เป่าปากช่วยหายใจ ถ้าผู้ป่วยหายใจไม่ออกหรือหยุดหายใจ
เป่าปากช่วยหายใจ ถ้าผู้ป่วยหายใจไม่ออกหรือหยุดหายใจ
- จัดท่าผู้ป่วยให้นอนหงาย.
-
ใช้มือหนึ่งกดหน้าผากลง อีกมือหนึ่งเชยคาง (เงยหน้า เชยคาง) ให้สูงขึ้น (ดังรูป ฉ. วิธีเปิดทางหายใจและตรวจการหายใจ) แต่ในคนที่สงสัยกระดูกคอหักให้ใช้วิธียกคาง (ยกขากรรไกร) แทน (ดูรูป ญ.)
รูป ญ. การโล่งทางหายใจในผู้ป่วยที่สงสัยกระดูกต้นคอหัก (และในทุกกรณีได้) ให้ยกคาง (jaw thrust) โดยให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านอนหงายราบ ศีรษะ คอ และหลังเป็นแท่งตรง ผู้กู้ชีพนั่งอยู่เหนือศีรษะผู้ป่วยและวางข้อศอกทั้ง 2 ข้างของตนลง ใช้นิ้วทั้ง 4 ยกมุมขากรรไกร (ที่อยู่ใต้หู) ทั้ง 2 ข้าง ของผู้ป่วยขึ้นตรงๆ โดยไม่ให้ศีรษะเงยขึ้นหรือก้มลง แล้วใช้หัวแม่มือดันริมฝีปากล่างเพื่อให้ปากเปิดออกจะได้ล้วงของในปากออก เวลาช่วยหายใจต้องใช้แก้มข้างหนึ่งของผู้กู้ชีพดันปิดรูจมูกของผู้ป่วยเพื่อ กันลมรั่วออกจากจมูกด้วย (วิธีนี้ยากกว่า ถ้าทำไม่ได้ให้ “เงยหน้า เชยคาง” เพียงเล็กน้อย แทนการ “ยกคาง”)
- อ้าปากผู้ป่วยออก เช็ดน้ำมูก น้ำลาย และล้วงเอาสิ่งแปลกปลอมออกจากปาก (ดูรูป ช. วิธีใช้นิ้วเกี่ยวสิ่งแปลกปลอมในปาก).
- ผู้ช่วยหายใจ หายใจเข้าเต็มปอดของตน.
- อ้าปากคร่อมไปบนปากผู้ป่วยจนสนิท (ถ้าไม่รู้จักผู้ป่วย หรือผู้ป่วยมีโรคที่ติดต่อได้ ต้องใช้แผ่นพลาสติกเจาะรูเล็กๆ วางคร่อมปากและจมูกผู้ป่วยก่อน).
- บีบจมูกผู้ป่วยให้แน่น.
- เป่าลมเข้าไปในปากผู้ป่วยช้าๆ (1-1.5 วินาที) สังเกตที่หน้าอกจะยกขึ้นตามจังหวะการเป่า.
- ผู้ช่วยหายใจถอนปากออก แล้วเริ่มทำตั้งแต่ข้อ 4-8 ใหม่ ทำซ้ำประมาณ 10-12 ครั้ง/นาทีในผู้ใหญ่ หรือ 12-20 ครั้ง/นาทีในเด็กโต หรือ 20-24 ครั้ง/นาทีในเด็กเล็ก.
หมายเหตุ ห้ามเป่าปากในคนที่เป็นโรคติดต่อร้ายแรงหรือสงสัยว่าเป็นโรคติดต่อร้ายแรง.
- อ่าน 19,767 ครั้ง
- พิมพ์หน้านี้