• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

วิตกกังวล เครียด

วิตกกังวล เครียด

 

 

 ความรู้เรื่องการกดจุดเป็นของเก่าแก่และมีมานานหลายพันปีซึ่งเป็นที่ยอมรับของชาวจีน ศาสตร์แห่งการกดจุดได้แพร่หลายไปทั่วโลก ทั้งในอเมริกาและยุโรป โดยเฉพาะในยุโรป Dr.Frank Bahr ท่านเป็นแพทย์ชาวเยอรมัน เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในเรื่องการกดจุดโดยเฉพาะ ท่านได้ศึกษาและเขียนตำราการกดจุดไว้ ซึ่งผู้เขียนเห็นว่ามีประโยชน์ เหมาะสำหรับนำมาเผยแพร่แก่ประชานชนในการดูแลสุขภาพ เพราะการกดจุดก็คือศาสตร์แขนงเดียวกับการฝังเข็มที่เราๆท่านๆรู้จักกันดี แต่กดจุดเป็นการฝังเข็มโดยไร้เข็ม ทั้งยังไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดเหมือนฝังเข็ม และไม่มีอันตรายใดๆต่อผู้ทำ ถ้าท่านกดได้ถูกวิธีและมีประสิทธิภาพก็จะได้ผลในการรักษา ทั้งยังช่วยเสริมการรักษาของแพทย์ให้หายเร็วขึ้น แต่ถ้าท่านทำแล้วไม่ได้ผล ก็ไม่มีข้อเสียหายอะไร


ในปัจจุบันนี้จะพบว่าปัญหาความวิตกกังวลได้แทรกซึมเข้าไปในบุคคลทุกวงการ และอาจจะทุกคนด้วยซ้ำไป
คุณคงไม่ปฏิเสธว่า เกิดมาไม่เคยมีความวิตกกังวลแน่นอน มันอาจจะเกิดขึ้นในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิตคุณ และบางคนก็สามารถแก้ปัญหาให้ผ่านพ้นไปได้ แต่บางคนความวิตกกังวลมักจะเกิดขึ้นอยู่บ่อยๆซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนต้องหันไปพึ่งยากล่อมประสาทเป็นจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ


⇒อาการ

อาการเริ่มแรกเกือบจะไม่รู้สึกเพราะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายใต้จิตสำนึกธรรมดาซึ่งคนปกติทั่วๆไปก็เป็นได้บางครั้งบางคราว เช่น นักเรียน นักศึกษามักจะเกิดความวิตกกังวลเมื่อใกล้สอบ ลูกจ้างกลัวว่าจะตกงาน แม่บ้านมักจะวิตกกังวลเรื่องลูกๆ สามีและปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งไม่ค่อยจะพอใช้ ปัญหาเศรษฐกิจ เชื่อว่าแทบจะทุกครัวเรือนก็ว่าได้กำลังประสบปัญหานี้ ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ก็มักจะวิตกกังวลกลัวว่าลูกในท้องจะพิการหรือไม่ได้เพศตามที่ตนต้องการ เหล่านี้เป็นต้น
ความวิตกกังวลที่กล่าวมานี้ถ้ามีเล็กน้อยก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่บางรายเป็นมากจนเกิดอาการกินไม่ได้ นอนไม่หลับ บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เช่น ฝันร้าย เก็บตัว ไม่ค่อยพูด


⇒สาเหตุ
ความเครียดเป็นสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นบ่อย เนื่องจากขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการอบรมเลี้ยงดูในวัยเด็ก หรือพ่อแม่ที่คาดหวังอะไรมากจนเกินไปก็เป็นสาเหตุให้เกิดความวิตกกังวลได้ มีส่วนน้อยที่เกิดจากกรรมพันธุ์ ถ้าท่านประสบปัญหาท่านควรจะไปปรึกษาแพทย์ด้วย

                                                                ข้อแนะนำทั่วไปก่อนกดจุด

1. นั่งหรือนอนในท่าที่สบายมือที่จะกดจุดไม่ควรเย็น ถ้าเย็นควรทำมือให้อุ่นก่อนโดยแช่ในน้ำอุ่น หรือใช้ผ้าห่อมือไว้

2. ถ้าท่านมีผิวหนังที่แพ้ง่าย อาจจะใช้โลชั่นหรือแป้งฝุ่นทาบริเวณที่จะกดจุดก่อนลงมือกดจุด

3. ระหว่าทำการกดจุด บางรายอาจจะมีเหงื่อออกมาก ควรให้พักระหว่างการกดจุดได้

4. .ในวันที่อากาศหนาวเย็น เมื่อกดจุดเสร็จเรียบร้อย ก่อนออกไปนอกบ้านควรสวมเสื้อให้อบอุ่น
 

                                                                ข้อแนะนำก่อนกดจุด

1. การกดจุด หมายถึงการนวดจุดๆนั้นโดยใช้ปลายนิ้วมือที่เล็บสั้น

2. อ่านและดูรูปที่แสดงตำแหน่งการกดจุดให้เข้าใจ แล้วลองกดจุดที่อยู่บนร่างกาย สำหรับจุดที่อยู่บนใบหูอาจจะใช้กระจกส่องช่วยหาจุด หรือวานให้ใครคนใดคนหนึ่งดูจุดนั้นในรูปแล้วชี้ตำแหน่งให้

3. เมื่อท่านกดถูกจุดๆนั้นจะให้ความรู้สึกได้ดีกว่าบริเวณรอบๆ และควรกดจุดให้แรงพอ

4. นิ้วมือที่นิยมใช้กดจุด มักใช้นิ้วชี้ โดยให้ปลายนิ้วมือตั้งฉากกับผิวหนัง และนวดไปตามทิศทางที่ลูกศรชี้ในภาพ นวด (ถู) ออกไปเป็นระยะทาง 1 นิ้ว การนวดควรนวดประมาณ 30 ครั้ง ต่อ 10 วินาที หรือ 70-100 ครั้งต่อนาที

5. จุดบนใบหูอาจจะใช้ปลายนิ้วก้อยหรือปลายดินสอ ปากกามนๆ นวดได้ เพราะบริเวณใบหูเล็กและแคบกว่าร่างกาย

6. การกดจุดตามหลักของจีนได้กำหนดเวลาในการกดแต่ละครั้งไว้ดังนี้
เด็กอายุ 0-3 เดือน ใช้เวลากดทั้งหมด ½-3 นาที
เด็กอายุ 3-6 เดือน ใช้เวลากดทั้งหมด 1-4 นาที
เด็กอายุ 6-12 เดือน ใช้เวลากดทั้งหมด 1-5 นาที
เด็กอายุ 1-3 ปี ใช้เวลากดทั้งหมด 3-7 นาที
เด็กโต ตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป ใช้เวลากดทั้งหมด 5-10 นาที
ผู้ใหญ่ ใช้เวลากดทั้งหมด 5-10-15 นาที

7. จุดที่กดอยู่บนร่างกาย ควรกดหรือนวดทั้ง 2 ข้างของลำตัว (ร่างกายจะแบ่งเป็น 2 ข้าง คือ ข้างขวาและซ้าย)

8. ระยะต่างๆ ที่ใช้ในการวัด จะวัดจากความกว้างของนิ้วมือของผู้กดจุดเอง


ตำแหน่งที่กดจุด
กดจุดบนร่างกาย

 

                                 

1.จุ
ด “จู๋ซานหลี่” (tsu-san-li)

วิธีหาจุด  :   วางฝ่ามือของผู้ถูกนวดบนหัวเข่า กางนิ้วออกเล็กน้อย จุดจะอยู่ปลายสุดของนิ้วนาง
วิธีนวด    :   นวดลง ( ดังรูป)

                                 


2. จุด “เส้าเจ๋อ” (shao-cher)

วิธีหาจุด   :   วางฝ่ามือของผู้ถูกนวดบนหัวเข่า กางนิ้วออกเล็กน้อย จุดจะอยู่ที่ข้อปลายของนิ้วก้อย (ข้อนิ้วจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน)
วิธีนวด   : นวดจากปลายนิ้วก้อยด้านในอ้อมใต้นิ้วไปยังด้านตรงข้าม(ดังรูป)
 

                                 

 3. จุด “หยานกู่” (yan-ku)

วิธีหาจุด : จุดนี้จะเป็นแอ่งเล็กๆ อยู่ต่ำกว่าตาตุ่มด้านในประมาณ 2 นิ้วมือเยื้องไปทางด้านหน้าเล็กน้อย
วิธีนวด    :   นวดเข้าหาข้อเท้า(ดังรูป)
 

                                      


4. จุด “จิวเหว่ย” (jiu-wei)


วิธีหาจุด :  จุดตั้งอยู่กึ่งกลางของลำตัว ระดับเดียวกับส่วนล่างของราวนม
วิธีนวด    :   นวดขึ้นบน(ดังรูป)


 

กดจุดที่ใบหู
หูขวา
1. อยู่ที่ติ่งหู เยื้องมาด้านหน้า
วิธีนวด   :   นวดขึ้นบน(ดังรูป)

                                       

2. อยู่ที่แอ่งเล็กๆ รูปสามเหลี่ยมใกล้กับขอบใบหูด้านหน้า
วิธีนวด   :   นวดเข้าหาหน้า


หูซ้าย มี 2 จุดเช่นเดียวกัน แต่นวดทิศทางตรงข้ามกับหูขวา


การรักษา
กดจุดที่ร่างกายสลับวันกับใบหู ควรนวดวันละ 5 นาที ถ้าเกิดความเครียดหรือวิตกกังวลมากในเวลาใกล้ใกล้สอบ ให้เริ่มกดจุดสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ก่อนที่จะมีการสอบ คนไข้ที่รับประทานยากล่อมประสาทอยู่ วันหนึ่งเขาจะรู้สึกว่าดีขึ้นจากการกดจุดเข้าช่วย และจะสามารถลดขนาดการกินยาลงได้ แต่ควรจะปรึกษาแพทย์ก่อน และในที่สุดท่านจะสามารถเลิกการใช้ยาได้อย่างเด็ดขาด

 

 

ข้อมูลสื่อ

88-014
นิตยสารหมอชาวบ้าน 88
สิงหาคม 2529
ลลิตา อาชานานุภาพ