Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » ดูแลสุขภาพด้วยตนเอง » ข้อมูลโรคและการรักษา » ตับแข็ง

ตับแข็ง

  • อาการ
  • สาเหตุ
  • การรักษา
  • การดูแลตนเอง
  • อื่นๆ

ระยะแรกเริ่ม อาจไม่มีอาการผิดปกติชัดเจน จนเมื่อเซลล์ตับถูกทำลายเป็นจำนวนมาก ก็จะมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ น้ำหนักลด เท้าบวม ดีซ่าน (ตาเหลือง ตัวเหลือง) คันตามตัว อาจรู้สึกเจ็บบริเวณชายโครงขวาเล็กน้อย ความรู้สึกทางเพศลดลง

บางรายอาจสังเกตเห็นฝ่ามือแดงผิดปกติ หรือจุดแดงที่หน้าอก หน้าท้อง

ในผู้หญิงอาจมีอาการประจำเดือนขาด หรือมาไม่สม่ำเสมอ มีหนวดขึ้น หรือเสียงแหบห้าวคล้ายผู้ชาย

ในผู้ชายอาจมีอาการนมโตและเจ็บ อัณฑะฝ่อตัว องคชาตไม่แข็งตัว

ในระยะท้ายของโรค (หลังจากเป็นตับแข็งอยู่หลายปี หรือผู้ป่วยยังคงดื่มสุราจัด) ผู้ป่วยจะมีอาการท้องบวม (มีน้ำในท้องหรือท้องมาน) หลอดเลือดขอดที่ขา หลอดเลือดพองที่หน้าท้อง อาเจียนเป็นเลือดสด เนื่องจากมีหลอดเลือดขอดที่หลอดอาหาร แล้วเกิดการปริแตกขึ้นมา มีจุดแดงจ้ำเขียวตามตัว

ในที่สุดเมื่อเซลล์ตับถูกทำลายจนหมดสิ้น ผู้ป่วยมักจะมีอาการผิดปกติทางสมอง เกิดอาการซึม เพ้อ มือสั่น ค่อยๆ ไม่รู้สึกตัวลงจนกระทั่งหมดสติ

การดำเนินโรค

โรคนี้ถ้าเป็นระยะแรกเริ่มและปฏิบัติตัวได้เหมาะสม (ไม่ดื่มสุราอย่างเด็ดขาด) จะสามารถมีชีวิตได้นานเกิน 5-10 ปีขึ้นไป

แต่ถ้าปล่อยให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ท้องมาน อาเจียนเป็นเลือด ก็อาจอยู่ได้ 2-5 ปี (ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยอาจอยู่ได้เกิน 5 ปี)

ภาวะแทรกซ้อน

ผู้ป่วยตับแข็งมักมีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ ทำให้เป็นโรคติดเชื้อได้ง่าย เช่น ปอดอักเสบ วัณโรคปอด

ในระยะท้ายของโรค ผู้ป่วยมักมีหลอดเลือดขอดที่หลอดอาหาร ซึ่งมีโอกาสปริแตก อาเจียนเป็นเลือดรุนแรง อาจถึงช็อกและเสียชีวิตได้ นอกจากนี้มักเกิดภาวะตับวาย (ตับทำงานไม่ได้) ทำให้มีอาการทางสมอง เช่น ซึม เพ้อ หมดสติ

นอกจากนี้ ยังพบว่ามีโอกาสเป็นมะเร็งตับสูงกว่าคนปกติ

การแยกโรค

อาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ดีซ่าน อาจเกิดจากโรคตับอักเสบจากไวรัสชนิดเฉียบพลันและชนิดเรื้อรัง ซึ่งมักจะแยกจากโรคตับแข็งได้ค่อนข้างยาก อาจจำเป็นต้องอาศัยการตรวจทางห้องปฏิบัติการในการวินิจฉัย

อาการน้ำหนักลดและท้องบวม (ท้องมาน) อาจเกิดจากมะเร็งตับ มะเร็งของอวัยวะอื่นๆ ในช่องท้อง (เช่น รังไข่ กระเพาะอาหาร)

  • อ่าน 10,326 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้

ข้อมูลสื่อ

352-009
นิตยสารหมอชาวบ้าน 352
สิงหาคม 2008
สารานุกรมทันโรค
รศ.นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ
Skip to Top

คุณไม่สบายตรงไหน

  • ศีรษะหู ตา คอ จมูก ปาก
  • ลำตัวท้อง แขน มือ อวัยวะภายใน
  • ลำตัวส่วนล่างอวัยวะเพศ ขา เท้า
  • อาการทั่วไป ไข้หวัด ผิวหนัง ฯลฯ

ข้อมูลสุขภาพ

  • โรค
  • ยา
  • สมุนไพร
  • ปฐมพยาบาล
Doctor Me

  • สนับสนุนสื่อสุขภาพออนไลน์หมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • คำแนะนำสำหรับประชาชน เรื่อง โรคจากเชื้อแบคทีเรีย อีโคไลชนิดรุนแรง
  • ผ่าตัดฟรีสำหรับเด็ก ที่เป็นโรคหัวใจ
  • สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย (สพท.)
Appstore
GooglePlay

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa