Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » ดูแลสุขภาพด้วยตนเอง » ข้อมูลโรคและการรักษา » เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

  • อาการ
  • สาเหตุ
  • การรักษา
  • การดูแลตนเอง
  • อื่นๆ

มักมีอาการไข้ ปวดศีรษะรุนแรง อาเจียนมาก และคอแข็ง (คอแอ่นไปข้างหลัง และก้มไม่ลง)

ผู้ป่วยมักจะบ่นปวดทั่วศีรษะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลามีการเคลื่อนไหวของศีรษะ (เช่น ก้มศีรษะ) ซึ่งมักจะปวดติดต่อกันหลายวัน กินยาแก้ปวดไม่ทุเลา

ส่วนอาการไข้ อาจมีลักษณะไข้สูงตลอดเวลา หรือไข้เป็นพักๆ ถ้าเกิดจากพยาธิอาจมีไข้ต่ำๆ หรือไม่มีไข้ก็ได้

ต่อมาผู้ป่วยจะมีอาการกระสับกระส่าย สับสน ซึมลงเรื่อยๆ จนกระทั่งหมดสติ นอกจากนี้ ยังอาจมีอาการกลัวแสง เห็นภาพซ้อน กลืนลำบาก แขนขาเป็นอัมพาต หรือชักติดต่อกันนานๆ

ในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ อาการอาจไม่ค่อยชัดเจน อาจมีไข้ กระสับกระส่าย ร้องไห้เสียงแหลม อาเจียน ชัก กระหม่อมหน้าโป่งตึง อาจไม่มีอาการคอแข็ง (ก้มคอไม่ลง)

ในรายที่เป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อเมนิงโกค็อกคัส อาจมีผื่นแดงจ้ำเขียวขึ้นตามผิวหนังร่วมกับอาการไข้สูง ปวดศีรษะรุนแรง อาเจียน หลังแอ่น คอแอ่นคอแข็ง ชาวบ้านเรียกว่า "ไข้กาฬหลังแอ่น" (แปลว่า ไข้ออกผื่นร่วมกับหลังแอ่นหรือคอแอ่น) โรคนี้อาจพบระบาดได้

ในรายที่เป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อวัณโรค หรือเชื้อรา มัก มีอาการไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียนนำมาก่อนประมาณ 2-3 สัปดาห์ ต่อมาจึงมีอาการปวดศีรษะรุนแรง อาเจียนรุนแรง คอแข็ง และอาจมีอาการชักร่วมด้วย มักพบในผู้ที่ป่วยเป็นโรคเอดส์

การดำเนินโรค

ถ้าเป็นไม่รุนแรง และได้รับการรักษาตั้งแต่แรกเริ่ม มักจะหายขาดได้ภายใน 2-3 สัปดาห์ หรือเป็นแรมเดือน

แต่ถ้าเป็นรุนแรง หรือได้รับการรักษาช้าไป อาจตายหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนทางสมองอย่างถาวรได้

ภาวะแทรกซ้อน

อาจมีผลแทรกซ้อนทางสมองตามมา เช่น แขนขาเป็นอัมพาต หูหนวก ตาเหล่ ปากเบี้ยว โรคลมชัก (ลมบ้าหมู) สมองพิการ ปัญญาอ่อน ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ (hydrocephalus) เป็นต้น

การแยกโรค

  1. ไข้สมองอักเสบ (encephalitis) ผู้ป่วยจะมีไข้สูง ปวดศีรษะ ซึม หมดสติ บางคนอาจมีอาการชักติดๆ กันนานๆ แต่ไม่มีอาการคอแข็งแบบเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  2. มาลาเรียขึ้นสมอง ผู้ป่วยจะมีไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะ ซึม หมดสติหรือชักแบบไข้สมองอักเสบ มักมีประวัติเดินทางเข้าไปในเขตป่าเขามาก่อนจะไม่สบาย
  3. บาดทะยัก ผู้ป่วยจะมีบาดแผลตามผิวหนัง (เช่น ตะปูตำ หนามเกี่ยว บาดแผลสกปรก) ต่อมามีไข้ ปากแข็ง (อ้าปากไม่ได้ ทำท่าเหมือนยิ้มแสยะ) ต่อมามีอาการชักกระตุกเป็นพักๆ เวลาสัมผัสถูก ได้ยินเสียงดังๆ หรือเห็นแสงสว่าง ผู้ป่วยมักมีความรู้สึกตัวดี
  4. โรคพิษสุนัขบ้า ผู้ป่วยมักมีประวัติถูกสุนัข แมว หรือสัตว์ป่ากัดหรือข่วนมาก่อน 1-3 เดือน ต่อมามีอาการไข้ ปวดศีรษะ กลัวลม กลัวน้ำ กระสับกระส่าย ชักเกร็ง ซึม หมดสติ
  5. โรคลมชัก ผู้ป่วยมักมีอาการอยู่ๆ ชักกระตุก หมดสติ น้ำลายฟูมปาก อาจกัดลิ้นตัวเองเป็นอยู่สักพักหนึ่งก็หยุดชัก แล้วค่อยๆ ฟื้นคืนสติได้เอง มักมีประวัติชักแบบนี้เป็นครั้งคราวเวลาร่างกาย เหนื่อยล้า อดนอน หิวข้าว ถูกแสงสว่าง ได้ยินเสียง ดังๆ เป็นต้น
  6. ชักจากไข้ พบมากในเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 5 ขวบ เด็กจะมีอาการไข้สูงจากโรคติดเชื้อ (เช่น ไข้หวัด คออักเสบ ปอดอักเสบ เป็นบิด) แล้วมีอาการชักเกร็งของแขนขา ตาค้าง น้ำลายฟูมปาก อาจกัดลิ้นตัวเอง ขณะชักจะไม่ค่อยรู้สึกตัว มักเป็นอยู่เพียงไม่กี่นาที (ส่วนน้อยอาจชักนานเกิน 15 นาที) ก็หยุดชัก แล้วค่อยๆ ฟื้นคืนสติได้เอง อาจมีประวัติเคยมีอาการชักจากไข้มาก่อน หรืออาจมีพ่อแม่หรือพี่น้องมีประวัติชักจากไข้คล้ายๆ กัน
  • อ่าน 10,801 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้

ข้อมูลสื่อ

309-012
นิตยสารหมอชาวบ้าน 309
มกราคม 2005
สารานุกรมทันโรค
รศ.นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ
Skip to Top

คุณไม่สบายตรงไหน

  • ศีรษะหู ตา คอ จมูก ปาก
  • ลำตัวท้อง แขน มือ อวัยวะภายใน
  • ลำตัวส่วนล่างอวัยวะเพศ ขา เท้า
  • อาการทั่วไป ไข้หวัด ผิวหนัง ฯลฯ

ข้อมูลสุขภาพ

  • โรค
  • ยา
  • สมุนไพร
  • ปฐมพยาบาล
Doctor Me

  • สนับสนุนสื่อสุขภาพออนไลน์หมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • คำแนะนำสำหรับประชาชน เรื่อง โรคจากเชื้อแบคทีเรีย อีโคไลชนิดรุนแรง
  • ผ่าตัดฟรีสำหรับเด็ก ที่เป็นโรคหัวใจ
  • สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย (สพท.)
Appstore
GooglePlay

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa