ยากลางบ้าน
1 แก้ไอ ใช้มะนาวผ่าซีก โรยเกลือป่น ปล่อยให้ละลายบางส่วน แหงนคอ อ้าปาก บีบให้น้ำมะนาวไหลลงคอ
2 แก้ไอ เอาขี้ได้ชิ้นเล็ก ๆ จุดให้ติดไฟเป็นควัน เอามะนาวผ่าซีกรมควันให้ติดดำที่ด้านหน้า (ที่ฝานไว้) โรยเกลือป่น แล้วบีบให้น้ำมะนาวไหลลงคอ
3 แก้ไอ เคี้ยวลูกมะแว้งสด ๆ ห้าหกลูก กลืนแต่ส่วนน้ำ จนหมดขม (ขับเสมหะ) กากบ้วนทิ้ง
4 ปวดศีรษะ ฝานมะนาวเป็นซีกบาง ๆ (หนาประมาณ 6 มม.) เอาปูนกินกับหมาก(ปูนแดง) ละเลงบนด้านหน้า (ด้านที่ฝาน) บาง ๆ กดให้ดูดติดขมับข้างที่ปวด ปล่อยไว้จนหายปวดหรือมะนาวแห้งหลุดออกเอง ถ้ายังไม่หาย ทำซ้ำ
5 กันและแก้ปากเหม็น เคี้ยวกานพลูสองสามดอกจนหมดรสเผ็ด ทำซ้ำบ่อย ๆ
6 กันและแก้ปากเหม็น เอาเกลือเม็ดหรือเกลือป่น (ประมาณ 1 ช้อนกาแฟพูน ๆ) อมไว้ห้าหกนาที จึงบ้วนทิ้ง ทำวันละหนึ่งหรือสองครั้ง (ตื่นนอนและก่อนเข้านอน) ช่วยรักษาฟันและเหงือก
7 ปวดฟัน เหงือกเป็นหนอง อมเกลือ ถ้าฟันเป็นรู พยายามเอาเกลือป่นใส่ในรูฟัน (ตอนแรกปวด แล้วหาย)
8 ท้องผูก (ไม่มีอาการปวดท้องร่วม) สมอไท (ซื้อจากร้านขายยา 1 บาท ได้ประมาณ 20 ผล) ใช้ 5-6 ผล ต้มกับน้ำประมาณ 1 แก้ว ให้เดือดพล่าน ประมาณ 15 นาที เทเอาแต่น้ำใส่ถ้วย เติมเกลือป่นประมาณ 1 ช้อนชา ละลายแล้วดื่มให้หมด มักถ่ายภายในสองชั่วโมง ไม่ไซ้ท้อง
9 มดหรือแมลงกัดหรือต่อย หัวหอมไทย (ที่ใช้ในครัว) หนึ่งกลีบ หรือหนึ่งหัว ผ่าเป็นสองซีก เอาด้านผ่าถูที่แผลพร้อมกับบีบให้น้ำหัวหอมออกมาด้วย หายปวดและไม่บวม
10 หัวโน (เด็กหกล้ม หรือกระแทก) ดินสอพองหนึ่งชิ้น (เล็กใหญ่ตามขนาดของก้อนโน) บี้ให้ละเอียด บีบน้ำมะนาวใส่ลงไปให้เป็น “แป้งเปียก” ละเลงให้ทั่วก้อนโน (ห้ามคลึงหรือกด) และรอบด้วย พอแห้งจะรัดตึงช่วยให้หายปวด และส่วนโนยุบเร็ว
11 เป็นลมวิงเวียน ดมผิวมะกรูด (ดมทั้งลูก หรือฝานเอาเฉพาะผิวมาดมก็ได้)
***********************************************************************************************
ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ (ตอนที่ 2)
5. ยาเหลืองปิดสมุทร |
ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณซึ่งใช้ชื่อ ปริมาณของวัตถุส่วนประกอบ วิธีการผสมและคำอธิบายสรรพคุณตรงตามตำรา ซึ่งรัฐมนตรีประกาศระบุไว้ในราชกิจจานุเบกษานั้น มีตัวยาแต่ละขนาดดังต่อไปนี้
⇒วัตถุส่วนประกอบ
หัวแห้วหมู ขมิ้นอ้อย เปลือกเพกา รากกล้วยตีบ หัวกระเทียมคั่ว ดอกดีปลี ชันอ้อย ครั่ง สีเสียดทั้งสอง ใบเทียน ใบทับทิม เอาสิ่งละ 1 ส่วน ขมิ้นชัน 6 ส่วน
⇒ วิธีและขนาดที่กิน
บดเป็นผง ปั้นเป็นเม็ด หนักประมาณเม็ดละเศษ 1 ส่วน 10 กรัม กินเช้า-เย็น
เด็กอายุ 1-2 เดือน กินครั้งละ 1 เม็ด
เด็กอายุ 3-5 เดือน กินครั้งละ 2 เม็ด
เด็กอายุ 6-12 เดือน กินครั้งละ 3-5 เม็ด
เด็กโต กินครั้งละ 5-7 เม็ด
⇒ สรรพคุณ
แก้อุจจาระเป็นมูกเลือด ใช้หัวกระชายเผาไฟพอสุก ฝนกับน้ำปูนใสแก้ท้องเดิน ใช้เปลือกลูกทับทิม หรือเปลือกต้นแค ต้มกับน้ำปูนใส
6. ยาอัมฤควาที |
⇒วัตถุส่วนประกอบ
รากไคร้เครือ โกศ พุงปลา เทียนขาว น้ำประสานทองสะตุ ลูกผักชีลา ลูกมะขามป้อมเอาแต่เนื้อ ลูกสมอพิเภกเอาแต่เนื้อ เอาสิ่งละ 1 ส่วน ชะเอมเทศ 7 ส่วน
⇒ วิธีทำและขนาดที่กิน
บดเป็นผงผสมน้ำสุก ครั้งละพอควร เด็กกินครั้งละ 1 ช้อนกาแฟ ผู้ใหญ่ครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ ใช้จิบบ่อย ๆ หรือกวาดก็ได้
⇒ สรรพคุณ
แก้ไอ แก้เสมหะ ละลายน้ำส้มมะขามเปียก หรือน้ำส้มซ่าแทรกเกลือบำรุงเสมหะ
7. ยาประสะมะแว้ง |
⇒วัตถุส่วนประกอบ
สารส้ม 1 ส่วน ขมิ้นอ้อย 3 ส่วน ใบสวาด ใบตานหม่อน ใบกะเพราเอาสิ่งละ 4 ส่วน ลูกมะแว้งต้น ลูกมะแว้งเครือเอาสิ่งละ 8 ส่วน
⇒ วิธีทำและขนาดที่กิน
บดเป็นผงผสมน้ำสุก แทรกดีงูเหลือม พิมเสนพอควรปั้นเป็นเม็ด หนักประมาณเม็ดละเศษ 1 ส่วน 5 กรัม เด็กกินครั้งละ 1 เม็ด ผู้ใหญ่ครั้งละ 5-7 เม็ด กินบ่อย ๆ
⇒สรรพคุณ
แก้ไอ แก้เสมหะ ละลายน้ำฝักมะขามเปียกแทรกเกลือ หรือใช้น้ำมะนาว หัวหอม แทรกเกลือพอควร กวาดคอ
- อ่าน 6,580 ครั้ง
พิมพ์หน้านี้