• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

Sexual Well-being ช่วยให้ชีวิตยืนยาวและมีสุข

  สุขภาวะทางเพศหรือ Sexual well-being หมายถึงการมีชีวิตทางเพศที่เป็นสุขและปลอดภัย  เป็นการเชื่อมโยงระหว่างสุขภาวะทางเพศระดับบุคคลกับระดับสังคมที่จะต้องประสานสอดคล้องกันอย่างกลมกลืน

            สุขภาวะทางเพศเป็นส่วนหนึ่งของการมีสุขภาพที่ดี ซึ่งนำไปสู่การมีชีวิตที่ยืนยาวอย่างมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีอันเป็นสิ่งที่ปรารถนาของมนุษย์ทุกคน

            พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติฉบับ 3 มีนาคม พ.ศ. 2550 ได้ให้คำจำกัดความของ  “สุขภาพ” ว่า สุขภาพหมายถึงภาวะของมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต ทางปัญญา และทางสังคม  เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวมอย่างสมดุลย์  ปัญญา หมายถึง ความรู้ทั่ว  รู้เท่าทันและความเข้าใจอย่างแยกได้ในเหตุผลแห่งความดี  ความชั่ว  ความมีประโยชน์และความมีโทษ ซึ่งนำไปสู่ความมีจิตอันดีงามและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
 
 

สุขภาวะทางเพศระดับบุคคล

              การจะมีสุขภาวะทางเพศที่ดีนั้นต้องเริ่มต้นที่ตนเอง จากนั้นจึงจะพัฒนาความสัมพันธ์ไปสู่คู่ครองและบุคคลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในสังคมและประสานสัมพันธ์เพื่อให้ก่อประโยชน์แก่การอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข  และมีความสมดุลย์ในมิติต่างๆ ทางสังคมอย่างกลมกลืน

             สุขภาพทางเพศระดับบุคคลนั้นมีลักษณะที่สำคัญประกอบไปด้วย การที่สามารถแสดงออกทางเพศและตัดสินใจได้ด้วยตนเองอย่างเป็นอิสระโดยไม่มีการบังคับทั้งทางกายและวาจาจากผู้หนึ่งผู้ใดนอกจากนี้การแสดงออกทางเพศนั้นจะต้องไม่ไปรบกวนหรือละเมิดผู้อื่น  มีความเป็นส่วนตัวและเคารพต่อวิถีทางเพศที่ต่างจากตนเอง  มีสัมพันธภาพทางเพศที่เกื้อกูลและสนับสนุนซึ่งกันและกัน    ไม่มีการบังคับให้ปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติ  รวมทั้งไม่ใช้ความรุนแรงในเรื่องของสัมพันธภาพและการแสดงออกทางเพศและมีความคิดในด้านบวกต่อสัมพันธภาพและการแสดงออกทางเพศ

           เมื่อได้พัฒนาสุขภาวะทางเพศของตนเองเป็นอย่างดีแล้วก็จะนำความสงบสุขมาสู่สังคมแห่งการปรองดองและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ในระดับอื่นๆ ต่อไป

 

สุขภาวะทางเพศระดับสังคม

           สังคมจะสามารถดำรงคงอยู่อย่างมีความสงบสุขได้นั้น รัฐบาลจะต้องยอมรับในเรื่องของสุขภาวะทางเพศรวมทั้งสิทธิทางเพศอันเป็นหนึ่งในสิทธิมนุษยชนขั้นมูลฐานในอันที่จะใช้ปัญญานำทางในการส่งเสริมสัมพันธภาพทางเพศและการพัฒนาการทางสุขภาวะทางเพศของแต่ละบุคคล จะต้องมีการรับรองสิทธิทางเพศที่เป็นสิทธิพื้นฐานของมนุษยชน  มีกระบวนการทางสังคมและบังคับใช้กฏหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม   มีการให้ความรู้ทางเพศ(เพศศึกษา)ที่ถูกต้องและเหมาะสม   มีโครงสร้างทางสังคมที่เอื้ออำนวยต่อการให้บริการด้านอนามัยเจริญพันธ์อันได้แก่  การให้คำปรึกษาก่อนสมรส  การวางแผนครอบครัว  การเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์และการมีบุตร  การคุมกำเนิดที่ถูกวิธีและเหมาะสมแก่สภาพของแต่ละบุคคล  รวมทั้งมีการให้บริการรักษาภาวะการมีบุตรยากอย่างมีประสิทธิภาพ

             นอกจากนี้ยังต้องมีระบบการป้องกันและการรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างมีประสิทธิภาพ   มีหน่วยงานที่ให้คำปรึกษาปัญหาทางเพศรวมทั้งมีสายด่วนรับปรึกษาเบื้องต้นหรือในรายที่ไม่ต้องการเปิดเผยตน

 

ขอบคุณ ambbet สล็อต