Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » ดูแลสุขภาพด้วยตนเอง » ข้อมูลโรคและการรักษา » โรคคุชชิ่ง พิษจากยาชุดลูกกลอน

โรคคุชชิ่ง พิษจากยาชุดลูกกลอน

  • อาการ
  • สาเหตุ
  • การรักษา
  • การดูแลตนเอง
  • อื่นๆ

มักจะค่อยๆ เกิดขึ้นช้าๆ เป็นแรมเดือน ในระยะแรกจะพบว่าผู้ป่วยหน้าอูมขึ้น จนหน้ากลมเป็นวงพระจันทร์และออกสีแดงเรื่อๆ มีก้อนไขมันเกิดขึ้นที่ต้นคอด้านหลัง (อยู่ระหว่างไหล่ทั้งสองข้าง) แลดูเป็นหนอก ซึ่งทางภาษาแพทย์เรียกว่า อาการหนอกควาย (buffalo's hump) รูปร่างอ้วน โดยจะอ้วนมากตรงเอว (พุงป่อง) แต่แขนขากลับลีบเล็กลง ผู้ป่วยจะรู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย และซึมเศร้า

ผิวหนังจะออกเป็นลายสีคล้ำๆ ที่บริเวณท้อง (ท้องลายคล้ายคนหลังคลอด) และบริเวณสะโพก ผิวหนังบาง และมีจ้ำเขียวพรายย้ำง่ายเวลาถูกกระทบกระแทก

มักมีสิวขึ้นและมีขนอ่อนขึ้นที่หน้า (ถ้าพบในผู้หญิง ทำให้ดูว่าคล้ายมีหนวดขึ้น) ลำตัวและแขนขา กระดูกอาจผุกร่อน มักทำให้มีอาการปวดหลัง (เพราะกระดูกสันหลังผุ)

อาจมีความดันเลือดสูง หรือมีอาการของเบาหวาน

ผู้หญิงอาจมีเสียงแหบห้าว และมีขนมากแบบผู้ชาย ประจำเดือนมักจะออกน้อยหรือไม่มาเลย

ผู้ป่วยอาจไม่มีความรู้สึกทางเพศ อาจมีอารมณ์แปรปรวน หรือกลายเป็นโรคจิต

การดำเนินโรค

หากได้รับการรักษาที่ถูกต้อง มักจะหายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเกิดจากการใช้สารสตีรอยด์สังเคราะห์มากเกิน
ส่วนในรายที่เกิดจากเนื้องอกชนิดไม่ร้าย หลังได้รับการผ่าตัดก็มักจะหายได้ แต่อาจต้องกินยาสตีรอยด์ทดแทนไปตลอดชีวิต ในบางรายอาจมีเนื้องอกกำเริบ จนมีอาการของโรคคุชชิ่งขึ้นใหม่ได้อีก ส่วนในรายที่ไม่ได้รับการรักษา ก็มักจะมีภาวะแทรกซ้อน จนเกิดความพิการหรือเสียชีวิตได้

ภาวะแทรกซ้อน

หากไม่ได้รับการรักษา อาจมีภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันเลือดสูงและเบาหวาน เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หัวใจวาย อัมพาต ไตวาย เป็นต้น

ผู้ป่วยมักมีภูมิคุ้มกันต่ำ ติดเชื้อง่าย เช่น เป็นฝี พุพอง โรคเชื้อราตามผิวหนัง ทางเดินปัสสาวะอักเสบ วัณโรคปอด เป็นต้น บางรายอาจมีการติดเชื้อรุนแรง จนเกิดภาวะเลือดเป็นพิษ ถึงเสียชีวิตได้

นอกจากนี้ ยังอาจมีภาวะกระดูกพรุน (ทำให้กระดูกสันหลังและกระดูกสะโพกหักง่าย) เป็นแผลหายยาก เป็นนิ่วในไต ต้อหิน ต้อกระจก

เด็กที่เป็นโรคนี้ จะเจริญเติบโตช้า เนื่องจากจะมีการกดการสร้างกระดูก ที่สำคัญ ในรายที่เป็นโรคคุชชิ่งจากการใช้สารสตีรอยด์มากเกิน หากมีการหยุดกินสารสตีรอยด์ทันทีทันใด จะเกิดภาวะขาดสตีรอยด์เฉียบพลัน และเกิดภาวะช็อกจนเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อร่างกายเผชิญกับความเครียด

การแยกโรค

โรคนี้บางครั้งดูคล้ายคนอ้วน หรือน้ำหนักขึ้น ซึ่งจะไม่มีอาการอื่นๆ ที่พบในโรคคุชชิ่ง เช่น แขนขาลีบเล็ก อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย จ้ำเขียวพรายย้ำ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม เมื่อพบผู้ที่มีน้ำหนักตัวขึ้นอย่างผิดสังเกต ก็อย่าลืมถามประวัติการใช้ยาชุด ยาหม้อ ยาลูกกลอน และยาสตีรอยด์

  • อ่าน 9,970 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้
Skip to Top

คุณไม่สบายตรงไหน

  • ศีรษะหู ตา คอ จมูก ปาก
  • ลำตัวท้อง แขน มือ อวัยวะภายใน
  • ลำตัวส่วนล่างอวัยวะเพศ ขา เท้า
  • อาการทั่วไป ไข้หวัด ผิวหนัง ฯลฯ

ข้อมูลสุขภาพ

  • โรค
  • ยา
  • สมุนไพร
  • ปฐมพยาบาล
Doctor Me

  • สนับสนุนสื่อสุขภาพออนไลน์หมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • คำแนะนำสำหรับประชาชน เรื่อง โรคจากเชื้อแบคทีเรีย อีโคไลชนิดรุนแรง
  • ผ่าตัดฟรีสำหรับเด็ก ที่เป็นโรคหัวใจ
  • สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย (สพท.)
Appstore
GooglePlay

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa