โรคหัวใจ

  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 312 เมษายน 2548
    ปัจจุบันประชากรโลกกำลังประสบปัญหาทางสุขภาพสำคัญเกี่ยวกับโรคในกลุ่มที่เรียกว่า โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (non-communicable chronic diseases) จากการวิเคราะห์สภาวะสุขภาพของประชากรโลก โดยประเมินจากดัชนีภาระโรค ทั้งในแง่การตายก่อนวัยอันควร และภาระของการเสียค่าใช้จ่ายต่างๆ ของประเทศในการดูแลและรักษาโดยรวมแล้วพบว่า สาเหตุการเจ็บป่วยและการตายที่สำคัญของประชากรโลก ยังคงเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 295 พฤศจิกายน 2547
    การสำรวจเรื่อง การควบคุมโรคหัวใจและหลอดเลือด"คุณป้าแกอายุประมาณ ๖๗ ปีได้กระมัง วันหนึ่งอยู่ดีๆ แกก็บ่นว่าเจ็บหน้าอก หายใจไม่คล่องหลังจากนั้นไม่นานแกก็นิ่งไป ไม่รู้สึกตัว ประมาณอีกไม่ถึงชั่วโมงแกก็ตาย ญาติๆ แกยังไม่ทันได้ตั้งตัว ทั้งที่ก่อนหน้านี้แกยังดีๆ ก็มาเสียชีวิตอย่างนี้ " เป็นคำบอกเล่าของชาวบ้านคนหนึ่งในหมู่บ้านแห่งหนึ่งในจังหวัดสุพรรณบุรี ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 299 มีนาคม 2547
    โอกาสที่คุณจะเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดในอีก ๑๐ ปี ข้างหน้า : การประเมินความเสี่ยงรวม (ตอนที่ ๒)ตอนที่แล้วได้พูดถึงสาเหตุและปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงวิธีการประเมินความเสี่ยงรวมของสหรัฐอเมริกา ในตอนนี้มาดูวิธีการประเมินความเสี่ยงรวมของชาวยุโรปกันดีกว่า ที่เรียกว่าระบบ SCORE อีกวิธีหนึ่งที่น่าจะใช้ได้กับคนไทยอย่างเหมาะสมกว่าคือ วิธีการประเมินความเสี่ยงรวม ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 298 กุมภาพันธ์ 2547
    โอกาสที่คุณจะเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด ในอีก ๑๐ ปี ข้างหน้า : การประเมินความเสี่ยงรวม (ตอนที่ ๑)ปัจจุบันโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆ ของคนไทย ทุกๆ ชั่วโมงจะมีคนไทยตายจากโรคหลอดเลือดสมอง ๕ คน ตายจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ๒ คน ตายจากเบาหวาน ๒ คน สาเหตุที่สำคัญของโรคหัวใจและหลอดเลือดเกิดจากการแข็งและตีบตันของหลอดเลือดแดง(atherosclerosis) ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 297 มกราคม 2547
    หัวใจวาย-หัวใจล้มเหลวถาม : กัมพล/กรุงเทพฯขอถามปัญหาเกี่ยวกับ "หัวใจ" ภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัด เข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ หลายปีแล้ว แต่ยังไม่คุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมของกรุงเทพฯ กังวลว่าสักวันอาจจะหัวใจวายจากสิ่งแวดล้อมที่ผจญอยู่ ขอถามว่าหัวใจวาย-หัวใจล้มเหลวเกี่ยวข้องกันอย่างไรตอบ : นพ.สันต์ หัตถีรัตน์คำว่า "หัวใจวาย" ไม่ได้เป็นโรค แต่เป็นสภาวะที่หัวใจหยุดทำงาน มีการใช้ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 297 มกราคม 2547
    วิถีชีวิตกับโรคหัวใจและหลอดเลือดชีวิตคนเราอยู่ในโลกแห่งความเสี่ยง เดินทางโดยรถยนต์ก็เสี่ยงต่ออุบัติภัยจราจร นั่งเรือก็เสี่ยงต่ออุบัติภัยทางน้ำ เดินข้างถนนบางครั้งก็ยังเสี่ยงต่อรถปีนฟุตปาทมาทับ หรือแม้แต่การเสี่ยงโชค ซื้อหวยก็เสี่ยงต่อการถูกกิน เหตุการณ์ที่กล่าวถึงข้างต้นเป็นความเสี่ยงแบบฉับพลัน ที่จริงยังมีความเสี่ยงแบบเรื้อรังอยู่เหมือนกัน เช่น กินข้าวขาหมูมันๆ บ่อยๆ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 285 มกราคม 2546
    ในความหมายของแพทย์จีนมีศัพท์และความเข้าใจที่ไม่ตรงกันหลายเรื่องเวลาหมอจีนอธิบายโรคให้กับคนไข้ฟัง รู้สึกทะแม่งๆ แปลกๆ ดี ยิ่งถ้าคนไข้หรือแพทย์ ปัจจุบันที่ไม่เข้าใจความหมายอาจตีความหมาย ผิดๆ ทำให้ยิ่งไปกันใหญ่ เล่นให้คนไข้ปั่นป่วน ไม่น้อย ตัวอย่างเช่น- เลือดของหัวใจไม่พอ ทำให้ใจสั่น นอนไม่หลับ ฝันมาก ลืมง่าย ความคิดเชื่องช้า ไม่มีชีวิตชีวา- ไฟหัวใจร้อนสู่เบื้องบน ทำให้ปลายลิ้นแดงอักเสบ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 283 พฤศจิกายน 2545
    เพื่อรับมือกับโรคหัวใจและหลอดเลือด (ตอนจบ)ระบบบริการสุขภาพตราบเท่าที่ยังมีคนป่วยเจ็บ ระบบบริการสุขภาพ ย่อมมีความจำเป็นและคงต้องปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ระบบบริการสุขภาพในวันนี้เป็นมรดกของ ยุคโรคติดต่อ เป็นระบบบริการสุขภาพแบบตั้งรับเน้นการซ่อมสุขภาพ ถนัดในการใช้เทคโนโลยี ถนัด ในการตัดสินใจแทนคนไข้ และถนัดในการดูแลปัญหา เฉียบพลันมากกว่าปัญหาเรื้อรัง ครึ่งหนึ่งของคนไทย ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 282 ตุลาคม 2545
    เพื่อรับมือกับโรคหัวใจและหลอดเลือด (๒)พฤติกรรมเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดความรู้จากประเทศอุตสาหกรรมยืนยันตรงกันว่าพฤติกรรมเสี่ยงเป็นเหตุสำคัญของการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือดส่วนใหญ่พฤติกรรมเสี่ยงที่สำคัญมาก ๓ ประการได้แก่๑.การสูบบุหรี่ ผู้ชายไทยทุกวันนี้เกือบครึ่งหนึ่งสูบบุหรี่ ในขณะที่ผู้หญิงเพียงร้อยละ ๓ เท่านั้นที่สูบ แนวโน้มของพฤติกรรมสูบบุหรี่ในคนไทยมีทิศ ทางลดลงอย่างต่อเนื่อง ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 281 กันยายน 2545
    เพื่อรับมือกับโรคหัวใจและหลอดเลือด (๑)"ด้วยความรู้ในปัจจุบัน เราสามารถสร้างโลกที่ปราศจากการคุกคามจากโรคหัวใจและหลอดเลือด ในโลกเช่นนั้นการป้องกันเกิดขึ้นนับแต่วันแรกเริ่มของชีวิตทุกคนจะมีชีวิตที่เปี่ยมด้วยสุขภาพ ได้หายใจอากาศที่ปลอดควันบุหรี่ได้กินอาหารที่ถูกหลักอนามัย หมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอได้อาศัยและทำงานในสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ" ...