รูปที่ 1 มดลูก และรังไข่ของผู้หญิง
1. ช่องเชิงกราน (Pelvic girdle)
2. รังไข่ (ovary)
3. มดลูก (uterus)
4. ปีกมดลูก (Follopian tube)
5. ไข่ (egg)
6. ปากแตรและปากมดลูก (fimbria)
7. กระเพาะปัสสาวะ (Urinary bladder)
8. ปากมดลูก (cervix)
9. ช่องคลอด (vagina)
10. ทวารหนัก (anus)
11. ท่อปัสสาวะ (urethra)
พระพุทธเจ้าทรงกล่าวถึงกำเนิดของมนุษย์ในพระมหาตัณหาสังขยสูตรไว้ ดังนี้
“ในโลกสันนิวาสนี้ มารดาบิดาย่อมประชุมกัน มารดาไม่อยู่ในระดู คันธัพพะไม่ปรากฏการก้าวลงแห่งครรภ์ก็ยังไม่มีก่อน : ในโลกสันนิวาสนี้ มารดาบิดาย่อมประชุมกัน มารดาอยู่ในระดู คันธัพพะไม่ปรากฏ การก้าวลงแห่งครรภ์ก็ยังไม่มีก่อน ; แต่ในกาลใดมารดาบิดาประชุมกัน มารดาอยู่ในระดู คันธัพพะปรากฏ ในกาลนั้นแล การก้าวลงแห่งครรภ์ย่อมมีเพราะความประชุมแห่งเหตุ 3 อย่างดังนี้แล”
คำสั่งสอนในพระพุทธศาสนามีมานานกว่า 2500 ปี นักวิทยาศาสตร์เพิ่งจะมาค้นพบว่า ปฏิสนธิ (Fertilization) เกิดขึ้นจากการรวมกันของเชื้ออสุจิจากเพศชาย (Sperm) และไข่ของเพศหญิง (Ovum) ซึ่งเป็นผลให้เป็นจุดต้นกำเนิดของชีวิตที่เรียกว่า คันธัพพะ (หมายถึง สัตว์ผู้เกิดในครรภ์) ที่กล่าวว่าในโลกสันนิวาสนี้ มารดาบิดาย่อมประชุมกัน หมายถึงว่า มีสันถวะ และคำว่ามารดาไม่อยู่ในระดู ก็หมายถึงการที่ยังไม่มีการตกไข่ (Ovulation) เมื่อไข่ยังไม่ตกโอกาสที่เชื้อสุจิจะเข้าปฏิสนธิกับไข่ก็เกิดขึ้นไม่ได้ เมื่อไม่มีการปฏิสนธิคันธัพพะก็จะไม่เกิด ดังนั้นการก้าวลงแห่งครรภ์มารดาย่อมไม่ปรากฏก็หมายถึงว่า ยังไม่มีการตั้งครรภ์ดังนี้เป็นต้น
ไข่ที่สุกแล้วจะตกมาจากรังไข่ (Ovary) จะถูกพัดมาที่ปากแตรซึ่งเป็นช่วงอยู่ที่ปีกมดลูก โดยอาศัยอวัยวะที่เป็นริ้วๆ คล้ายกับนิ้วมือหรือหนวดปลาหมึกเรียกว่า Fimbria จากนี้ไข่จะถูกพัดให้เคลื่อนที่ไปตามปีกมดลูก (Uterine tube) เพื่อเข้าสู่มดลูก (Uterus)
ขณะที่มีสันถวะ (ไมตรี) หรือการประชุมกัน อสุจิจะผ่านมาตามช่องคลอดไปที่ปากมดลูก (Cervix) เข้ามาในมดลูก แล้วว่ายน้ำไปตามปีกมดลูกเพื่อไปปฏิสนธิกับไข่ที่กำลังเคลื่อนที่ผ่านมา ซึ่งใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 5 นาที หลังจากมีการประชุมกัน โดยปกติแล้วไข่มักจะผสมกับอสุจิภายใน 12 ชั่วโมง เพราะว่าหลังจาก 12 ชั่วโมงไปแล้วไข่จะเริ่มฝ่อและตายใน 24 ชั่วโมง ส่วนอสุจิมีอายุประมาณ 1 วันหรือมากกว่านั้น
ไข่ที่มีหรือไม่มีการปฏิสนธิก็ตาม จะเดินทางมาในมดลูกภายใน 7 วัน ซึ่งขณะนั้นผนังของมดลูกมีการขยายตัวมาก เตรียมรองรับไข่ที่จะผ่านมา ถ้าไข่ได้รับการปฏิสนธิแล้วจะเริ่มฝังตัวในมดลูก และจะฝังเสร็จภายในวันที่ 14 หลังจากวันที่มีการตกไข่ แต่ถ้าไข่นั้นไม่ได้รับการปฏิสนธิก็จะฝ่อหายไป มดลูกที่มีการเตรียมตัวจะเกิดความผิดหวังพร้อมๆ กับมีการบีบตัวของเส้นเลือดฝอยทำให้เส้นเลือดขาด เป็นเหตุให้มีเลือดไหลออกมามากที่เรียกว่ามีประจำเดือน ในบางรายจะรู้สึกมีอาการเจ็บมาก เนื่องแต่การหดตัวและบีบตัวของมดลูก เด็กสาวจะเริ่มมีประจำเดือนครั้งแรกในวัยสาวอายุประมาณ 13-16 ปี ประจำเดือนที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งประมาณ 5-7 วัน
หลังจากนี้ มดลูกจะเริ่มหดตัวเข้าสู่ระยะปรกติ แล้วจะต้องรออีก 14 วัน กว่าจะถึงวันที่จะมีไข่ใบต่อไปเริ่มสุขและตกไข่อีกครั้งหนึ่ง ขณะที่มีการตกไข่อุณหภูมิของร่างกายจะสูงกว่าธรรมดาเล็กน้อย ในบางรายอาจจะรู้สึกเจ็บนิดๆ อันเป็นข้อสังเกตเล็กๆ น้อยๆ
ความรู้เกี่ยวกับวงจรของการตกไข่ และวงจรประจำเดือนซึ่งมีระยะเวลาประมาณ 28 วัน เท่าๆ กัน แต่ทิ้งช่วงระยะห่างกันประมาณ 14 วันดังนี้ สมมติมีการตกไข่ในวันที่ 1 ของเดือน ต่อมาวันที่ 14 ถ้าไข่ไม่ได้รับการผสมกับอสุจิก็จะมีประจำเดือนมา แล้วไข่ใบต่อไปจะตกอีกครั้งหนึ่งในวันที่ 28 สลับกันดังนี้ทุกๆ รอบเดือน ถ้าครบอีก 14 วัน ไม่มีประจำเดือนมาตามปกติอาจจะเริ่มตั้งครรภ์ได้ 2 อาทิตย์ แล้วก็ได้ ทั้งนี้เฉพาะในรายที่มีประจำเดือนเป็นปกติ
จากความรู้นี้เองที่นำมาใช้เป็นประโยชน์ในการคุมกำเนิดโดยอาศัยหลักธรรมชาติ คือต้องรู้วันที่แน่นอนที่มีรอบเดือนว่า จะมีประจำเดือนในวันไหน เป็นต้นว่า จะมีประจำเดือนในวันที่ 14 ของเดือนนี้ ฉะนั้น วันที่ปลอดภัยที่จะมีการประชุมกันของบิดามารดา คือ 7 วันก่อนและหลัง 7 วันหลังประจำเดือน ได้แก่ วันที่ 7 ถึงวันที่ 21 เป็นต้น ในทางตรงกันข้าม ถ้าต้องการจะมีบุตรอาจจะอาศัยความรู้ธรรมชาตินี้อีกเช่นกัน วันที่สำคัญที่สุด คือ วันที่ 30 หรือ 31 ถึงวันที่ 2 โดยเฉพาะวันที่ 1 เป็นวันที่จะมีการตกไข่ในวันนั้น จะมีความรู้สึกว่าอุณหภูมิของร่างกายจะสูงกว่าธรรมดาเล็กน้อย ทั้งนี้ต้องหมายความว่าทั้งมารดาและบิดา ที่จะประชุมกันต้องมีอวัยวะทุกอย่างปกติ คือ ไม่เป็นหมันและควรจะให้แพทย์ได้ตรวจตำแหน่งของมดลูกด้วยว่า อยู่ในท่าปกติหรือไม่ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนที่ของอสุจิ ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ได้หมายความว่าจะได้ผลแน่นอน 100 เปอร์เซ็นต์เสมอ อาจจะเนื่องแต่ว่าร่างกายของคนเราแต่ละคนมีความแปรปรวนไม่เหมือนกัน เป็นต้นว่า ประจำเดือนมาเร็วบ้างมาช้าบ้างไม่สม่ำเสมอ หรืออสุจิของบางท่านอ่อนแอไม่แข็งแรง ของบางท่านแข็งแรงมากเกินไป มีความสามารถอยู่ได้หลายวัน เป็นต้น อย่างน้อยควรได้รับคำปรึกษาแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้วย
จากนี้ไปเมื่อมีการก้าวลงแห่งครรภ์มารดา คันธัพพะ ก็จะอาศัยอยู่ในครรภ์มารดาปกติประมาณ 10 เดือน จนกว่าจะให้กำเนิดมาอย่างแท้จริง คำกล่าวในพระมหาตัณหาขยสูตรว่า “มารดาบริหารครรภ์นี้ด้วยท้อง เป็นภาระที่หนักด้วยความสงสัยใหญ่ 9 หรือ 10 เดือน มารดาย่อมคลอด และเลี้ยงทารกนี้ผู้เกิดแล้วด้วยโลหิต (น้ำนม) ของตน กุมารนี้แลอาศัยความแก่กล้าแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นผู้อาศัยความเจริญและเป็นผู้ซาบซ่านพรักพร้อมกามคุณทั้ง 5 ย่อมบำเรอด้วยรูปทั้งหลายที่พึงรู้ด้วย จักษุ โสตะ มานะ ชิวหา และสัมผัส ที่น่าใคร่น่าปรารถนาประกอบด้วยกามอันเป็นที่ตั้งแห่งราคะ คือ กิเลส เป็นเครื่องย้อมใจให้คิด ให้ยินดีให้หนัด หลังวนเวียนอยู่ในวัฎจักรสงสารดังนี้แล”
การเดินทางของไข่ที่ถูกผสม
1. ไข่ที่ตกออกมาจากรังไข่ เข้าสู่ปีกมดลูก (เป็นเพียงหนึ่งเซลล์)
2. ไข่ที่ผสมกับเชื้ออสุจิของผู้ชาย (มีเชื้อเข้ามาหลายตัว มีเพียงตัวเดียวเท่านั้นที่เข้าผสมกับไข่)
3. , 4. , 5. , 6. , ไข่ที่ถูกผสมจะถูกแบ่งตัวเป็น 2,4,8,16 เซลล์...ไปเรื่อยๆ พร้อมๆ กับการเดินทางเข้าสู่มดลูก
7. ไข่ที่แบ่งเป็นตัวอ่อนระยะแรก เดินทางมาถึงมดลูก ใช้เวลาประมาณ 7 วันหลังจากถูกผสม
10. เป็นภาพมดลูกผ่าแสดงทารกเอาหัวลงขนาด 4 เดือน
9. เป็นภาพมดลูกผ่า เพื่อแสดงตำแหน่งของคันธัพพะ ประมาณ 5 สัปดาห์ ตรงลูกศรชี้
8. ตัวอ่อนเข้าฝังตัวที่เยื่อบุผิวมดลูก เพื่อเติบโตเป็นทารกต่อไป
- อ่าน 7,133 ครั้ง
- พิมพ์หน้านี้