ต้นไม้ใบหญ้า

  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 209 กันยายน 2539
    ฟักทอง : สุดยอดผักผลโตแต่โบราณ…คนชั้นต่ำอึดอยู่อึดกิน บนดินแดนอีสานอดอยากเก็บหมากไม้ หมากอึ หมากแตง เอามาแกงกินแลงต่างข้าว… บทเพลงที่ยกมาข้างบนนี้ เป็นเนื้อร้องท่อนหนึ่งของเพลงชื่อ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 208 สิงหาคม 2539
    ฟัก : ผักเนื้อเย็นผิวนวลใย“ให้เย็นเหมือนฟักหนักเหมือนแฟงให้อยู่เหมือนก้อนเส้าเฝ้าเรือนเหมือนแววคราว”ข้อความข้างบนนี้เป็นคำให้พรเด็กในพิธีลงอู่ของเด็กไทยสมัยก่อน หากกล่าวให้เข้าใจง่ายขึ้นก็คือ พิธีนำเด็กลงนอนในเปลนั่นเอง คำให้พรที่ยกมานี้ เสถียรโกเศศ (พระยาอนุมานราชธน) กล่าวว่า คงจะเป็นพรเก่าแก่มาก เพราะเป็นถ้อยคำไทยเดิมอย่างง่ายๆ เช่น ฟัก แฟง ก้อนเส้า และแมวคราว เป็นต้น ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 207 กรกฎาคม 2539
    กระเทียม : อาหารและสมุนไพร ของแท้ที่เป็นสากล “ยอดเยี่ยม กระเทียมดอง”สำนวนภาษาไทยกลางเก่ากลางใหม่ข้างต้นนี้ ผู้อ่านหลายท่านคงเคยได้ยินหรืออาจเคยใช้ด้วยตนเองมาก่อน และคนไทยส่วนใหญ่ก็เข้าใจความหมายของสำนวนนี้ได้ดีว่า สิ่งที่กล่าวถึงนั้นมีคุณสมบัติดีขนาดไหน ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 206 มิถุนายน 2539
    หอม : รสชาติบนหยาดน้ำตาเมื่อผู้เขียนยังเด็ก เคยถูกแม่ใช้ให้โขลกน้ำพริกแกงหลายครั้ง จำได้ว่ากว่าจะมีความชำนาญในการโขลกน้ำพริกแกงก็เสียน้ำตาไปไม่น้อย ซึ่งมิได้เกิดจากถูกแม่ตีเนื่องจากทำครกแตก หรือทำน้ำพริกหกแต่อย่างใด แต่เกิดจากสาเหตุสองประการคือ บางครั้งไม่ระวังจึงถูกน้ำพริกกระเด็นเข้าตา หรือเผลอเอามือที่เปื้อนน้ำพริกไปเช็ดตา ทำให้ตาเกิดอาการแสบร้อน ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 205 พฤษภาคม 2539
    กระชาย ผักพื้นบ้านพลังโสมผู้อ่านคอลัมน์ “ต้นไม้ใบหญ้า” ส่วนใหญ่คงรู้จักสมุนไพรที่ชื่อ “โสม” หรือ ginseng ในภาษาอังกฤษ โสมเป็นสมุนไพรพื้นบ้านของจีนและเกาหลีซึ่งมีชื่อเสียงได้รับความนิยมไปทั่วโลกคุณสมบัติด้านสมุนไพรที่เด่นของโสมก็คือ เชื่อว่าสามารถเพิ่มพลังงานในร่างกายของผู้บริโภคได้ ดังที่ชาวไทยเรียกทีมนักกีฬาเกาหลีว่าทีมพลังโสม เป็นต้น ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 204 เมษายน 2539
    ข่าอีกรสชาติของความร้อนแรงในเครื่องแกงไทย“ขิงก็รา ข่าก็แรง”สำนวนในภาษาไทย ที่ยกมาข้างต้นนี้เป็นสำนวนไทยดั้งเดิมอีกบทหนึ่งซึ่งพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.2525 อธิบายว่า หมายถึง “ต่างก็จัดจ้านพอ ๆ กัน ต่างก็มีอารมณ์ร้อนพอ ๆ กัน ต่างไม่ยอมลดละกัน” ความหมายของสำนวนนี้คนไทยสมัยก่อนเข้าใจกันดี และนำมาใช้กันเสมอ นับได้ว่าเป็นสำนวนยอดนิยมบทหนึ่ง ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 203 มีนาคม 2539
    ขิงความเผ็ดร้อนที่เปี่ยมประโยชน์และรสชาติ“ถึงพริกถึงขิง”สำนวนในภาษาไทยที่ยกมาข้างบนนี้ เป็นสำนวนที่ใช้เป็นคำวิเศษณ์ มีความหมายว่า “เผ็ดร้อนอย่างรุนแรง” คนไทยส่วนใหญ่เข้าใจสำนวนได้ดี เพราะรู้จักทั้งพริกและขิง ซึ่งเป็นพืชผักอันมีลักษณะเด่นในด้านความเผ็ดร้อนด้วยกันทั้งคู่ เมื่อนำมาประกอบกับคำว่า “ถึง” ซึ่งหมายความว่า “มากพอ” (เช่น ถึงอกถึงใจ) ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 202 กุมภาพันธ์ 2539
    ขมิ้น : สีเหลืองที่กินก็ได้ทาก็ได้นกขมิ้นเหลืองอ่อนเอย ค่ำแล้วจะนอนที่ตรงไหนจะนอนที่ไหนก็นอนได้ สุมทุมพุ่มไม้ก็เคยนอน...บทเพลงที่ยกมาข้างต้นนี้ เป็นบทเพลงกล่อมเด็กแถบภาคกลางของไทยชื่อเพลงนกขมิ้น ซึ่งถือว่าเป็นเพลงกล่อมเด็กที่นิยมขับร้องกันแพร่หลายที่สุดเพลงหนึ่ง เนื่องจากมีเนื้อเพลงลึกซึ้งกินใจ แสดงถึงความเมตตาอาหาร ห่วงใย ต่อนกสีเหลืองอ่อนตัวน้อย น่ารัก ซึ่งไร้รังนอน ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 201 มกราคม 2539
    บวบ : ผักผลพื้นบ้าน ดอกนั้นสีงาม“สองเต้าห้อยตุงตังถุงตะเคียว โคนเหี่ยวแห้งรวบเหมือนบวบต้มเสวยสลายาจุกพระโอษฐ์อมมันเน่าเชยน่าชมนางเทวี...”บทกลอนข้างต้นนี้คัดมาจากบทละครเรื่อง ระเด่นลันได ของพระมหามนตรี (ทรัพย์) แต่งไว้ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 นับเป็นหนังสือกลอนชั้นเอกเรื่องหนึ่งจำพวกเรื่องล้อเลียนขบขัน กลอนที่ยกมานั้นเป็นบทชมโฉมนางประแดะ เมื่อระเด่นลันไดมาพบครั้งแรก ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 200 ธันวาคม 2538
    ผักชี : ผักที่เป็นหน้าตาของอาหารไทย“ผักชีโรยหน้า”ข้อความที่ยกมาข้างต้นนี้เป็นสำนวนประเภทเปรียบเทียบที่แพร่หลายที่สุดสำนวนหนึ่งในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ให้ความหมายของสำนวนนี้ว่า “การทำความดีเพียงผิวเผิน” ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่ เข้าใจกันดีและนำไปใช้กันอย่างกว้างขวาง แม้กระทั่งนักร้องยอดนิยม อย่างอัสนี-วสันต์ ยังนำไปแต่งเป็นเพลงฮิตชื่อเพลง ...