Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » ดูแลสุขภาพด้วยตนเอง » ข้อมูลโรคและการรักษา » ต้อกระจก

ต้อกระจก

  • อาการ
  • สาเหตุ
  • การรักษา
  • การดูแลตนเอง
  • อื่นๆ

ผู้ป่วยจะรู้สึกว่าตาค่อยๆ มัวลงเรื่อยๆ ทีละน้อย

ในระยะเริ่มแรกจะรู้สึกมีอาการตามัวเหมือนมีหมอกบัง มองในที่มืดชัดกว่าที่สว่าง* หรือถูกแสงสว่างจะรู้สึกตาพร่ามัว สู้แสงไม่ได้ หรือเห็นภาพซ้อน โดยไม่มีอาการเจ็บปวดหรือตาแดงแต่อย่างใด

อาการตามัวจะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ กินเวลาเป็นแรมเดือนแรมปี จนในที่สุดเมื่อแก้วตาขุ่นขาวจนหมด (เรียกว่า ต้อสุก) ก็จะมองไม่เห็น

สำหรับต้อกระจกในผู้สูงอายุ มักจะเป็นที่ตาทั้ง 2 ข้าง แต่จะสุกไม่พร้อมกัน

 *สำหรับต้อกระจกในผู้สูงอายุในระยะแรก แก้วตามักจะขุ่นขาวเฉพาะบริเวณตรงกลาง เมื่อมองในที่มืดรูม่านตาจะขยาย เปิดทางให้แสงผ่านเข้าแก้วตาส่วนรอบนอกที่ยังใสเป็นปกติ จึงทำให้เห็นภาพได้ชัด แต่เมื่อมองในที่สว่างรูม่านตาจะหดเล็กลง แสงสว่างจะผ่านเฉพาะแก้วตาส่วนตรงกลางที่ขุ่นขาวทำให้พร่ามัว

การดำเนินโรค

ถ้าปล่อยไว้ไม่รักษา สายตาจะพร่ามัวลงเรื่อยๆ จนมองไม่เห็น (ตาบอด) และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวตามมา

ถ้าได้รับการผ่าตัดจะช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นสายตาให้กลับมามองเห็นชัดเจนเช่นคนหนุ่มสาว

ตาข้างที่ผ่าตัดแล้วจะไม่เป็นต้อกระจกซ้ำอีก ถ้าหลังผ่าตัดแล้ว ตาข้างที่ผ่ามีอาการตามัวอีกก็มักเกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น ต้อหิน จอตาเสื่อม ถุงหุ้มเลนส์ขุ่น เป็นต้น

ภาวะแทรกซ้อน

เมื่อต้อสุกและไม่ได้รับการผ่าตัดจะทำให้ตาบอดสนิท

ในบางรายแก้วตาอาจบวม หรือหลุดลอยไปอุดกั้นทางระบายของของเหลวในลูกตา ทำให้ความดันภายในลูกตาสูงขึ้นจนกลายเป็นต้อหินได้ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตาอย่างรุนแรง

การแยกโรค

อาการตามัว อาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น

  • ต้อหินเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตารุนแรง ตาแดงและพร่ามัวข้างหนึ่ง เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน
  • ม่านตาอักเสบ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตา ตาแดง และตาพร่ามัวข้างหนึ่ง คล้ายต้อหินเฉียบพลัน
  • แผลกระจกตา ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตา เคืองตา ตาแดง น้ำตาไหล ตาฝ้าฟาง มักเกิดขึ้นหลังได้รับบาดเจ็บ (เช่น ถูกใบหญ้า ใบไม้บาดตา หรือมีสิ่งแปลกปลอมเข้าตา)
  • ต้อหินเรื้อรัง ผู้ป่วยจะมีอาการตามัวลงทีละน้อยเป็นแรมปี ต้องคอยเปลี่ยนแว่นอยู่บ่อยๆ แต่ก็ไม่รู้สึกดีขึ้น ผู้ป่วยจะมีลานสายตาแคบลงกว่าเดิม คือ มองไม่เห็นด้านข้างๆ อาจขับรถลำบาก (เพราะมองไม่เห็นรถอยู่ทางซ้ายและขวา) ขับชนกำแพง ต้นไม้ หรือสิ่งกีดขวาง เวลาเดินอาจชนขอบโต๊ะ ขอบเตียง (เพราะมองไม่เห็นด้านข้าง)
    *จอตาเสื่อมตามวัย พบบ่อยในคนอายุมากกว่า 65 ปี ผู้ป่วยจะมีอาการตามัว ค่อยๆ เกิดขึ้นอย่างช้าๆ อาจสังเกตว่าเวลาอ่านหนังสือหรือทำงานที่ประณีต หรือต้องมองใกล้ๆ จำเป็นต้องอาศัยแสงที่สว่างมากขึ้น สายตามักจะไม่ดีเมื่ออยู่ในที่สลัว มองเห็นสีได้ไม่ชัดเจน จำหน้าคนไม่ได้
  • จอตาเสื่อมจากเบาหวาน (เบาหวานขึ้นตา) ผู้ป่วยมักมีประวัติเป็นเบาหวานมานาน ต่อมามีอาการตามัวเรื้อรัง
  • สายตาผิดปกติ เช่น สายตาสั้น สายตายาว ผู้ป่วยจะมองเห็นภาพพร่ามัว เมื่อมองไกล (สายตาสั้น) หรือมองใกล้ (สายตายาว สายตาผู้สูงอายุ)
  • อ่าน 26,281 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้

ข้อมูลสื่อ

370
นิตยสารหมอชาวบ้าน 370
กุมภาพันธ์ 2010
สารานุกรมทันโรค
นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ
Skip to Top

คุณไม่สบายตรงไหน

  • ศีรษะหู ตา คอ จมูก ปาก
  • ลำตัวท้อง แขน มือ อวัยวะภายใน
  • ลำตัวส่วนล่างอวัยวะเพศ ขา เท้า
  • อาการทั่วไป ไข้หวัด ผิวหนัง ฯลฯ

ข้อมูลสุขภาพ

  • โรค
  • ยา
  • สมุนไพร
  • ปฐมพยาบาล
Doctor Me

  • สนับสนุนสื่อสุขภาพออนไลน์หมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • คำแนะนำสำหรับประชาชน เรื่อง โรคจากเชื้อแบคทีเรีย อีโคไลชนิดรุนแรง
  • ผ่าตัดฟรีสำหรับเด็ก ที่เป็นโรคหัวใจ
  • สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย (สพท.)
Appstore
GooglePlay

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa