Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » รักษาไมเกรน ยา 2 ขนานดีกว่าขนานเดียว
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

รักษาไมเกรน ยา 2 ขนานดีกว่าขนานเดียว

โพสโดย Anonymous เมื่อ 1 มกราคม 2551 00:00

Disclaimer : รายงานการศึกษาวิจัยทางการแพทย์มีมากมายมหาศาล ในขณะนี้เป็นสิ่งที่ต้องติดตามเป็นอย่างยิ่ง คอลัมน์นี้ได้สรุปรายงานการศึกษาที่น่าสนใจที่ลงในวารสารทางการแพทย์ที่ผ่าน peer review มาให้สมาชิกทราบ แต่ข้อพึงระวังคือ ไม่ใช่ว่าทุกอย่างที่มีการรายงานการศึกษาจะมีความถูกต้องเป็นสัจจะ เพราะไม่มีอะไรถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์ ในทางการแพทย์ ความรู้ ความเชื่อ ณ วันนี้อาจได้การยอมรับ แต่ความรู้ใหม่ๆ ในวันหน้าก็สามารถลบล้างความรู้ ความเชื่อในวันนี้ได้เช่นกัน.

รักษาไมเกรน ยา 2 ขนานดีกว่าขนานเดียว
Brandes JL, et al. Sumatriptan-naproxen for acute treatment of migraine : a randomized trial. JAMA April 4, 2007;297:1443-54.

ยารักษาไมเกรนมีหลายขนาน แต่การรักษาอาการปวดยังไม่ได้ผลดีในผู้ป่วยบางราย บางรายอาการปวดกลับมาใหม่หลังได้ยา 24 ชั่วโมง. Brandes จึงศึกษาว่าถ้าผู้ป่วยได้ยาร่วมกันหลายขนานน่าจะดีกว่าขนานเดียว. ยา 2 ขนานที่มีกลไกการออกฤทธิ์ ที่แตกต่างกัน คือ NSAIDs และ triptan การใช้ทั้ง 2 ขนานร่วมกันน่าจะช่วยรักษาอาการปวดและช่วยป้องกันการเกิดขึ้นซ้ำอีกหรือไม่.

งานวิจัยนี้ได้การทดลองสองการศึกษา เปรียบเทียบระหว่าง sumatriptan (85 มก.) ร่วมกับ napro-xen (500 มก.) เทียบกับยาแต่ละขนานเดี่ยวๆ และยาหลอก ในผู้ป่วยไมเกรนที่เป็นมานาน 6 เดือนขึ้น ไป อายุระหว่าง 18-65 ปี. การทดลองแรก ผู้ป่วยเป็นอาสาสมัคร 1677 คนเปรียบเทียบกลุ่ม suma-triptan + naproxen, กลุ่ม sumatriptan ขนานเดียว และ naproxen ขนานเดียว และกลุ่มยาหลอก. การทดลองที่สอง มีอาสาสมัคร 1736 คน แบ่งเป็น 4 กลุ่ม เช่นกัน ตัวชี้วัดผลคือ ร้อยละของผู้ป่วยที่มีอาการดีขึ้น หลังได้ยา 2 ชั่วโมง ไม่มีอาการกลัวแสง กลัวเสียง คลื่นไส้.

ผลการศึกษา พบว่าในการทดลองทั้งสอง ยา ร่วม sumatriptan ร่วมกับ naproxen ได้ผลในการรักษาอาการปวดศีรษะหลังจากกินยา 2 ชั่วโมง ได้ดีกว่ายาหลอก. โดยการศึกษาแรกพบว่า เมื่อยา 2 ขนานร่วมกัน ได้ผลลดปวดไมเกรนได้ร้อยละ 65 ส่วน sumatriptan ได้ผลร้อยละ 55, naproxen ได้ผลร้อยละ 44 ส่วนยาหลอกได้ผลร้อยละ 26. ส่วนการศึกษาสองได้ผลว่า การรักษาด้วยยา 2 ขนานร่วมกันได้ผลลดปวดศีรษะได้ร้อยละ 57, ส่วน sumatriptan ได้ผลร้อยละ 50, naproxen ได้ผลร้อยละ 43 ส่วนยาหลอกได้ผลร้อยละ 24.

สำหรับอาการหลังกินยา 24 ชั่วโมง พบว่ากลุ่มใช้ยา 2 ขนานร่วมกันได้ผลดีกว่าการใช้ยาขนานเดียวเช่นกัน. โดยร้อยละ 25 ในกลุ่มได้ยา 2 ขนาน ที่ยังคงไม่ปวดศีรษะหลังได้ยา 24 ชั่วโมง. ส่วนกลุ่ม sumatriptan มีร้อยละ 16, กลุ่ม naproxen ร้อยละ 10 และกลุ่มยาหลอกร้อยละ 8. การศึกษาที่ 2 ก็ได้ผลแบบเดียวกับการศึกษาแรก สำหรับอาการข้างเคียงนั้นไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างกลุ่ม.

สรุปแล้วการใช้ยา sumatriptan ร่วมกับ naproxen ได้ผลเฉียบพลันในการรักษาการปวดศีรษะไมเกรนได้ดีกว่ายาเดี่ยว และผลการรักษาคงอยู่นานเกิน 24 ชั่วโมงได้ดีกว่าด้วย.

รังสีจาก CT อันตรายที่เรามองข้าม
Brenner DJ, et al. Computer Tomography-An Increasing Sourvce of Raiation Exposure. N Engl J Med 2007;357:2277-84.

CT เริ่มมีการใช้เมื่อปี พ.ศ. 2513 หลังจากนั้นมีการใช้มากขึ้นอย่างรวดเร็ว. มีการประมาณว่าในสหรัฐอเมริกา แต่ละปีมีการฉาย CT ในผู้ป่วยรวมกว่า 64 ล้านครั้งต่อปี ในจำนวนนี้เป็นการถ่ายในเด็กกว่า 4 ล้านครั้ง. การที่ใช้ในเด็กมากขึ้นเพราะความก้าว หน้าทางเทคโนโลยีทำให้สามารถถ่ายภาพได้เร็วขึ้น ใช้เวลาในการถ่ายภาพน้อยกว่า 1 วินาที จึงมีการสั่งตรวจในเด็กมากขึ้น เพราะไม่ต้องกังวลว่าเด็กไม่อยู่นิ่ง. สำหรับโรคที่มีการสั่งตรวจโดย CT ในเด็ก เป็นสัดส่วนมากคือในการวินิจฉัยไส้ติ่งอักเสบ แม้ว่ายังมีข้อแย้งกันอยู่ว่าผลจาก CT ไม่ได้ดีกว่าการทำอัลตราซาวนด์.

                                         

สำหรับในผู้ใหญ่ที่มีการใช้มากที่สุด 4 อันดับคือ การตรวจลำไส้ใหญ่ มะเร็งปอด โรคหัวใจ และการฉาย CT ตรวจทั้งตัว.

สำหรับรังสีจาก CT แต่ละครั้งนั้นมากว่าการฉายรังสีเอกซเรย์หลายเท่า เช่น การฉายเอกซเรย์ abdomen นั้นร่างกายได้รับรังสี 0.25 mGy ซึ่งน้อยกว่าการได้รับรังสีจากถ่ายภาพ abdomen ด้วย CT อย่างน้อย 50 เท่า.

กลไกการทำลายของรังสีต่อร่างกายคือพลังงานจากรังสีนั้น แรงพอที่จะกระแทกให้อิเล็กตรอนหลุดวงโคจรรอบอะตอมเกิดอิออนอิสระ ซึ่งจะเป็นตัวทำให้ DNA เสียหาย. ตัวรังสีเองก็ทำให้ DNA เสียหายได้โดยตรง ถ้าการทำลายมีเล็กน้อย เซลล์จะซ่อมแซมได้เองแต่ถ้าเสียหายมากก็จะซ่อมแซมได้ยาก ทำให้กลายพันธุ์แปรเปลี่ยนไปเป็นเซลล์มะเร็ง.

ปัจจุบันข้อมูลการเกิดมะเร็งจากกัมมันตภาพรังสีนั้นได้มาจากการศึกษาในผู้ที่รอดชีวิตจากรังสีปรมาณู. ยังไม่มีข้อมูลที่ได้จากการศึกษาทางระบาดวิทยาขนาด ใหญ่ที่รายงานเกี่ยวกับผลของ CT ต่อการเกิดมะเร็ง เพราะการศึกษานี้ต้องใช้ระยะเวลานานและจำนวนตัวอย่างมาก. แต่จากการคาดประมาณรังสีที่ร่างกายได้รับนั้นประมาณได้ว่าการฉาย CT 2- 3 ครั้งขึ้นไปมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเพิ่มขึ้น จึงคาดว่าปัจจุบัน ร้อยละ 1.5-2 ของมะเร็งในสหรัฐอเมริกานั้น น่าจะเกี่ยวข้องกับการได้รับสีจาก CT และสัดส่วนนี้อาจมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เมื่อจำนวนการฉาย CT มีจำนวนเพิ่มขึ้น.

ความมหัศจรรย์ของภาพถ่าย CT ทำให้แพทย์และผู้ป่วยได้ประโยชน์อย่างยิ่งในการวินิจฉัยโรคที่ภายนอกมองไม่เห็น. แต่ข้อดีนี้ก็ต้องแลกด้วยความเสี่ยงต่อภัยที่แฝงอยู่เช่นกัน. และการเสี่ยงภัยนี้คงไม่คุ้มถ้าเกิดจากการใช้ CT เกินความจำเป็น.
 
วิชัย เอกพลากร พ.บ., Ph.D.
รองศาสตราจารย์, ศูนย์เวชศาสตร์ชุมชน, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี, มหาวิทยาลัยมหิดล

ป้ายคำ:
  • ดูแลสุขภาพ
  • เก็บสาระจากวารสารต่างประเทศ
  • รังสีCT
  • ไมเกรน
  • รศ.นพ.วิชัย เอกพลากร
  • อ่าน 5,136 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้

ข้อมูลสื่อ

277-016
วารสารคลินิก 277
มกราคม 2551
เก็บสาระจากวารสารต่างประเทศ
รศ.นพ.วิชัย เอกพลากร
Skip to Top

บทความสุขภาพน่ารู้

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. ​และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • ทันกระแสสุขภาพ
  • คลังความรู้สื่อสังคมออนไลน์
  • อื่น ๆ

ได้รับความนิยม

  • นม
  • ถั่วพู
  • คนท้อง
  • ธาลัสซีเมีย
  • ผู้สูงอายุ
  • ผักพื้นบ้าน
  • สมุนไพร

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa