Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » Phototherapy ในทารกเท่าแรกเกิด น้ำหนักน้อย เริ่มเมื่อบิลิรูบินเท่าใดดี
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

Phototherapy ในทารกเท่าแรกเกิด น้ำหนักน้อย เริ่มเมื่อบิลิรูบินเท่าใดดี

โพสโดย thanyaporn เมื่อ 1 ธันวาคม 2551 00:00

Phototherapy ในทารกเท่าแรกเกิด น้ำหนักน้อย เริ่มเมื่อบิลิรูบินเท่าใดดี
Morris BH, et al. Aggressive vs. Conservative Phototherapy for Infants with Extremely Low Birth Weight. N Engl J Med 2008; 359:1885-96.

ที่ ผ่านมายังมีข้อโต้แย้งกันว่าในทารกคลอดก่อนกำหนด ระดับบิลิรูบินเท่าใดที่เป็นอันตรายต่อการความพิการทางสมอง. บางรายงานกล่าวว่า 5 มก./ดล. หรือน้อยกว่านั้นถือว่าสูงแล้ว ในขณะที่บางงานวิจัยระบุว่าระดับบิลิรูบินระดับปานกลาง ไม่มีโทษต่อสมอง หรืออาจเป็นประโยชน์ด้วยซ้ำไป ถือว่าบิลิรูบินเป็น antioxidant. สำหรับการรักษานั้น ยอมรับกันว่า การทำ phototherapy ลดระดับบิลิรูบินได้ผลดีมาก แต่งานวิจัยที่ศึกษาเรื่องการรักษาโดยฉายแสงไฟในทารกตัวเหลืองที่มีน้ำหนัก น้อยยังมีไม่มากและมีบางการศึกษาพบว่าทำให้มีอัตราตายสูงขึ้น จึงเกิดคำถามว่าได้ประโยชน์หรือโทษกันแน่.

นักวิจัยในสหรัฐอเมริกา ศึกษาในโรงพยาบาล 16 แห่ง แบ่งทารกน้ำหนักน้อย (501-1,000 กรัม) ตัวเหลืองจำนวน 1,974 คน อายุ 12-36 ชั่วโมง ให้ได้รับการรักษาด้วย phototherapy 2 ชนิด คือ ชนิด เข้มข้น (aggressive) และชนิดอนุรักษ์ (conservative) ตัวชี้วัดผลคือการตายหรือ มีความผิดปกติของพัฒนาการทางระบบประสาท.

Phototherapy ชนิดเข้มข้น คือ โดยหลักการจะฉายแสงไฟเมื่อใดก็ตามที่ทารกหนัก 501-750 กรัม มีบิลิรูบินตั้งแต่ 5 มก./ดล. เป็นต้นไป ส่วนทารกหนัก 751-1000 กรัม จะฉายเมื่อในช่วง 7 วันแรกหลังคลอด มีบิลิรูบิน 5 มก./ดล. หรือเมื่อทารกอายุมากกว่า 7 วัน มีบิลิรูบินตั้งแต่ 7 มก./ดล.ขึ้นไป.
ชนิด อนุรักษ์ คือ เริ่มฉายแสงไฟ เมื่อทารกน้ำหนัก 501-750 กรัมมีบิลิรูบินตั้งแต่ 8 มก./ดล. ขึ้นไป และทารกน้ำหนัก 751-1,000 มก./ดล. จะเริ่มฉายตั้งแต่ 10 มก./ดล. เป็นต้นไป.

ผลการศึกษา การรักษาแบบเข้มข้นสามารถลดระดับบิลิรูบินได้มากกว่าชนิดอนุรักษ์ (ค่าเฉลี่ย บิลิรูบิน 7.0 vs. 9.8 มก./ดล. ตามลำดับ) แต่อัตราตาย และ/หรือพิการทางสมอง (รวม) ไม่มีความแตกต่างกัน (52% vs. 55%) คิดเป็น RR = 0.94 (95%CI 0.87, 1.02) เมื่อจำแนกเป็นอุบัติการณ์ของพิการทางสมอง พบว่ากลุ่มเข้มข้น มีอัตราน้อยกว่ากลุ่มอนุรักษ์ (26% vs. 30%, RR = 0.86, 95%CI 0.74, 0.99) แต่อัตราตายไม่แตกต่างกัน (24% vs. 23% ตามลำดับ) เมื่อดูอัตราแยกตามน้ำหนักทารก. สำหรับทารกที่หนัก 501-750 กรัม กลุ่มเข้มข้นมีอัตราตายสูงกว่ากลุ่มอนุรักษ์ (39% vs. 34%, RR = 1.13, 95% CI 0.96, 1.34) ส่วนในทารกน้ำหนัก 751-1,000 กรัม มีทั้ง 2 กลุ่มอัตราตายใกล้เคียงกัน (13% vs. 14%).

สรุป การให้แสง phototherapy ชนิดเข้มข้น ไม่ลดอัตราตายอย่างมีนัยสำคัญ แต่สามารถลดความพิการทางสมองได้เล็กน้อยอย่างมีนัยสำคัญ แต่กลับมีอัตราตายสูงขึ้นโดยเฉพาะทารกน้ำหนักน้อยๆ (510-750 กรัม).

วิชัย เอกพลากร พ.บ., Ph.D.
รองศาสตราจารย์, ศูนย์เวชศาสตร์ชุมชน, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี, มหาวิทยาลัยมหิดล

 

ป้ายคำ:
  • การดูแลบุตร
  • พฤติกรรมอันตราย
  • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
  • อาหาร
  • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • แม่และเด็ก
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ.​ และป้องกันโรค
  • คุยสุขภาพ
  • เก็บสาระจากวารสารต่างประเทศ
  • รศ.นพ.วิชัย เอกพลากร
  • อ่าน 5,371 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้
Skip to Top

คำถามสุขภาพ

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • อื่น ๆ

  • สนับสนุนสื่อสุขภาพออนไลน์หมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • คำแนะนำสำหรับประชาชน เรื่อง โรคจากเชื้อแบคทีเรีย อีโคไลชนิดรุนแรง
  • ผ่าตัดฟรีสำหรับเด็ก ที่เป็นโรคหัวใจ
  • สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย (สพท.)

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa