Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • สมัครสมาชิก
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • แอพลิเคชั่น DoctorMe
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » การรักษาไซนัสอักเสบเรื้อรัง
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

การรักษาไซนัสอักเสบเรื้อรัง

โพสโดย Anonymous เมื่อ 1 มิถุนายน 2551 00:00

การรักษาไซนัสอักเสบเรื้อรัง
ถาม
ผู้ป่วยเป็นไซนัสอักเสบเรื้องรังเต็มโพรงทั้ง 2 ข้าง กินยาปฏิชีวนะแล้วอาการก็ยังไม่ดีขึ้น ควรให้การรักษาต่ออย่างไร

สมาชิก

                             

ตอบ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคไซนัสอักเสบเรื้อรังมักจะมีสาเหตุของการอุดกั้นของช่องระบายสารคัดหลั่งจากโพรงไซนัสเป็นส่วนใหญ่ เช่น มีริดสีดวงจมูก มีการบวมของเยื่อบุผิวบริเวณช่องระบายหรือที่ปุ่มเนื้อส่วนกลาง (middle turbinate) ของโพรงจมูกไปอุดกั้นหรือเกิดจากดั้งจมูกคดหรือมีโพรงอากาศบริเวณใกล้ชˆองเปิดหรือโพรงอากาศของกระดูกของปุ่มเนื้อส่วนกลาง จึงจำเป็นต้องหาสาเหตุแท้จริงของโรคด้วยการถ่ายภาพทางคอมพิวเตอร์ CT scan และผ่าตัดแก้ไขสาเหตุดังกล่าว. ส่วนบางรายนั้นเกิดจากการรักษาที่ไม่สม่ำเสมอและเป็นโรคหวัดภูมิแพ้เรื้อรังจนเนื้อเยื่อในโพรงจมูกมีการบวมหนาตัวขึ้นมาก โดยที่ไม่มีความผิดปกติดังที่กล่าวมาเบื้องต้น ก็อาจต้องรักษาโรคภูมิแพ้ควบคู่กับการรักษาการติดเชื้อและต้องรักษาอย่างต่อเนื่องยาวนานทีเดียว จึงแนะนำว่าควรพบแพทย์หู คอ จมูก เท่านั้นจึงจะช่วยและขจัดปัญหานี้ได้.

บุญชู กุลประดิษฐารมณ์ พ.บ., ศาสตราจารย์
ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


การรักษามะเร็งปากมดลูกระยะที่ 1
ถาม ขอเรียนถามเรื่องมะเร็งปากมดลูกระยะ ที่ 1 ควรทำการผˆาตัดหรือทำการรักษาแบบอื่นดี

สมาชิก

ตอบ
มะเร็งปากมดลูกระยะที่ 1 หมายถึง มะเร็งจำกัดอยู่ภายในปากมดลูกเท่านั้น โดยที่มะเร็งระยะนี้แบ่งย่อยออกไปได้อีกเป็น
ระยะ IA1 รอยโรคกว้างไม่เกิน 7 มม. ลึกลงไปใน stroma ไม่เกิน 3 มม.
ระยะ IA2 รอยโรคกว้างไม่เกิน 7 มม. ลึกลงไปใน stroma มากกว่า 3 มม. แต่ไม่เกิน 5 มม.
ระยะ IB รอยโรคกว้างกว่า 7 มม. และ/หรือลึกลงไปใน stroma มากกว่า 5 มม.
ระยะ IB1 ขนาดของก้อนมะเร็งไม่เกิน 4 ซม.
ระยะ IB2 ขนาดของก้อนมะเร็งเกิน 4 ซม.

การรักษา
1. มะเร็งปากมดลูกระยะ IA1 ถ้ายังต้องการมีบุตรให้ตัดปากมดลูกออกเป็นรูปกรวยด้วยมีด (cold-knife conization) แล้วดูผลพยาธิวิทยาอีกครั้งว่า ถ้าขอบของกรวยที่ตัดยังมีรอยโรค ก็พิจารณาตัดปากมดลูกออกเป็นรูปกรวยซ้ำ หรือถ้ามีมะเร็งในหลอดเลือดหรือหลอดน้ำเหลือง (lymph-vascular invasion) ก็พิจารณาตัดมดลูกออกแบบธรรมดา (simple hysterectomy) ในกรณีที่ไม่ต้องการมีบุตรหรือมีบุตรพอแล้ว ให้รักษาโดยการตัดมดลูกออกแบบธรรมดา.

หมายเหตุ : ในกรณีที่ผู้ป่วยมีข้อห้ามในการผ่าตัด อาจพิจารณาใส่แร่ทางช่องคลอด (brachy- therapy).

2. มะเร็งปากมดลูกระยะ IA2
รักษาโดยการตัดมดลูกแบบ type II radical hysterectomy ร่วมกับเลาะต่อมน้ำเหลืองในอุ้งเชิงกราน. สำหรับผู้ที่มีข้อบ่งห้ามในการผ่าตัด หรือผู้ป่วยเลือกไม่รักษาด้วยการผ่าตัด พิจารณาให้รังสีรักษาคือ การฉายรังสีที่อุ้งเชิงกรานและใส่แร่ทางช่องคลอด (pelvic RT + brachytherapy).

3. มะเร็งปากมดลูกระยะ IB สามารถรักษาได้ 3 วิธีคือ การผ่าตัดและรังสีรักษา ซึ่งมีอัตราการอยู่รอดที่ 5 ปี ไม่แตกต่างกัน. การผ่าตัดให้ผ่าตัดมดลูกแบบ type III radical hysterectomy และเลาะต่อมน้ำเหลืองในอุ้งเชิงกราน. ส่วนรังสีรักษาก็ประกอบด้วย ฉายรังสีที่อุ้งเชิงกรานและใส่แร่ทางช่องคลอด. วิธีที่ 3 คือ ให้ยาเคมีบำบัด (neoadjuvant chemotherapy) ตามด้วยการผ่าตัด type III radical hysterectomy และเลาะต่อมน้ำเหลืองในอุ้งเชิงกราน.

3.1 มะเร็งปากมดลูกระยะ IB1 ถ้าผู้ป่วยอายุไม่เกิน 60-65 ปี น้ำหนักไม่เกิน 70 กิโลกรัม ไม่มีโรคทางอายุรกรรมที่เป็นอันตรายต่อการผ่าตัดก็จะเลือกรักษาโดยการผ่าตัดเป็นลำดับแรกก่อน เนื่องจากมีข้อดี คือ สามารถตรวจการลุกลาม/แพร่กระจายของ มะเร็งได้ชัดเจน สามารถเก็บรังไข่ไว้สร้างฮอร์โมนในผู้ป่วยที่อายุน้อย ช่องคลองไม่เสียความยืดหยุ่นและความชุ่มชื้นจากการฉายรังสีถึงแม้จะสั้นลงบ้างจากการผ่าตัด แต่ก็ยังสามารถยืดขยายได้เมื่อมีเพศสัมพันธ์. นอกจากนี้การผ่าตัดในระยะเวลาที่สั้นกว่าการฉายรังสี และผลแทรกซ้อนระยะยาว เช่น ปัสสาวะ/อุจจาระเป็นเลือดก็จะไม่มี.

3.2 มะเร็งปากมดลูกระยะ IB2
โดยข้อพิจารณาดังข้างต้นจะเลือกรักษาโดยการผ่าตัดก็ได้ ในบางสถาบันจะให้รังสีรักษาในผู้ป่วยรายนี้ บางสถาบันจะให้ยาเคมีบำบัดก่อนผ่าตัด. อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ผ่าตัดแล้วตรวจพบมะเร็งที่ขอบของชิ้นเนื้อ หรือมีการลุกลามไปที่ parametrium หรือมีการแพร่กระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองก็ต้องตามด้วยรังสีรักษา.

โดยสรุป
ตอบคำถามของคุณสมาชิกว่า การรักษาหลักของมะเร็งปากมดลูกระยะที่ 1 คือ การผ่าตัด หากผ่าตัดไม่ได้ก็ให้รังสีรักษา ถ้าพบว่ามีมะเร็งอยู่นอกขอบเขตของอุ้งเชิงกราน หรือก้อนมะเร็งใหญ่ (IB2) พิจารณาให้ยาเคมีบำบัดร่วมด้วยโดยพิจารณาเป็นรายๆไป.

เอกสารอ้างอิง
แนวทางปฏิบัติในการดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก ISBN 978-974-422-419-4 กรกฎาคม 2550 โดย ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย, ราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่งประเทศไทย, สมาคมรังสีรักษาและมะเร็งวิทยาแห่งประเทศไทย, สมาคมมะเร็งนรีเวชไทย, มะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย, สมาคมเซลล์วิทยาแห่งประเทศไทย, สถาบันมะเร็งแห่งชาติ.

สฤกพรรณ วิไลลักษณ์ พ.บ., รองศาสตราจารย์
ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล

บรรณาธิการ
สุรางค์ เจียมจรรยา พ.บ.
ศาสตราจารย์, ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล

 

ป้ายคำ:
  • โรคเรื้อรัง
  • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • โรคตามระบบ
  • มะเร็ง
  • โรคหู ตา คอ จมูก
  • คุยสุขภาพ
  • ปัญหาวิชาการ
  • มะเร็งปากมดลูก
  • นพ.บุญชู กุลประดิษฐารมณ์
  • รศ.พญ.สฤกพรรณ วิไลลักษณ์
  • ศ.พญ.สุรางค์ เจียมจรรยา
  • อ่าน 5,971 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้
Skip to Top

คำถามสุขภาพ

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • อื่น ๆ

  • สนับสนุนสื่อสุขภาพออนไลน์หมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • คำแนะนำสำหรับประชาชน เรื่อง โรคจากเชื้อแบคทีเรีย อีโคไลชนิดรุนแรง
  • ผ่าตัดฟรีสำหรับเด็ก ที่เป็นโรคหัวใจ
  • สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย (สพท.)

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa