Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » ดูแลสุขภาพด้วยตนเอง » ข้อมูลโรคและการรักษา » ลมบ้าหมู

ลมบ้าหมู

  • อาการ
  • สาเหตุ
  • การรักษา
  • การดูแลตนเอง
  • อื่นๆ

แพทย์จะให้การรักษา ดังนี้

  1. เมื่อตรวจพบว่าเป็นโรคลมบ้าหมูชนิดที่มีสาเหตุ (เช่น เนื้องอกสมอง เลือดออกในสมอง) ก็จะให้การแก้ไขตามสาเหตุ (เช่น ผ่าตัด) และอาจจำเป็นต้องให้ ผู้ป่วยกินยากันชักร่วมด้วย
  2. ส่วนในรายที่เป็นลมบ้าหมูชนิดที่ตรวจไม่พบสาเหตุ หากเคยชักมาเพียง 1 ครั้ง มักจะแนะนำให้ผู้ป่วยปฏิบัติตัว หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการ และเฝ้าดูอาการต่อไป โดยยังไม่ให้ยารักษา เนื่องเพราะผู้ป่วยกลุ่มนี้อาจไม่มีอาการชักอีกตลอดไป (โอกาสชักซ้ำพบได้ประมาณร้อยละ 30-60) ซึ่งไม่คุ้มกับผลข้างเคียงจากยา

    แพทย์จะพิจารณาให้ยากันชักแก่ผู้ป่วย ที่มีอาการกำเริบซ้ำครั้งที่ 2 โดยเริ่มจากยากันชักขั้นพื้นฐาน (ได้แก่ ฟีโนบาร์บิทาล และเฟนิโทอิน) โดยจะเลือกใช้เพียงชนิดใดชนิดหนึ่งก่อน ซึ่งจะค่อยๆ ปรับขนาดยา ทีละน้อยจนสามารถควบคุมอาการได้ ถ้าไม่ได้ผลก็จะเปลี่ยนไปใช้ยาพื้นฐานอีกชนิดหนึ่งแทน ถ้ายังไม่ได้ผล ก็อาจต้องเปลี่ยนไปใช้ยากันชักขั้นสูง เช่น โซเดียมวาลโพรเอต (sodium valproate) คาร์บามาซีพีน (carbama-zepine) โทพิราเมต (topiramate) เป็นต้น ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถควบคุมไม่ให้เกิดอาการกำเริบด้วยยาเพียงชนิดเดียว มีน้อยรายที่อาจต้องให้ยาควบกันตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป เมื่อปรับยาจนสามารถควบคุมโรคได้แล้ว ผู้ป่วยจะต้องกินยาในขนาดนั้นไปเรื่อยๆ เป็นเวลาหลายปีจนปลอดจากอาการชักแล้ว 2-3 ปี (สำหรับเด็ก) และ 5 ปี (สำหรับผู้ใหญ่) จึงเริ่มหยุดยา โดยค่อยๆ ลดลงทีละน้อย ห้ามหยุดยาทันที อาจทำให้เกิดโรคลมชักต่อเนื่องเป็นอันตรายได้

    เมื่อลดยาหรือหยุดยาแล้ว กลับมีอาการชักใหม่ (พบได้ประมาณร้อยละ 25 ในเด็ก และร้อยละ 40-50 ในผู้ใหญ่) ก็จะกลับไปใช้ยาตามขนาดเดิมใหม่ ส่วนในรายที่เคยควบคุมอาการได้ดี แต่ต่อมา กลับมีอาการชัก ทั้งๆ ที่ไม่ได้ปรับลดยาลง แพทย์ก็อาจจำเป็นต้องเพิ่มขนาดยาหรือปรับเปลี่ยนยาใหม่ จนกว่าจะควบคุมอาการได้
  3. ในรายที่ใช้ยารักษาไม่ได้ผล หรือทนต่อผลข้าง-เคียงไม่ได้ อาจต้องส่งปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีที่ซับซ้อนขึ้น และอาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัดสมอง หรือใช้เครื่องกระตุ้นประสาทสมอง

การวินิจฉัย

แพทย์มักจะส่งตรวจพิเศษเพื่อการวินิจฉัยที่แน่ชัด เช่น การตรวจคลื่นสมอง หรืออีอีจี (electroencephalogram หรือ EEG) การเจาะหลัง (lumbar puncture) การถ่ายภาพสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

  • อ่าน 8,655 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้

ข้อมูลสื่อ

363-015
นิตยสารหมอชาวบ้าน 363
กรกฎาคม 2009
สารานุกรมทันโรค
รศ.นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ
Skip to Top

คุณไม่สบายตรงไหน

  • ศีรษะหู ตา คอ จมูก ปาก
  • ลำตัวท้อง แขน มือ อวัยวะภายใน
  • ลำตัวส่วนล่างอวัยวะเพศ ขา เท้า
  • อาการทั่วไป ไข้หวัด ผิวหนัง ฯลฯ

ข้อมูลสุขภาพ

  • โรค
  • ยา
  • สมุนไพร
  • ปฐมพยาบาล
Doctor Me

  • สนับสนุนสื่อสุขภาพออนไลน์หมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • คำแนะนำสำหรับประชาชน เรื่อง โรคจากเชื้อแบคทีเรีย อีโคไลชนิดรุนแรง
  • ผ่าตัดฟรีสำหรับเด็ก ที่เป็นโรคหัวใจ
  • สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย (สพท.)
Appstore
GooglePlay

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa