• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

อันตรายจากสารเคมีใกล้ตัว

อันตรายจากสารเคมีใกล้ตัว
ทุกวันนี้คนเราล้วนมีชีวิตเกี่ยวข้องกับสารเคมีชนิดต่าง ๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เฉพาะผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมในบ้านก็มีมากมายจนแทบจะไม่รู้ว่าจะเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ชนิดไหนดี และสิ่งที่สำคัญคือ เราลืมไปว่าผลิตภัณฑ์เหล่านี้เป็นสารเคมีอันตราย ที่ต้องใช้ด้วยความเข้าใจและระมัดระวัง เพื่อ ความปลอดภัย

ผลิตภัณฑ์เหล่านี้แบ่งออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1.สารเคมีป้องกันและกำจัดแมลง ยาฉีดกันยุง สเปรย์ฆ่าแมลง ยากำจัดมด ปลวก เหยื่อกำจัดแมลงสาบ อาการไม่พึงประสงค์ เวียน หรือปวดศีรษะ อ่อนเพลีย แน่นหน้าอกหายใจลำบาก ชัก หรือหัวใจหยุดเต้น
2.น้ำยาทำความสะอาด น้ำยาล้างห้องน้ำ น้ำยาทำความสะอาดเตา โลหะ เครื่องเงิน น้ำยาเช็ดกระจก น้ำยาทำความสะอาดพรม เบาะ อาการไม่พึงประสงค์ ระคายเคืองผิวหนัง และระบบทางเดินหายใจ
3. น้ำยาซักล้าง ผงซักฟอก น้ำยาซักแห้งและน้ำยาซักผ้าขาว น้ำยาปรับผ้านุ่ม อาการไม่พึงประสงค์ ระคายเคืองตา ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย หายใจไม่สะดวก
4. สารกำจัดกลิ่น ผลิตภัณฑ์ที่นิยมใช้ในห้องน้ำ ตู้เสื้อผ้า อาการไม่พึงประสงค์ หายใจไม่สะดวก มีอาการสั่น กล้ามเนื้อหดเกร็ง เสียความทรงจำ

แนวทางป้องกันเพื่อชีวิตที่ปลอดภัยควรทำดังนี้ ทุกครั้งที่ใช้ต้องแน่ใจว่าอ่านฉลากอย่างละเอียดและปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด ใช้ในปริมาณที่จำเป็น และไม่คิดเอาเองว่าการเพิ่มปริมาณการใช้จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของสารเคมี และที่สำคัญ คือห้ามใช้รวมกันหลาย ๆ ประเภท ยกเว้นว่าระบุให้ใช้ร่วมกับผลิตภัณฑ์ชนิดอื่นๆ ได้ ใช้ในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก แต่ถ้าจำเป็นต้องใช้ในห้อง ควรเปิดหน้าต่างหรือใช้พัดลมระบายอากาศ ล้างภาชนะที่ใช้ให้สะอาดทุกครั้งและเก็บในที่มิดชิด ปลอดภัยและพ้นจากมือเด็ก หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนถ่ายบรรจุภัณฑ์ โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์ที่เคยใช้บรรจุอาหาร ซึ่งอาจทำให้เกิดความสับสนในการใช้งาน หรือนำไปใช้อย่างไม่ถูกต้อง หญิงมีครรภ์ควรงดใช้เพื่อป้องกันอันตรายต่อเด็กและทำความสะอาดร่างกายทุกครั้งหลังการใช้ผลิตภัณฑ์ ลดการใช้หรือหาทางเลือกอื่น ๆ ทดแทน

เมื่อเกิดอุบัติเหตุเช่นมีกรดหรือด่างหกรดร่างกาย ต้องล้างด้วยน้ำสะอาดมาก ๆ เพื่อเจือจางความเข้มข้น ถ้ารับประทานเข้าไปควรนำส่งโรงพยาบาลพร้อมกับผลิตภัณฑ์ชนิดนั้นๆ เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้องและทันท่วงที

(เครดิตข้อมูล : คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล)