Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » ดูแลสุขภาพด้วยตนเอง » ข้อมูลโรคและการรักษา » วัณโรคปอด

วัณโรคปอด

  • อาการ
  • สาเหตุ
  • การรักษา
  • การดูแลตนเอง
  • อื่นๆ

เมื่อวินิจฉัยว่าเป็นวัณโรคปอด แพทย์จะให้ยารักษาวัณโรค โดยทั่วไปจะนิยมใช้สูตรยากิน 6 เดือน 2 เดือนแรกใช้ยา 4 ชนิด ได้แก่ ไอเอ็นเอช (INH) ไรแฟมพิซิน (rifampicin) ไพราซินาไมด์ (pyrazinamide) และอีแทมบูทอล (ethambutol) บางรายอาจใช้ สเตรปโตไมซินชนิดฉีดแทนอีแทมบูทอล แล้วต่อด้วยยา 2 ชนิด ได้แก่ ไอเอ็นเอช และไรแฟมพิซิน อีก 4 เดือน

แพทย์จะย้ำเตือนให้ผู้ป่วยกินยาให้ตรงเวลาทุกวัน ห้ามลืมหรือเว้นบางมื้อหรือบางวัน กำชับให้ญาติช่วยดูแลให้ผู้ป่วยกินยาได้สม่ำเสมอ มิเช่นนั้นอาจทำให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยา ทำให้รักษาไม่ได้ผล หรือต้องเปลี่ยนไปใช้ยาสูตรที่แรงขึ้น
ส่วนผู้ป่วยที่เป็นเอดส์ร่วมกับวัณโรคปอด นอกจากให้ยาต้านไวรัสเอดส์แล้ว ยังต้องให้ยารักษาวัณโรค (ซึ่งเปลี่ยนแปลงสูตรยาที่แตกต่างกันออกไป) เป็นเวลานาน 9 เดือน

แพทย์จะนัดผู้ป่วยมาติดตามผลการรักษาอย่างใกล้ชิด โดยทั่วไปเมื่อใช้ยาได้ 2 สัปดาห์ อาการไข้และไอจะเริ่มทุเลา กินข้าวได้ และน้ำหนักขึ้น

แพทย์จะทำการตรวจเสมหะ (ดูว่าเชื้อหายหมดหรือยัง) เป็นระยะๆ เช่น เมื่อกินยาครบ 2 เดือน 5 เดือน และเมื่อสิ้นสุดการใช้ยารักษา นอกจากนี้อาจทำการเอกซเรย์ปอดดูว่ารอยโรคหายดีหรือยัง

ส่วนผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดตับอักเสบ เช่น ผู้ป่วยดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ มีประวัติเป็นโรคตับอยู่ก่อน หรืออายุมากกว่า 35 ปี เมื่อกินยารักษาวัณโรค ซึ่งอาจทำให้ตับอักเสบได้ แพทย์จะทำการตรวจเลือดดูระดับเอนไซม์ตับ (AST, ALT) เพื่อดูว่ามีการอักเสบของตับเกิดขึ้นหรือไม่

การวินิจฉัย

แพทย์จะวินิจฉัยเบื้องต้น จากที่ผู้ป่วยมีอาการเป็นไข้และไอนานเกิน 1-2 สัปดาห์ขึ้นไป เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ไอออกเป็นเลือด

หากสงสัย จะยืนยันด้วยการเอกซเรย์ปอด ซึ่งจะพบรอยโรคที่กลีบปอดส่วนบนเป็นส่วนใหญ่

นอกจากนี้ จะทำการตรวจหาเชื้อในเสมหะ อย่างน้อย 3 ครั้ง

บางรายอาจทำการทดสอบผิวหนัง ดังที่เรียกว่า “การทดสอบทูเบอร์คูลิน (tuberculin test)” เพื่อยืนยันการติดเชื้อ อาจนำเสมหะไปเพาะหาเชื้อ หรือตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อวัณโรคโดยเทคนิค CPR เป็นต้น

  • อ่าน 44,899 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้

ข้อมูลสื่อ

380-034
นิตยสารหมอชาวบ้าน 380
ธันวาคม 2010
สารานุกรมทันโรค
Skip to Top

คุณไม่สบายตรงไหน

  • ศีรษะหู ตา คอ จมูก ปาก
  • ลำตัวท้อง แขน มือ อวัยวะภายใน
  • ลำตัวส่วนล่างอวัยวะเพศ ขา เท้า
  • อาการทั่วไป ไข้หวัด ผิวหนัง ฯลฯ

ข้อมูลสุขภาพ

  • โรค
  • ยา
  • สมุนไพร
  • ปฐมพยาบาล
Doctor Me

  • สนับสนุนสื่อสุขภาพออนไลน์หมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • คำแนะนำสำหรับประชาชน เรื่อง โรคจากเชื้อแบคทีเรีย อีโคไลชนิดรุนแรง
  • ผ่าตัดฟรีสำหรับเด็ก ที่เป็นโรคหัวใจ
  • สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย (สพท.)
Appstore
GooglePlay

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa