต่าง ๆ จึงขอบันทึกไว้ในคอลัมน์นี้ เริ่มลงตอนที่1 ตั้งแต่ฉบับตุลาคม 2538 |
“ผมฝึกฉี้กงอยู่ประจำ มาประชุมคราวนี้ก็หวังจะได้เรียนรู้มากขึ้น หลักสูตรแพทย์ต้องสอนให้นัก ศึกษาแพทย์รู้จักฝึกหัดต้องสอนให้นักศึกษาแพทย์รู้จักฝึกหัดในเรื่องเหล่านี้ จะได้ทั้งสุขภาพกาย สุขภาพจิต และทำงานมีความสุขขึ้น”
ชายเจ้าของคำพูดนี้เป็นแพทย์แผนปัจจุบันสาขารังสีวิทยา วัย 40 เศษ จากรุงโซล เกาหลีใต้ ผู้หันมาสนใจในเรื่องธรรมชาติบำบัด และใช้เงินส่วนตัวเดินทางร่วมประชุมในครั้งนี้
ดังได้กล่าวไว้ในตอนที่แล้วว่า การฝึกฉี้กงหรือพลังชีวิตนั้นเป็นการผสมผสานการบริหารกาย–ลมหาย-จิต-ใจ ทั้ง 3 ด้านพร้อมๆ กันไปด้วยการเคลื่อนไหวท่าต่าง ๆ ประกอบกับการผ่อนลมหายใจ ถ้าออกตามจังหวะและสร้างศานติภายในจิตใจ นั่นก็คือ การเคลื่อนไหวอย่างมีสตินั่นเอง
คุณหมอซ่งเทียนปิน ครูสอนวิชาฉี้กง จากปักกิ่ง ดังที่ได้กล่าวถึงเมื่อตอนที่แล้ว ได้บรรยายและสาธิตท่าบริหารขั้นพื้นฐาน (ดูข้อความในกรอบ 1)
การฝึกฉี้กงขั้นพื้นฐาน
ต่อไปใช้มือ 2 ข้าง นวดบริเวณท้ายทอยขึ้นลง 36 ครั้งแล้วบริหารคอ โดยท่าก้ม-เงย 9 ครั้ง ก้มไปทางซ้าย-ขวา 9 ครั้ง และหันศีรษะไปทางซ้าย-ขวา 9 ครั้ง |
ผู้เขียนได้ลองทำดูก็รู้สึกเพลิดเพลิน เข้าใจว่าเป็นอุบายสร้างจังหวะ การเคลื่อนไหวให้เกิดสติรู้ โดยไม่เปิดโอกาสให้ความคิดอย่างอื่นเข้าแทรก
การฝึกฉี้กงมีทั้งหมด 500 แบบ ที่ผู้ที่เขียนได้เรียนรู้นี้เป็นเพียงขั้นพื้นฐานเบื้องต้น เท่านั้น
เคยเห็นที่สวนลุมพินีและสวนจตุจักรมีการฝึกในท่าที่ซับซ้อน ท่านที่สนใจในเรื่องนี้ลองไปฝึกจากครูที่สวนสาธารณะเหล่านี้ดูก็ได้
ในการประชุมครั้งนี้ ยังมีห้องที่สาธิตเกี่ยวกับการฝึกโยคะและการหายใจโดยครูจากเนปาล การฝึกสมาธิแบบทีเอ็มจากสำนักมหาฤษี (maharishi) ซึ่งโด่งดังในโลกตะวันตก การถ่ายทอดพลังจักรวาล (Reiki) โดยแพทย์แคนาดา การเจริญสติ แบบเฟลเตนไครส์ (Felden krais) โดยครูฝึกชาวแคนาดา เป็นต้น
ผู้เขียนได้เลือกทดลอง หาประสบการณ์จาก 2 ห้องหลัง ซึ่งดูจะเป็นเรื่องที่แปลกใหม่ ไม่เคยทราบมาก่อน
เรื่องของพลังจักรวาล (Reiki) เป็นการรักษาโรค ที่ค้นพบโดยหมอญี่ปุ่น ชื่อ มิคาโอะ อูซิอิ เมื่อ 100 กว่าปีมาแล้ว โดยเชื่อว่าผู้ที่ฝึกฝนสมาธิจนมีพลังจิตแก่กล้า จะสามารถรับพลังจักรวาลเข้าสู่ร่างกายโดยผ่านเข้าทางศีรษะ พลังนี้จะช่วยปรับดุลในร่างกาย เป็นการส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรง และช่วยในการรักษาโรคต่าง ๆ ได้ นอกจากนี้ยังสามารถถ่ายทอดพลังนี้ออกทางฝ่ามือ ส่งทอดให้คนอื่นได้อีกด้วย
ในห้องสาธิต หมอหรือครูฝึกได้ให้ผู้สนใจรับพลังนั่งบนเก้าอี้ บางคนก็ให้นอนบนเตียง หลับตา ทำใจนิ่งสงบ หายใจเข้า-ออกช้า ๆ แล้วหมอก็เข้าประกบผู้รับพลังพลังเป็นคู่ ๆ ใช้ฝ่ามือ 2 ข้าง แตะประกบตรงหน้าผากและท้ายทอยของผู้รับพลัง สัก 5-10 นาที จนรู้สึกว่าฝ่ามือของหมอผู้ส่งพลังออกร้อน ต่อมาก็ขยับฝ่ามือมาแตะที่หน้าอก หน้าท้อง หัวเข่า ตามลำดับ วางอยู่แห่งละ 5-10 นาที รวมเวลาทั้งสิ้น ประมาณ 20-30 นาที
ผู้เขียนได้ทดลองรับถ่ายทอดพลังจากครูฝึกคนหนึ่ง ซึ่งมีอาชีพเป็นพยาบาล ก็รู้สึกสงบและผ่อนคลาย
แพทย์หญิงมาเรียน เทย์เลอร์ ชาวแคนาดา หัวหน้าคณะครูฝึกพลังจักรวาล ได้บรรยายว่า วิธีนี้ เป็นการช่วยให้ผู้รับพลังได้ใช้สมองซีกขวาในการเจริญสติ (การรู้ตัว) และผ่อนคลาย ซึ่งจะทำให้ร่างกายหลั่งสารสุข (เอ็นดอร์ฟีน) และเพิ่มพลังต้านทานโรค
เธอย้ำว่าในการรักษาโรคจะต้องผสมผสานส่วนดีของการแพทย์ทุกระบบ เช่น ถ้าเป็นโรคที่จำเป็น ต้องผ่าตัด ฉายรังสี หรือให้ยา ก็ให้ปฏิบัติตามที่แพทย์แนะนำ ขณะเดียวกันก็เสริมด้วยวิธีการตามแบบตะวันออกควบคู่กันไป
ส่วนการเจริญสติแบบเฟลเดนไครส์นั้นค้นพบโดยนักฟิสิกส์และครูสอนยูโด ชาวยิว ชื่อ ดร.โมเซ่ เฟลเดนไครส์ โดยได้คิดค้นท่าบริหารที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเองต่างหาก ในคราวนี้วิทยากรได้สอนท่าบริหารหลังส่วนล่าง (ดูข้อความในกรอบ 2) ซึ่งก็ให้ความเพลิดเพลินได้ดีเช่นกัน
สิ่งที่ได้เรียนรู้ก็คือ วิธีการต่าง ๆ ที่มีผู้คิดค้นขึ้นนี้ล้วนมีจุดที่ร่วมกัน คือ เป็นอุบายในการสร้างความรู้ตัวหรือเจริญสติ ส่วนใครจะชอบหรือถนัดวิธีใด ก็คงขึ้นกับจริตของแต่ละคน
อย่างไรก็ตาม การเจริญสติควรสอดแทรกอยู่ในอิริยาบถในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะนั่ง นอน ยืน เดิน หายใจ วิ่งออกกำลังกาย ทำงาน ทำกับข้าว กินข้าว เคียวอาหาร ดื่มน้ำ กวาดบ้าน ถูบ้าน ล้างจาน อาบน้ำ ฯลฯ ก็สามารถสร้างความรู้ตัวในการเคลื่อนไหวหรืออิริยาบถนั้น ๆ ได้ ทุกอย่างทุกแห่งและทุกเวลา
หากปฏิบัติได้เป็นนิจ ก็ย่อมเกิดความสุข ดังโคลงพุทธภาษิตของท่านพุทธทาสที่ว่า
สวรรค์ พลันสฤษฎ์ด้วย ความพอใจเฮย
ใน ขณะหน้าที่ใด เผด็จแล้ว
ทุก ถิ่นทุกกาลไหน ทุกชนิด แลนา
อิริยาบถ สดใสแผ้ว เพียบด้วยดวงธรรม
การเจริญสติแบบเฟลเดนไคร์ส |
- อ่าน 5,155 ครั้ง
- พิมพ์หน้านี้