พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)

  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 122 มิถุนายน 2532
    โภชนาการ หมายถึง อาหารที่เข้าสู่ร่างกายมนุษย์ แล้วร่างกายสามารถนำไปใช้เป็นประโยชน์ในด้านการเจริญเติบโต การค้ำจุน และการซ่อมแซมส่วนต่างๆ ของร่างกายดังนั้นการได้กินอาหารที่เพียงพอและถูกสัดส่วน จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่สุดสำหรับมนุษย์ เพื่อให้มีสุขภาพที่แข็งแรงคอลัมน์ “กินถูก...ถูก” ได้รับความร่วมมือจากสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ครั้งนี้เสนอเรื่อง ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 121 พฤษภาคม 2532
    แมลงต่อยแมลงที่ใช้วิธีต่อย ที่สำคัญได้แก่ ผึ้ง ต่อ แตน และหมาร่า ซึ่งในที่นี้จะขอรวม มดตะนอย และมดคันไฟไว้ด้วย โดยปกติถ้าแมลงเหล่านี้ต่อย จะมีอาการไม่มากนัก อาการเฉพาะที่ คือ คัน บวม และแดง แต่ผู้ที่ถูกต่อยบางราย มีความไวต่อสารพิษที่แมลงปล่อยออกมา ขณะที่มันต่อย เกิดการแพ้อย่างรุนแรง จะมีอาการเกิดทั่วร่างกาย คือ มีไข้ อาเจียน ท้องเดิน หัวใจเต้นผิดปกติ ความดันเลือดตก ซึมหรือชักหมดสติ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 120 เมษายน 2532
    คอลัมน์นี้ได้รับความร่วมมือจากชมรมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย นับเป็นครั้งแรกที่เราจะนำความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ของโรคต่าง ๆ ในประเทศลงตีพิมพ์ติดต่อกัน โดยจะครอบคลุมไปถึงลักษณะของโรคที่ควรรู้ในฤดูกาลต่าง ๆ กัน ตลอดจนวิธีการป้องกันโรคนั้น ๆ ด้วยโดยหวังว่าความรู้เหล่านี้จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในชุมชน ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 119 มีนาคม 2532
    “หมอกับชาวบ้านแม้จะเป็นคนไทยเหมือนกัน แต่หมอก็มีวัฒนธรรมแบบหมอ ๆ และชาวบ้านก็มีวัฒนธรรมแบบชาวบ้าน ๆ วัฒนธรรมในที่นี้ หมายถึง ความรู้ ความเข้าใจ ความเชื่อ ค่านิยม ความถนัด ความเคยชิน ธรรมเนียมปฏิบัติ รวมทั้งภาษาในการสื่อสาร “พูดจาภาษาหมอ” มิเพียงแต่เป็นเรื่องของการอธิบายศัพท์เกี่ยวกับสุขภาพเท่านั้น แต่ยังมุ่งหมายให้เป็นสะพานเชื่อมระหว่างวัฒนธรรมย่อยสองระบบเข้าด้วยกัน ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 114 ตุลาคม 2531
    อาการที่คนไข้ยกข้อมือไม่ขึ้นเนื่องจากกล้ามเนื้อที่บังคับข้อมือไม่ทำงานหรือเป็นอัมพาต เราเรียกว่าข้อมือตก (wrist drop) ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นเพียงข้างเดียว หรือเกิดพร้อมกันทั้ง 2 ข้างก็ได้สาเหตุเนื่องจากมีการอับเสบของประสาทที่เลี้ยงกล้ามเนื้อบังคับข้อมือ ที่เรียกว่า ประสาทเรเดียล (radial nerve) จึงทำให้เกิดอาการชา ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 110 มิถุนายน 2531
    การประชุมสัมมนาของผู้นำเยาวชน จากสถาบันการศึกษา ระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง จำนวน 49 คนเมื่อเร็ว ๆ นี้ ซึ่งจัดโดยสมาคมพิทักษ์ประโยชน์ ผู้บริโภคและกลุ่มอาสาสมัครเพื่อผู้บริโภคได้สำรวจการใช้และการจำหน่ายยาฆ่าแมลงในย่านภาษีเจริญ พบว่าเกษตรกรในแถบนั้นยังไม่มีความรู้ ความเข้าใจและการปฏิบัติยังไม่ถูกต้อง เช่น ไม่ใช้เครื่องมือป้องกันในระหว่างฉีดพ่น หรือการผสมยาก็ใช้มือเปล่า ๆ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 106 กุมภาพันธ์ 2531
    นางสาวเสริมศรี คงศักดิ์ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการชี้แจ้งว่า กรมวิทยาศาสตร์ฯได้เก็บตัวอย่างยาสูดดมที่นิยมใช้สูดดมกันทั่วไปเพื่อบรรเทาอาการหวัด คัดจมูก หน้ามืดตาลาย วิงเวียนศีรษะ และใช้ทาถูบรรเทาอาการเคล็ดขัดยอก แมลงกัดต่อย ฯลฯ มาวิเคราะห์ พบว่าอาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ ซึ่งแพ้สารเคมีที่ใช้ผลิตได้ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 102 ตุลาคม 2530
    นอกจากทำให้เกิดพิษรุนแรงเฉียบพลันแล้ว ยังมีผลร้ายเรื้อรังต่อสุขภาพของชาวนา เพราะพบว่าชาวนาที่ตายมาขึ้นเป็นเพศชายและอยู่ในวัยทำงานหลังจากมีการใช้ยาปราบศัตรูพืชกันมากขึ้นในประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตชนบทปลูกข้าวของประเทศเขตร้อน พบว่านอกจากทำให้เกิดพิษรุนแรงเฉียบพลันแล้ว ยังมีผลร้ายเรื้อรังต่อสุขภาพของชาวนา โรงพยาบาลในประเทศศรีลังกาต้องรับผู้ป่วยที่เกิดพิษของยาปราบศัตรูพืชนี้ถึงปีละ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 102 ตุลาคม 2530
    อาการผิดปกติจากสารพิษเหล่านี้เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน หลังจากได้รับสารพิษเข้าไปมาก อาการผิดปกติต่อมาคือ มีปลายประสาทเสื่อม กล้ามเนื้อช่วยหายใจอ่อนแรงและถึงกับเป็นอัมพาต ทำให้หยุดหายใจถึงตายได้พิษยาปราบศัตรูพืชมีมากมาย ที่ทราบกันดีคือ พิษของสารชนิดออร์กาโนฟอสฟอรัส ซึ่งใช้กันมากในชนบทไร่นาของประเทศเขตร้อน และทราบกันมานานแล้วว่า ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 25 พฤษภาคม 2524
    บ่อยครั้งที่เรามักจะอ่านพบข่าวอุบัติเหตุต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับคนงาน ไม่ว่าจะเป็นโรงงานอุตสาหกรรมหรือในงานก่อสร้างและก็มักจะพบอีกเช่นกันว่า อุบัติเหตุเหล่านั้น ไม่ใช่เป็นเหตุที่เกิดขึ้นในลักษณะที่เรียกว่าสุดวิสัย หากแต่เป็นสิ่งที่กล่าวได้ว่า ถ้าหากเราจะระมัดระวังหรือมีการป้องกันกันสักหน่อยแล้ว อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นก็ไม่น่าจะเกิดหมายถึงชีวิตและร่างกายทรัพย์สินเงินทอง ...