Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » ข้อบ่งชี้ในการใช้ ketotifen ในเด็ก
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

ข้อบ่งชี้ในการใช้ ketotifen ในเด็ก

โพสโดย somsak เมื่อ 1 สิงหาคม 2549 00:00

ถาม   :    ขอทราบข้อบ่งชี้ในการใช้ ketotifen ในเด็ก.

 

                                                                                                                        สมาชิก

ตอบ   :    Ketotifen เป็นยาในกลุ่ม H1-antihistamine ที่ออกฤทธิ์ต่อ histamine receptor และยังมีข้อมูลว่ามีฤทธิ์ mild antiinflammation ที่เป็น  mast cell stabilizer agent คล้ายกับกลุ่มยา cromolyn sodium จึงสามารถใช้ในการรักษาโรคภูมิแพ้ต่างๆในเด็ก ได้แก่ asthma, allergic rhinitis, atopic   eczema และ allergic conjunctivitis โดยผลิตในรูปของยาเม็ด ยาน้ำ และยาหยอดตา.


ข้อบ่งชี้ในการใช้ ketotifen มีดังนี้
1. Asthma มีข้อมูลจากการวิจัยที่สนับสนุนการใช้ ketotifen ในการรักษา mild และ moderate asthma ในเด็กอายุระหว่าง 4 เดือนถึง 18 ปี พบว่ายาทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กที่เป็น wheezing associated respiratory illness ส่วนผลการรักษาในเด็กกลุ่ม allergic asthma ยังมีการศึกษาแบบ randomized controlled trial ไม่มาก จึงยังไม่สามารถสรุปได้ว่าจะได้ผลดีต่อการรักษาหรือไม่. ข้อดีของยา ketotifen คือ เป็นยากินจึงใช้ง่ายกว่ายาพ่น inhaled steroid ซึ่งใช้ยากในเด็กเล็ก. แต่การใช้ยาอาจเกิดผลข้างเคียงได้ เช่น ง่วงนอน (ร้อยละ 21), น้ำหนักเพิ่ม (ร้อยละ 27) เมื่อเทียบกับยาหลอก(ร้อยละ 12 และร้อยละ 17 ตามลำดับ).


2. Allergic rhinitis ด้วยคุณสมบัติทางเภสัชวิทยาดังกล่าว ดยเฉพาะ antihistamine ทำให้ยา ketotifen สามารถใช้รักษาโรค allergic rhinitis ได้ดีทำให้ผู้ป่วยจาม คันจมูก น้ำมูกไหลน้อยลง แต่ไม่มีผลต่ออาการคัดจมูก แต่ประสิทธิผลต่อการรักษายังด้อยกว่ายา intranasal steroid อย่างชัดเจน

3. Atopic dermatitis ด้วยฤทธิ์ antihistamine  จึงสามารถลดอาการคันผิวหนังในผู้ป่วยเด็กโรค atopic dermatitis ได้ แนะนำให้ใช้เป็นยาเสริม เนื่องจากยาหลักที่แนะนำให้ใช้ในการรักษาโรคนี้คือ topical   steroid และการดูแลสุขภาพผิวหนัง ซึ่งสำคัญกว่าการใช้ยา antihistamine.

4. Urticaria และ angioedema ใช้ลดอาการคัน และลดความรุนแรงของผื่นลมพิษได้ โดยเฉพาะ cold urticaria.

5. Allergic conjunctivitis ยา ketotifen ophthalmic solution เป็นยาหยอดตาที่สามารถใช้เป็นประจำในผู้ป่วย allergic conjunctivitis ทำให้อาการคันตาน้อยลง. ผลข้างเคียงที่พบไม่รุนแรง เช่น แสบตา เคืองตา ตาแดง หลังหยอดตา เป็นต้น. 

โดยสรุป ยา ketotifen ใช้เป็นยารักษาโรคภูมิแพ้ต่างๆ ในเด็กได้ดีสำหรับโรคที่มีความรุนแรงระดับ mild และ moderate แต่ขณะใช้ยาควรติดตามดูอาการและผลการรักษาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อปรับเปลี่ยนการรักษาในกรณีที่ไม่ได้ผลหรือมีผลข้างเคียงเกิดขึ้น. ขนาดยาที่แนะนำในเด็กอายุ 6 เดือน-3 ปี คือ 0.05 มก./กก. กินวันละ 2 มื้อ และในเด็กอายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป ใช้ขนาด 1 มก. กินวันละ 2 มื้อ.

 

เอกสารอ้างอิง
 1. Grant SM, Goa KL, Fitton A, Sorkin EM. Ketotifen. A review of its pharmacodynamic and pharmacokinetic, and therapeutic use in asthma and allergic disorders. Drugs 1990;40:412-48.

 2. Bassler D, Mitra A, Ducharme FM, Foster J, Schwarzer G. Ketotifen alone or additional medication for long-term control of asthma wheeze in children. The Cochrane Database of Systemation Reviews 2004, Issue 1. Art. No.: CD001384. DOI:10.1002/14651858.CD001384.pub2.

 3. Visitsunthorn N, Tuchinda M, Vichyanond P. Cold urticaria in Thai children : comparison between 

 4. Fokkens WJ, Scadding GK. Perennial rhinitis in the under 4s : A difficult problem to treat safety and effectively? A comparison of intranasal fluticasone propionate and ketotifen in the treatment of 2-4-year-old children with perennial rhinitis. Pediatr Allergy Immunol 2004;15: 261-6.

 

สุวัฒน์ เบญจพลพิทักษ์ พ.บ., รองศาสตราจารย์ หน่วยโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน ,ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
สุรางค์ เจียมจรรยา พ.บ. ศาสตราจารย์, ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ป้ายคำ:
  • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • คุยสุขภาพ
  • ปัญหาวิชาการ
  • รศ.นพ.สุวัฒน์ เบญจพลพิทักษ์
  • ศ.พญ.สุรางค์ เจียมจรรยา
  • อ่าน 16,897 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้
Skip to Top

คำถามสุขภาพ

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • อื่น ๆ

  • สนับสนุนสื่อสุขภาพออนไลน์หมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • คำแนะนำสำหรับประชาชน เรื่อง โรคจากเชื้อแบคทีเรีย อีโคไลชนิดรุนแรง
  • ผ่าตัดฟรีสำหรับเด็ก ที่เป็นโรคหัวใจ
  • สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย (สพท.)

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa