Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » ดูแลสุขภาพด้วยตนเอง » ข้อมูลโรคและการรักษา » หน่วยไตอักเสบเฉียบพลัน

หน่วยไตอักเสบเฉียบพลัน

  • อาการ
  • สาเหตุ
  • การรักษา
  • การดูแลตนเอง
  • อื่นๆ

ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ร่วมกับอาการบวมทั้งตัว (หนังตาบวม หน้าบวม ท้องบวม เท้าบวม 2 ข้าง) และปัสสาวะออกมาเป็นสีแดงเหมือนน้ำล้างเนื้อหรือน้ำหมาก

ถ้าเป็นรุนแรง อาจมีอาการปัสสาวะออกน้อย หอบเหนื่อย หรือชัก

อาจมีประวัติว่ามีอาการเจ็บคอ (ทอนซิลอักเสบ) หรือเป็นแผลพุพอง หรือผิวหนังอักเสบมาก่อนสัก 1-4 สัปดาห์

การดำเนินโรค

หากได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ส่วนใหญ่จะหายได้ อาการทั่วไปจะดีขึ้นภายใน 2-3 สัปดาห์ แต่ควรตรวจปัสสาวะบ่อยๆ ต่อไปอีกหลายเดือน

ประมาณร้อยละ 2 อาจกลายเป็นหน่วยไตอักเสบเรื้อรัง

ในรายที่เป็นรุนแรง หรือไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องก็อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน ประมาณร้อยละ 2 อาจเสียชีวิตได้

บางรายแม้ว่าอาการจะหายดีแล้ว เมื่ออายุมากขึ้น อาจกลายเป็นโรคความดันเลือดสูง หรือเกิดภาวะไตวายเรื้อรังได้

ภาวะแทรกซ้อน

ในรายที่มีความดันเลือดสูงรุนแรง อาจเกิดอาการทางสมอง เช่น ชัก ไม่ค่อยรู้สึกตัว

บางรายอาจพบภาวะปอดบวมน้ำ (pulmonary edema) ทำให้มีอาการหายใจหอบเหนื่อย

บางรายอาจมีภาวะไตวายเฉียบพลัน หรือไตวายเรื้อรังตามมาได้

การแยกโรค

อาการบวมทั้งตัว อาจเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น

  • โรคไตเนโฟรติก (nephritic syndrome) ซึ่งเป็นโรคไตอักเสบชนิดหนึ่ง ที่ทำให้ร่างกายมีการสูญเสียโปรตีนออกมาทางปัสสาวะ เนื่องเพราะความผิดปกติของหน่วยไต ผู้ป่วยจะมีอาการบวมทั้งตัว แต่ปัสสาวะออกมากและไม่มีไข้
  • ภาวะหัวใจล้มเหลว (congestive heart failure) ผู้ป่วยจะมีอาการเท้าบวม 2 ข้าง และหายใจหอบเหนื่อย นอนราบ (หนุนหมอนใบเดียว) ไม่ได้เพราะรู้สึกแน่น อึดอัด หายใจลำบาก
  • ภาวะขาดอาหาร เด็กที่ขาดอาหารโดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรตีน จะมีอาการบวมทั้งตัว โดยที่ถ่ายปัสสาวะเป็นปกติ

ส่วนปัสสาวะออกเป็นสีแดง อาจเกิดจากโรคนิ่วในไต หรือเนื้องอกในไต ซึ่งมักจะไม่มีอาการบวมหรือมีไข้ร่วมด้วย

  • อ่าน 16,485 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้

ข้อมูลสื่อ

374-013
นิตยสารหมอชาวบ้าน 374
มิถุนายน 2010
สารานุกรมทันโรค
Skip to Top

คุณไม่สบายตรงไหน

  • ศีรษะหู ตา คอ จมูก ปาก
  • ลำตัวท้อง แขน มือ อวัยวะภายใน
  • ลำตัวส่วนล่างอวัยวะเพศ ขา เท้า
  • อาการทั่วไป ไข้หวัด ผิวหนัง ฯลฯ

ข้อมูลสุขภาพ

  • โรค
  • ยา
  • สมุนไพร
  • ปฐมพยาบาล
Doctor Me

  • สนับสนุนสื่อสุขภาพออนไลน์หมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • คำแนะนำสำหรับประชาชน เรื่อง โรคจากเชื้อแบคทีเรีย อีโคไลชนิดรุนแรง
  • ผ่าตัดฟรีสำหรับเด็ก ที่เป็นโรคหัวใจ
  • สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย (สพท.)
Appstore
GooglePlay

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)< และสถาบัน ChangeFusion< พัฒนาระบบโดย Opendream< สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa <