Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » ดูแลสุขภาพด้วยตนเอง » ข้อมูลโรคและการรักษา » เป็นลม

เป็นลม

  • อาการ
  • สาเหตุ
  • การรักษา
  • การดูแลตนเอง
  • อื่นๆ

แพทย์จะให้การรักษาสาเหตุของอาการเป็นลม

ถ้าเป็นลมธรรมดาซึ่งพบในคนที่สุขภาพแข็งแรงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนหนุ่มสาว และมีเหตุกระตุ้นชัดเจน (เช่น อดนอน หิวข้าว ตกใจ กลัว อยู่ในที่แออัด หรือกลางแดด เป็นต้น) ก็ไม่จำเป็นต้องให้ยารักษาแนะนำให้หลีกเลี่ยงเหตุกระตุ้นต่างๆ ยกเว้นในรายที่มีอาการกำเริบซ้ำซาก ก็ควรจะกลับไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุให้แน่ชัดอีกครั้ง

ถ้าเป็นลมเนื่องจากกิริยาบางอย่าง ก็ให้หลีกเลี่ยงกิริยากระตุ้นให้กำเริบ เช่น (อย่าหันคอเร็วๆ ใช้มีดโกนหนวดแทนเครื่องโกนหนวดไฟฟ้า อย่าใส่เสื้อคอคับ กินยาระงับการไอ เป็นต้น) และให้ดื่มน้ำให้มากพออย่าให้ร่างกายขาดน้ำ

ถ้าเป็นลมเนื่องจากความดันต่ำในท่ายืน ก็ให้การรักษาตามสาเหตุ (เช่น ถ้าเกิดจากยา ก็จะปรับเปลี่ยนยาให้เหมาะสม ถ้าเกิดจากภาวะขาดน้ำ ก็ให้สารน้ำหรือน้ำเกลือทางปากหรือทางหลอดเลือดดำ เป็นต้น) แนะนำให้ผู้ป่วยลุกขึ้นจากท่านอนอย่างช้าๆและนั่งบนเตียงสักพักหนึ่งก่อนจะลุกขึ้นยืน ในบางรายแพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยสวมถุงน่องรัดขา (compression stocking) หรือให้ยา เช่น ฟลูโดคอร์ติโซน (fludocortisone) เพื่อเพิ่มปริมาตรของเลือดในหลอดเลือด

ถ้าเป็นลมเนื่องจากโรคหัวใจหรือโรคหลอดเลือดสมอง ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง เพื่อให้การรักษาตามสาเหตุ โดยใช้ยา เช่น ยาควบคุมเบาหวาน ความดันเลือด ไขมันในเลือด ยาต้านภาวะหัวใจล้มเหลว ยาขยายหลอดเลือดหัวใจ ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (เช่น แอสไพริน) เป็นต้น บางราย (เช่น ผู้ป่วยลิ้นหัวใจตีบ หลอดเลือดหัวใจตีบ) อาจต้องผ่าตัดผู้ป่วยกลุ่มนี้ ในช่วงแรกอาจต้องรับตัวรักษาไว้ในโรงพยาบาล เพื่อสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด

การวินิจฉัย

เบื้องต้นแพทย์จะซักถามประวัติอาการเจ็บป่วย (เช่น จะซักถามลักษณะอาการที่เป็นเหตุที่กระตุ้นให้เกิดอาการ ประวัติโรคประจำตัวและการใช้ยา เป็นต้น) และทำการตรวจร่างกายอย่างถี่ถ้วน โดยเฉพาะอาการทางโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง เพื่อแยกแยะชนิดของอาการเป็นลม

ถ้าสงสัยว่ามีสาเหตุจากโรคหัวใจ หรือโรคหลอดเลือดสมอง แพทย์จะทำการตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น ตรวจคลื่นหัวใจ เอกซเรย์ ถ่ายภาพสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ตรวจเลือด เป็นต้น

  • อ่าน 24,904 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้

ข้อมูลสื่อ

320-011
นิตยสารหมอชาวบ้าน 320
ธันวาคม 2005
สารานุกรมทันโรค
รศ.นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ
Skip to Top

คุณไม่สบายตรงไหน

  • ศีรษะหู ตา คอ จมูก ปาก
  • ลำตัวท้อง แขน มือ อวัยวะภายใน
  • ลำตัวส่วนล่างอวัยวะเพศ ขา เท้า
  • อาการทั่วไป ไข้หวัด ผิวหนัง ฯลฯ

ข้อมูลสุขภาพ

  • โรค
  • ยา
  • สมุนไพร
  • ปฐมพยาบาล
Doctor Me

  • สนับสนุนสื่อสุขภาพออนไลน์หมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • คำแนะนำสำหรับประชาชน เรื่อง โรคจากเชื้อแบคทีเรีย อีโคไลชนิดรุนแรง
  • ผ่าตัดฟรีสำหรับเด็ก ที่เป็นโรคหัวใจ
  • สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย (สพท.)
Appstore
GooglePlay

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa