Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » ดูแลสุขภาพด้วยตนเอง » คุณไม่สบายตรงไหน - อาการทั่วไป » ความดันเลือดสูง

ความดันเลือดสูง

มักไม่มีอาการ จะวินิจฉัยได้จากการตรวจวัดความดันเลือดเท่านั้น จึงควรตรวจเช็กความดันเลือดอย่างน้อยปีละครั้ง. ในผู้ใหญ่จะถือว่าความดันเลือดสูงเมื่อวัดความดันเลือดได้เท่ากับหรือมากกว่า 140/90 มม. ปรอท ขณะพัก (ไม่ใช่ในขณะออกกำลัง หงุดหงิด เจ็บปวดหรืออื่นๆ) และต้องวัดได้เช่นนี้หลายๆ ครั้ง ห่างกันครั้งละ 1-2 สัปดาห์.

โรคนี้มักจะเป็นเรื้อรังตลอดชีวิต, หากรักษาไม่จริงจังอาจมีโรคแทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจ, โรคไตพิการ, อัมพาต, หลอดเลือดฝอยในสมองแตก, ตามัวตาบอด และอายุสั้น.

ถ้าเป็นโรคนี้ ควรปฏิบัติตัวดังนี้

  1. ตรวจวัดความดันที่สถานพยาบาลใกล้บ้านเป็นประจำ แม้จะรู้สึกสบายดี เพราะความดันเลือดอาจสูงได้โดยไม่มีอาการอะไร.
  2. งดอาหารเค็มจัด (เช่น ปลาเค็ม, เนื้อเค็ม, ไข่เค็ม) ควรกินอาหารที่จืด (รสอื่นกินได้ถ้าไม่มีโรคอื่น). งดอาหารที่ใส่ผงชูรส ผงฟู หรือสารกันบูด ซึ่งมีสารโซเดียม งดเครื่องดื่มที่ใส่เกลือแร่.
  3. ลดอาหารพวกไขมัน แป้ง และน้ำตาล, ต้องลดน้ำหนักตัวถ้าอ้วนไป.
  4. งดเหล้าและบุหรี่.
  5. กินผักและผลไม้ให้มากๆ (ยกเว้นผลไม้หวานจัดในคนอ้วนหรือเป็นเบาหวาน).
  6. ออกกำลังกาย (เข่น เดินเร็ว วิ่งเหยาะๆ ว่ายน้ำ) เป็นประจำ, อย่าออกกำลังที่ต้องกลั้นหายใจและเบ่ง (เช่น ยกน้ำหนัก, วิดพื้น).
  7. ทำจิตใจให้สงบ, หลีกเลี่ยงจากสิ่งที่ทำให้หงุดหงิด โมโห ตื่นเต้น หรือเครียด.
  8. ผู้หญิงที่เป็นโรคนี้ ควรงดยาคุมกำเนิด ให้คุมโดยวิธีอื่น. ถ้างดยาคุมกำเนิดแล้วความดันเลือดกลับเป็นปกติ แสดงว่าความดันเลือดสูงเกิดจากยาคุมกำเนิด.
  9. กินยาสม่ำเสมอตามหมอสั่ง, อย่าหยุดยา ลดยา หรือเพิ่มยาด้วยตนเอง ยกเว้นตามที่หมอแนะนำไว้.
  10. ถ้ามีอาการผิดปกติ ควรกลับไปปรึกษาหมอที่รักษาโดยเร็ว.
  • อ่าน 4,354 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้

โรคที่เกี่ยวข้อง

  • โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
  • คอพอกเป็นพิษ
  • ความดันเลือดสูง
Skip to Top

คุณไม่สบายตรงไหน

  • ศีรษะหู ตา คอ จมูก ปาก
  • ลำตัวท้อง แขน มือ อวัยวะภายใน
  • ลำตัวส่วนล่างอวัยวะเพศ ขา เท้า
  • อาการทั่วไป ไข้หวัด ผิวหนัง ฯลฯ

ข้อมูลสุขภาพ

  • โรค
  • ยา
  • สมุนไพร
  • ปฐมพยาบาล
Doctor Me

  • สนับสนุนสื่อสุขภาพออนไลน์หมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • คำแนะนำสำหรับประชาชน เรื่อง โรคจากเชื้อแบคทีเรีย อีโคไลชนิดรุนแรง
  • ผ่าตัดฟรีสำหรับเด็ก ที่เป็นโรคหัวใจ
  • สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย (สพท.)
Appstore
GooglePlay

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa