• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

พลับพลึง : แก้เคล็ดขัดยอก

พลับพลึง : แก้เคล็ดขัดยอก
พลับพลึงมีหลายสายพันธุ์ เช่น พลับพลึงด่าง พลับพลึงแดง พลับพลึงทอง พลับพลึงแมงมุม พลับพลึงเตือน พลับพลึงใหญ่ ฯลฯ ดอกพลับพลึงมีกลิ่นหอม ออกดอกตลอดปี คนไทยพบเห็นต้นพลับพลึงอยู่เสมอ จึงนำมาเปรียบกับข้าวที่ออกรวงจวนจะแก่จัดว่าเป็น “ระยะพลับพลึง” คือใบยังเขียวอยู่ เมล็ดข้าว เปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีครีม ยังไม่เป็นสีเหลือง ชาวนานิยมเกี่ยวข้าวระยะนี้

สรรพคุณทางยา
- ราก : ใช้ตำพอกแผล ใช้รักษาพิษยางน่อง
- เหง้า : จะเป็นพิษ การระคายเคืองเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้ ต้องระวัง
- หัวใช้ : เป็นยาบำรุง ยาระบาย
- ใบ : รสเอียน ประคบแก้เคล็ดยอก ขัดแพลง และถอนพิษได้ดี ต้มกินมากทำให้อาเจียนเป็นเสมหะ หมอพื้นบ้านนิยมนำใบพลับพลึงมาลนไฟให้ตายนึ่ง
แล้วพันตามอวัยวะที่เคล็ดขัดยอกและบวม หรือหักแพลง ถอนพิษได้ดี แถบสุพรรณบุรีใช้ใบลนไฟ รักษาโรคไส้เลื่อนด้วย
- กาบใบที่ประกอบเป็นลำต้น มีสีขาวอวบหนา นิยมนำมาทำกระทงใส่ธูปเทียนลอยในวันลอยกระทง
- เมล็ด : เป็นยาบำรุง ยาระบาย ขับเลือดประจำเดือน และขับปัสสาวะ

(เครดิตภาพ : priraya, ปะการังหอม)

** สมุนไพรใกล้ตัว มุ่งเสนอสรรพคุณทางยา การนำไปใช้ควรพิจารณาอย่างรอบด้าน **